ความเกลียดชังอีเล็กทรอนิกส์ (e-hatred)


 

          นสพ. บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ ๒๗ ก.ค. ๕๑ ลงบทความ A brave new world of e-hatred    โดยลงพาดหัวบทความว่า Social networks and video-sharing sites don't always bring people closer together, writes the Economist


          e-communication เป็นเทคโนโลยีอย่างหนึ่ง     มันอาจให้คุณก็ได้ ให้โทษก็ได้    สร้างสรรค์ก็ได้ ทำลายก็ได้   ขึ้นอยู่กับผู้ใช้และเจตนาของผู้ใช้


          บทความนี้กล่าวถึงการใช้ด้านลบ ด้านสร้างความเกลียดชัง  ใช้สร้างความเท็จ


          ผมเพิ่งได้ยินข่าวมาว่า มีการใช้ e-communication ปลอมตัวเป็นคนอื่น    ส่งบทความวิจัยที่สร้างขึ้นแบบตัดปะไปลงวารสารในชื่อคนอื่น    เพื่อให้บุคคลผู้นั้นเสียชื่อ ว่ากระทำโจรกรรมวิชาการ (plagiarism)   และคนร้ายถูกจับได้ด้วยฝีมือของตำรวจร่วมกับผู้เสียหาย    เรื่องนี้เกิดในประเทศไทย


          นี่คือกรณีตัวอย่างของ ELSI - Ethical, Legal and Social Issues ของเทคโนโลยี

 

วิจารณ์ พานิช
๒๗ ก.ค. ๕๑
บนเครื่องบินกลับจากเชียงราย

 

                       

หมายเลขบันทึก: 197302เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2008 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แวะมารับทราบข่าวสารจากอาจารย์หมอครับ

ขอบคุณครับ :)

  • ขอบพระคุณครับ
  • คิดถึงกลอนเก่าๆที่แต่งไว้นานแล้วครับ  ผมตั้งชื่อว่า .. เทคโนโลยี .. ดาบหลายคมของมนุษยชาติ

         ความว่า ...

     ในกระแส เทคโนโลยี ที่เชี่ยวกราก

                  สิ่งหลายหลาก ระคนไป ในกระแส

     

                  ใครประมาท ขาดความรู้ คอยดูแล

     

                  จะต้องแย่ ด้วยพิษภัย ในเทคโน

     

         ดาบหลายคม ใช่หรือไม่ ใครเห็นบ้าง

                  อาจสรรค์สร้าง อะไรอะไร ได้มากโข

     

                  อาจวายวอด มอดม้วย ด้วยเทคโน

     

                  เป็นบัวโผล่ พ้นน้ำ เถิดพวกเรา

     

       โปรดทบทวน หวนคิด สักนิดหนึ่ง

                   ก่อนหวังพึ่ง สิ่งใด จากใครเขา

     

                   ใช้ปัญญา ตรองดู อย่าหูเบา

     

                   หลงเชื่อเขา ง่ายๆ ตายทั้งเป็น

     

    ควรจะได้ ไตร่ตรอง มองให้รู้

                  ความจำเป็น มีอยู่ หากมองเห็น

     

                  เลือก-ปรับ-ใช้ ให้เหมาะสม ตามจำเป็น

     

                  จะโดดเด่น ดีกว่ารับ แบบหลับตา

     

      ภูมิปัญญา ของไทย ยังไม่สิ้น

                   ภูมิปัญญา ท้องถิ่น มากนักหนา

     

                   ในชุมชน บ้าน-วัด เต็มอัตรา

     

                   แสวงหา แต่ของไกล ไม่เข้าที

     

    ผสมผสาน เก่าใหม่ ให้พอเหมาะ

                    ร่วมสังเคราะห์ อย่างมีหลัก มีศักดิ์ศรี

     

                    อย่าให้เกิน อย่าให้ขาด นั่นแหละดี

     

                    จะเป็นที่ ภาคภูมิใจ ไปเนิ่นนาน.
  • พูดถึง e ทั้งหลายนี่  จำได้ว่าผมเคย เสนอแนะลอยๆไว้หลายครั้ง หลายที่ ว่า e-learning หรือ EL นั้นผมกลัว .. กลัวว่าจะมัวเพลินอยู่ในโลกเสมือน  ไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับสิ่งที่เป็นอยู่จริงในธรรมชาติ .. อะไรๆก็คลิกเอาได้ง่ายๆ .. การพึ่งพาอาศัย การช่วยเหลือแบ่งปันลดลง .. การฝึกรอคอย ฝึกการอดกลั้นอดทน มีน้อยลง หรือหายไป .. ฯลฯ ผมจึงกำหนดใหม่ว่า ถ้าผมจะทำ ผมจะเรียกมันว่า ESL - Electronic Supported Learning ครับ .. จุดเน้นคือ เน้นวิถีแห่งการเรียนรู้ที่อิงอยู่กับธรรมชาติ .. e จะเข้ามาช่วยสนับสนุนตามความจำเป็นและตามความเหมาะสมเท่านั้น

ผมเห็นว่าการใช้ e-communications ไม่ว่าจะเป็นอีเมล บล็อก IM หรืออะไรก็ตาม ก็สะท้อนสะภาพของสังคมครับ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นเพียงเครื่องมือ ส่วนจะดี/จะเหมาะหรือไม่ ขึ้นกับวุฒิภาวะ และ self-esteem ของผู้ใช้ ทั้งด้านการให้ข่าวสาร และรับข่าวสาร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท