นักบริหารมักคุ้นเคยคำว่าดัชนีวัดผลการปฏิบัติงาน (Key performance Indicators KPI)ซึ่งมักติดยึดกับการดูผลงานของตนว่าเป็นไปตามเป้าหรือไม่ ลองดูตัวอย่างนี้ดูครับ หนูนิดเป็นพนักงานพิมพ์สามารถพิมพ์งานได้ไม่เคยผิด ความเร็วก็เป็นที่ชื่นชม วันหนึ่งได้พิมพ์ใบกล่าวเปิดงานให้ท่านประธาน ในวันงานจุดที่ท่านประธานต้องกล่าวความสว่างไม่มากนักและท่านประธานก็อายุมากสายตาไม่ดี ท่านจึงไม่สามารถอ่านงานพิมพ์ที่หนูนิดทำให้ได้ ท่านก็เลยพูดปากเปล่าโดยไม่ได้อ่านข้อความในเอกสารที่พิมพ์โดยหนูนิดเลย ท่านลองวิเคราะห์ดูจะพบว่า หนูนิดทำงานได้ตาม KPI ทุกอย่างแต่ท่านประธานไม่ได้ใช้งานแสดงว่าค่าของงานที่หนูนิดทำต่ำกว่าศูนย์เนื่องจากเสียค่ากระดาษแต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
การวัดผลแบบ KPI จึงไม่สามารถตอบสนองหรือสร้างคุณค่าของการทำงานได้อย่างแท้จริงท่านลองมาดูตัววัดที่ชื่อว่า ดัชนีวัดคุณภาพ(Key Quality Indicators) ดูบ้างซึ่งการตั้งจะมุ่งเน้นการตอบสนองตวามต้องการของผู้รับงานจากเรานั่นเองหรือจะเรียกลูกค้าก็ได้ไม่จำกัดว่าจะป็นลูกค้าภายนอกหรือภายในขอให้เป็นผู้รับผลงานจากเราเป็นใช้ได้ กรณีหนูนิดแทนที่จะวัดผลการทำงานที่ตัวหนูนิดควรจะวัดว่างานของหนูนิดสามารถใช้งานได้ตามคุณภาพที่ผู้ใช้ต้องการหรือไม่ จะทำให้หนูนิดต้องไปสอบถามเลขาท่านประธานถึงลักษณะงานหรือความต้องการของท่านประธานและผลงานก็จะต้องพิมพ์ที่ตัวโตขึ้นเป็นต้น
จงคิดเสมอว่า KPI ตอบสนองระยะสั้น ส่วน KQI ตอบสนองการพัฒนาอย่างยั่งยืนและตลอดไปตราบใดที่งานของเรายังมีผู้ใช้งาน