Individual Scoredcard : การกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล


เรากำลังสนใจ เรื่อง สมรรถนะ IDPs กัน หากนำ BSC มาใช้ในการกำหนดมุมมองที่เกี่ยวข้องกับผลสำเร็จจากการปฏิบัติงานรายบุคคลของบุคลากรแล้วก็น่าจะส่งผลต่อคุณภาพขององค์กรชัดเจน

 

1. เรื่องที่อ่าน/จากหนังสือ/ผู้เขียน/ปีที่พิมพ์

             การประเมินระดับบุคคล จากส่วนหนึ่ง ของหนังสือ Individual Scoredcard :  การกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล โดย รศ. ดร.พสุ เดชะรินทร์ และคณะ [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก   http://www.nidtep.go.th/webforshare/course/view.php?id=75 (28 Aug . 2007).

 

2. สาเหตุที่ให้ความสนใจกับเรื่องนี้/เหตุผลที่เลือกอ่านเรื่องนี้

ความสนใจ เรื่อง Balanced Scorecard   เกิดขึ้นจากการเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับสำหรับผู้บริหารที่ยังไม่วุฒิด้านบริหารการศึกษา  ในขณะที่เรียนมีอาจารย์ 2 ท่าน  อธิบายถึงหลักการและวิธีการนำ BSC ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร  ท่านพูดเร็วๆ สั้นๆ ด้วยข้อจำกัดของเวลา รู้สึกคลุมเครือ  ที่ผ่านมาสถานศึกษาก็จะพบในรูปของการจัดทำคำรับการปฏิบัติราชการ  และ ล่าสุด ผอ. โรงเรียนให้ศึกษาเอกสารจากการประชุมผู้บริหารโรงเรียนในฝัน พบว่า  แนวคิดในการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ ในแผนหลักโครงการโรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีใกล้บ้าน)  พ.ศ.2551 – 2554  มี ได้นำแนวคิด Balanced Scorecard  มากำหนดมุมมองที่เกี่ยวข้องกับผลสำเร็จของการดำเนินงาน คือ  มุมมองด้านนักเรียน มุมมองด้านกระบวนการ จัดการศึกษาภายใน  มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา  และมุมมองด้านงบประมาณและทรัพยากร  ดังนั้น  ในขณะที่พวกเรากำลังสนใจ เรื่อง สมรรถนะ IDPs  กัน  หากนำ  BSC   มาใช้ในการกำหนดมุมมองที่เกี่ยวข้องกับผลสำเร็จจากการปฏิบัติงานรายบุคคลของบุคลากรแล้วก็น่าจะส่งผลต่อคุณภาพของสถานศึกษาโดยรวมชัดเจนสอดคล้อง ความต้องการในการพัฒนาระบบราชการ

 

3. การนำไปใช้ (เพื่อพัฒนาตนเอง/พัฒนาองค์กร)

            ขั้นตอนที่ 1   แปลงเป้าประสงค์และตัวชี้วัดระดับ  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และระดับสำนักงานเขตพื้นที่เป็นเป้าประสงค์และตัวชี้วัดระดับสถานศึกษา

            ขั้นตอนที่ 2   แปลงเป้าประสงค์และตัวชี้วัดระดับระดับสถานศึกษาเป็นเป้าประสงค์และตัวชี้วัดระดับบุคคล  โดย

1.   ยืนยันหน้าที่ของบุคคล

2.      กำหนดเป้าประสงค์ส่วนบุคคลที่มีส่วนผลักดันเป้าประสงค์ของผู้บังคับบัญชา

3.      กำหนดเป้าประสงค์เพิ่มเติมตามหน้าที่งานที่ยังไม่มีการประเมิน

4.      กำหนดเป้าประสงค์เพิ่มเติมตามงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษที่ยังไม่ได้มีการประเมิน

5.      กำหนดตัวชี้วัดในแต่ละเป้าประสงค์

 

ลงชื่อ  นางสาวจารุวรรณ  พูพะเนียด ผู้บันทึก

 

หมายเลขบันทึก: 197214เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2008 01:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นเรื่องที่น่าสนใจ คงต้องกำหนดตัวชี้วัดที่ตรง เป็นการวัดได้สำหรับรายบุคคล และสนับสนุนการพัฒนาองค์กร ด้วย

เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เข้ากับยุคสมัย ควรให้ครูได้มีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายของงาน โดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม การบริหารแบบยึดวัตถุประสงค์ และหลักการมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหาร และเพื่อนร่วมงาน

เรื่อง IDP เป็นเรื่องที่น่าสนใจนะคะ ได้มีโอกาสไปช่วยอาจารย์ท่ม.ราชภัฏตรวจงานเด็ก เห็นอาจารย์เค้าให้นักศึกษาครุศาสตร์ทำ IDP มาส่งทุกคน คาดว่าครูพันธุ์ใหม่เค้าจะมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว ดังนั้นครูเก่า ๆ อย่างเรา ๆ ควรจะศึกษาไว้บ้าง (เค้าไปถึงไหนกันแล้ว)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท