สมดุล


หลาย ๆ สิ่ง ทั้งรูปธรรม และนามธรรม

กฎพื้นฐานธรรมชาติสร้างสิ่งที่ใช้ความคุมการดำเนินความเ็นไปในกลไลการจัดการทุกอย่างที่เรียกว่าความสมดุล

สังเกตดูหลายๆ สิ่งแน่นอนที่เราเรียนรู้มาจากสื่อ

จากความเป็นจริงที่เป็นสิ่งพิสูจณ์มาแล้ว เช่น

การแพ้-ชนะ

ดำ-ขาว

แสง-เงา

ร้อน-เย็น

ซึ่งมีผู้ค้นพบสัจธรรมนี้ และได้ยึดถือมาเป็นแนวทางดำเนินชีวิต และจิตใจ ก็คือ ลัทธิเต๋า นั่นเอง

หยิน-หยาง ความสมดุลเฉกที่เราศึกษาดูจะสังเกตุว่า มันแทบจะทุกสิ่ง

สังเกตุกลไกที่สัมพันธ์กันง่าย ๆ เช่น เราเดินเหนื่อยกลางแดด แผดเผาจ้า ร่างกายก็ปรับสมดุลโดยลดการเผาผลาญ ลดกิจกรรมเซลล์

เพื่อไม่ให้มีความร้อนเกิดขึ้นเพิ่ม ส่วนจิตใจก็ต้องการความเย็น ความรู้สึกเย็น

โหยหาสิ่งที่เคยทำให้เรารู้สึกเย็นกว่า ปกติ นำ้เย็น แอร์ พัดลม น้ำแข็ง อะไรก็แล้วแต่

ซึ่งถ้าเราอยู่สภาวะปกติเราคงไม่โหยหามัน

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเศษเสี้ยวความสมดุลในหลาย ๆ พัน หมื่น ล้าน ๆๆ เหตุการณ์

ลองมาดูสภาวะจิตใจกันบ้าง เคล็ดลับก็คือ ถ้าเข้าใจถึงกลไก

สมดุลของธรรมชาติแล้วนั่น ก็สามารถตั้งมั่นอยู่ให้สมดุลได้

มีความเสียใจก็พึงระลึกไว้ว่าจะต้องได้สุขใจ ภายหลังจากเราคลายความเสียใจนั้น

คำว่า ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน ไม่ใช่คำพูด ลอย ๆ เลย น่าสนใจไม่น้อย

รอจังหวะสัมผัส สุข-ทุกข์

รื่นเริง-เหงา ร้อนรน-เย็นชา

เหล่านี้จะมาเหลื่อมกันอย่างไร มันก็ต้องมาควบคู่กันอยู่ดี

 

ภาวะจิต

หมายเลขบันทึก: 198102เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2008 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถ้าคนเข้าใจ ทำตัวสอดคล้องกับธรรมชาติได้ ปัญหาก็จะลดลงหรือหมดไป

แต่ว่า ท่านพุทธทาส เคยสอนให้เอาใจออกมาจาก "ของคู่"

ขอบคุณครับ คุณจิด้า

ผมต้องลองศึกษาแนวทางของท่าน พุทธทาสไว้เพื่อเพิ่มมุมมองบ้างแล้วครับ "ของคู่"

น่าสนใจมุมมอง ปูชนียบุคคลที่ผ่านโลกความจริง และ ความคิดมามากมาย

ขอบคุณครับ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท