บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สัปดาห์ที่ 3


การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การเป็นกัลยานมิตรของนักคิดเชิงวิชาการ

บันทึกการเรียนรู้ของทีม

 

ผู้บันทึก  มยุรฉัตร   ธรรมวิเศษ

วันที่บันทึก   2  สิงหาคม   2551  (สัปดาห์ที่  3)

 

« ประมวลกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) ของสมาชิกในกลุ่มในสัปดาห์ที่ 3    ผ่านมาแล้ว 3  สัปดาห์สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในสัปดาห์นี้สมาชิกในกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มมากขึ้น  ทำให้เกิดการเรียนรู้ในหลายประเด็น และสมาชิกในกลุ่มเองก็มีการแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิกในกลุ่มอื่น ๆ และสมาชิกิกลุ่มอื่นก็เพิ่มเติมต่อยอดให้กับกลุ่มเราด้วยเช่นกัน   ซึ่งสมาชิกเองก็ได้มีประเด็นในการพูดคุยกันอยู่หลายประเด็นดังนี้

      1. การยกระดับความสามารถของโรงเรียนขนาดเล็ก

      2. การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการจัดทำนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสู่คุณภาพนักเรียน

      3.ระบบการกำกับ  ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับสถานศึกษา  กศน. ระดับอำเภอ 

   «ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ

            ในสัปดาห์นี้สมาชิกได้มีโอกาสพบปะกับผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่าน  คือ  ท่านดร. อรพิน  และอาจารย์ระวิวรรณ   ซึ่งจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญทำให้สมาชิกได้แนวทางในการพัฒนากรอบแนวคิดของตนเองในการวางแผนการนำเสนอหัวข้อในการพัฒนาผลงานทางวิชาการที่จะนำไปสู่การเป็นนวัตกรรมในการบริหารจัดการศึกษาในหน่วยงานที่ตนเองรับผิดชอบ   แตกต่างกันไปตามสภาพปัญหา   

 «สรุปสาระสำคัญที่กลุ่มได้เรียนรู้

      ในสัปดาห์นี้สมาชิกในกลุ่มได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสังเคราะห์ความรู้  ความคิด   มีการสรุปเป็นองค์ความรู้แบบมีส่วนร่วมมากขึ้น  การพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีความเป็นกันเอง   ทุกคนสร้างบรรยากาศให้สมาชิกในกลุ่มสนทนากล้าแสดงความคิดเห็น  และต่อยอดองค์ของรู้ซึ่งกันและกันได้อย่างเป็นระบบ 

«ข้อสังเกตจากผู้บันทึก (ถ้ามี)

     ผ่านมา  3   สัปดาห์   จากการสังเกตการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกในโครงการ  ในภาพรวมสมาชิกทุกคนมีพัฒนาการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบก้าวกระโดด   ในระยะเวลาแค่  3   สัปดาห์ซึ่งส่งผลให้สมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอจะเกิดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ (สังเกตจากตัวเองนอนไม่ค่อยหลับสมองมันคิดอยู่ตลอดเวลา  จุดซีนแนปส์ (synapse)  แอ็กซอน และ เดนไดรต์ในสมองเพิ่มขึ้นและเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์  สมองเริ่มหาทางลัดในการเรียนรู้   เพราะฉนั้นโดยส่วนตัวจึงพยายามเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ครบ 21  ครั้ง ตามทฤษฎี เพื่อให้สมองสร้างไมอาลีนเข้ามาห่อหุ้มไว้แล้วจะไม่ลืม  เมื่อสิ้นสุดโครงการจะได้ทำเป็นกิจนิสัยแบบยั่งยืน  นอกเรื่องคะ....)  และเชื่อว่าจากผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในไตรสัปดาห์แรกน่าจะส่งผลให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในไตรสัปดาห์หลังให้เกิดประสิทธิภาพอย่างแน่นอนคะ

หมายเลขบันทึก: 198322เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2008 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ข้อความ "... ซึ่งส่งผลให้สมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมอยางสม่ำเสมอจะเกิดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ..." เป็นสิ่งที่ผู้บริหารโครงการ "ประสงค์" ให้เกิดขึ้นค่ะ เป็นกระบวนการของ input> process > output ค่ะ เนื่องจากเมื่อบุคคลมีการรับรู้ข้อมูลจากแง่มุมต่าง ๆ ที่หลากหลาย มาหลอมรวมกับความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัว ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นองค์ความรู้ที่ถูกจัดระบบ และจะฝังแน่นเป็นความรู้ที่คงทนมากกว่าการเรียนรู้จากการศึกษาด้วยตนเองเพียงลำพัง

คิดถึงสมาชิกที่มีภารกิจมาก... จนไม่สามารถขึ้นมา share กันได้บ่อย ๆ จังค่ะ

input คือการรับรู้ ผ่านอวัยวะรับสัมผัสทั้งห้าของเรา หากเป็นศาสนาพุทธ ก็คงต้องเพิ่มใจเข้าไปด้วย ละกระมัง

process คือ กระบวนการทางปัญญา ในการเชื่อมโยง สิ่งใหม่เข้ากับโครงสร้างความรู้เดิม สิ่งใหม่อาจขัดแย้ง หรือสอดคล้องกับความรู้ที่มีอยู่เดิม ความพยายามในการเชื่อมโยง จึงต้องปรับสมดุลเพื่อลดความขัดแย้งทางปัญญา

output ที่แสดงออกมาในรูปพฤติกรรมต่างๆ เกิดจากการประมวลผลทางปัญญา ก็คือ การปะติด ประต่อ หรือ เชื่อมโยง

หากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหวางสิ่งที่ตนมียังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับสิ่งที่กลุ่มนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความขัดแย้งทางปัญญายังมีอยู่ สมองก็คงจำเป็นที่ปรับต่อไป จนกว่าจะเข้าสภาวะสมดุลย์ กระบวนการทางสังคมจึงเป็นจำเป็นที่ทำให้เกิดเป็นความรู้ที่คงทน

ดังนั้น การจัดการเรียนรู้จึงจำเป็นที่ต้องมีการพบกลุ่มเป็นระยะๆ ครูตู้ไม่สามารถทดแทนครูไสว ที่ยืนอยู่ชั้นเรียนได้ ครูตู้จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการเรียนรู้ แต่ครูไสวต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดจนสื่อเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในชั้นเรียน

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อความนี้....หากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหวางสิ่งที่ตนมียังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับสิ่งที่กลุ่มนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความขัดแย้งทางปัญญายังมีอยู่ สมองก็คงจำเป็นที่ปรับต่อไป จนกว่าจะเข้าสภาวะสมดุลย์...ตรงกับที่ิคิดไใว้เลย

คุณ นเคศวร... คะ สรุปได้ชัดเจนค่ะ ในฐานะผู้บริหารโครงการนี้ ชื่นชมที่มีผู้รู้คอยให้ข้อคิดเห็นในหลากหลายแง่มุม ได้เจอคุณ นเคศวร 2 ครั้งจากการเข้าบล็อกในวันนี้ หวังอย่างยิ่งว่าจะเจอกันในครั้งต่อต่อไป

... ความขัดแย้งทางปัญญา หากมีการเปิดใจรับและนำไปคิดวิเคราะห์ ความขัดแย้งนั้นย่อมนำมาซึ่งองค์ความรู้ที่มีการแตกแขนง/เชื่อมโยง/ก่อให้เกิดปัญญา มิใช่หรือคะ...

ณ เวลาที่เร่งด่วน ในช่วงเวลาที่อ่อนล้า จะมีสักกีคนที่จะเปิดใจรับและนำไปคิดวิเคราะห์ โถ ...โถ..แอบดูผลงานของทุกท่าน ยังต้องค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป รึอาจช้า ๆ ได้พร้าเล่มงามก็ได้นะ.. ลุ้น และก็ลุ้น...กว่าจะได้อ่านสิ่งดี ๆ จากความคิดของแต่ละท่าน รอแล้วรอเล่า... แต่ยังไงซะการเปิดใจรับและนำไปคิดวิเคราะห์ ย่อมก่อให้เกิดปัญญาแน่นอนที่สุด...พูดอีกก็ถูกอีก เห็นด้วยเช่นกัน...ระวังโลภมากลาภหายนะ...

ขอบคุณนะคะที่คอยติดตามผลงานของพวกเรา อาจจะช้าหน่อยเพราะเราทำอะไรเป็นขั้นเป็นตอน การที่จะคิดอะไรแต่ละอย่างต้องรอบคอบ และที่สำคัญถ้าหากว่าสิ่งที่เราทำมันมีประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วยแล้วเรายิ่งต้องอาศัยปัญญามาก ๆ ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท