ภวังค์


จะเริ่มจาก สิ่งที่เรียกเป็นตัวแทนทางสติ ของความคิด คือ จิตใจ

ไอ้ความเป็นจิดใจ ก็มีหลากหลายสิ่งและหลายปัจจัยที่จะทำให้ ไม่อยู่นิ่ง

ด้วยความที่ไม่อยู่นิ่ง ที่หลาย ๆ ท่านเรียกว่า ฟุ้งซ่าน

หากเรายังไม่พึงระลึกถึง สติ มันก็ตามเจ้าตัวฟุ้งซ่านจนมันเหนื่อยและยังเหนื่อยต่อไป จนส่งผลมายังร่างกาย ไม่เพียงแต่ จิตใจเราเอง

เราจึงรู้สึกไม่มีแรง และพลังในวันต่อไป

เฮ้ๆๆ แต่หากเราลองใช้ ให้สติยึด อยู่กับที่แต่ยังอยู่ในกระแส ที่เรียกว่าฟุ้งซ่าน

คงเปรียบเสมือนเรายืนลืมตา มองท่ามกลางตลาดอันแสนวุ่นวายแต่เรานิ่ง มันคือ ......"ภวังค์"

อันภวังค์ นั้นให้ผล 2 แง่ทั้งแง่ดี และไม่ดี หากเรารู้จักมันดี เลือกใช้ยามที่เหมาะ มันเป็นสิ่งที่ชำระจิตใจได้ดีทีเดียว

เคยมั้ยลองเราเสียใจอะไรมาก ๆ คอยตามจิตที่ไม่ปกติไปเรื่อย ๆ ปล่อยวางก็ยาก

ก็จงลองตกอยู่ในห้วงของมันอย่างสงบ อยู่ในภวังค์จิตที่เสียใจอย่างมีสติ จมลึกให้สุดขั้วแห่งความเสียใจนั้น

ผลที่จะตามมาหาท่าน คือ แรงพลังจากส่วนลึก ตามสัญชาตญาณ แท้จริงของ จิตใจ คือความแข็งแกร่ง ภายหลัง ซึ่งเป็นของขวัญจาก จักรวาลที่สรรสร้างกลไลการป้องกันความเสียหายของจิตใจที่ทรงอนุภาค

ลองรับรู้ความสุข ใน "ภวังค์" ไปพร้อมกับรับรู้ความทุกข์ใน "ภวังค์" เช่นเดียวกัน

ลองใช้ "ภวังค์" ที่ให้ผลดีต่อจิตใจ จะรู้ว่าเราโชคดีที่เราควบคุมจิตใจได้ และโลกใบนี้ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด

 

ภาวะจิต

หมายเลขบันทึก: 197828เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2008 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คนที่อยู่ในสภาวะ ..ภวังค์..เป็นคนที่สติไม่สมประกอบ ใช่หรือไม่...เบรอ....

สวัสดีครับท่านอาจารย์สนั่น ภวังค์ ในความหมายคงใช้หลายอย่างอาจใช้เชื่อมโยงกับคำว่า สมาธิ ทางศัพท์สมัยใหม่ครับ หาก จมอยู่กับ ภวังค์นานเกินไป คงจะไม่สมประกอบอย่างที่ท่านว่า ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท