หลักสูตรท้องถิ่น


การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น

ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่น

การนำหลักสูตรแม่บทมาปรับเพิ่มให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น           เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง  อันจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต  โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2545  (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา 2547 : 15) ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เพื่อความเป็นไทย  ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ     การดำรงชีวิต  และการประกอบอาชีพ  ตลอดจนการศึกษาต่อ

ดังนั้น สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องจัดทำสาระของหลักสูตร  ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพในชุมชนและสังคม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว   ชุมชน  สังคม และประเทศชาติ  ดังนั้น  นอกจากโรงเรียนจะจัดเป็นหลักสูตรสถานศึกษา แล้ว ยังต้องเพิ่มหลักสูตรท้องถิ่นที่สนองตอบต่อความต้องการของท้องถิ่นที่โรงเรียนอยู่อีกด้วย  ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่น  ก็คือ    “การดำเนินงานจัดทำ  ขยายเพิ่มเติมเรื่องที่จำเป็นและสำคัญที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เพิ่มเติมตามความต้องการของท้องถิ่น  โดยไม่กระทบต่อหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544  แต่เป็นการเสริมสร้างต่อยอดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  เต็มตามศักยภาพและนำไปสู่มาตรฐานของหลักสูตร”

ลักษณะการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น  3  ประเภท  คือ

หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาโดยท้องถิ่นเองทั้งหมด  แต่ต้องเป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางได้กำหนดไว้  ( หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน .. 2544 )  

หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นจากหลักสูตรแม่บทที่ส่วนกลางจัดทำ  ส่วนกลางของรัฐ  จัดทำหลักสูตรแม่บท  และเว้นที่ว่างให้ท้องถิ่นมีเสรีภาพในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น  โดยหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544  มีแนวทางการพัฒนาได้เป็น  2  กรณี  คือ

1) หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาโดยบางส่วนของหลักสูตรแม่บท  กล่าวคือ  เป็นการปรับองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของหลักสูตรแม่บท  เช่น  ปรับรายละเอียดของสาระการเรียนรู้ เพิ่มเติมกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา  และความต้องการของท้องถิ่น  ทั้งนี้ยังยึดมาตรฐานของหลักสูตรแม่บทอยู่

                2) หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นเป็นรายวิชาใหม่  หรือการสร้างหลักสูตรย่อย  เพื่อเสริมหลักสูตรแม่บท  โดยให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา  และความต้องการของท้องถิ่น  ทั้งนี้  สามารถจัดทำมาตรฐานการเรียนรู้เพิ่มเติมจากมาตรฐานของหลักสูตรแม่บท

หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาสำหรับท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ  เป็นหลักสูตรที่หน่วยงานในท้องถิ่นพัฒนาเป็นหลักสูตรเฉพาะกิจ  และเป็นหลักสูตรระยะสั้น ๆ เพื่อใช้กับชุมชนหรือท้องถิ่นตามความต้องการและความสมัครใจของผู้เรียน  รวมทั้งความสอดคล้องกับสภาพสังคม  เศรษฐกิจ  และวัฒนธรรมของชุมชนในท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น  อาทิ  หลักสูตรซ่อมเครื่องยนต์  หลักสูตรทำขนม  หลักสูตรการทำอาหาร  เป็นต้น

ความจำเป็นของการมีหลักสูตรท้องถิ่น

ความจำเป็นของการมีหลักสูตรท้องถิ่นก็เนื่องจากหลักสูตรแกนกลางซึ่งเป็นหลักสูตรระดับชาติ ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง อันเนื่องมาจากความต้องการของแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน จึงต้องมีการนำหลักสูตรระดับชาติมาปรับให้เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น  โรงเรียนแต่ละแห่งมีหน้าที่จัดการศึกษาให้เหมาะสมกับชุมชนนั้นๆ เพราะชุมชนแต่ละชุมชนมีสภาพปัญหาและความต้องการแตกต่างกันท้องถิ่นควรต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของตนเอง
แนวทางในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น

ในการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่นนั้น สถานศึกษาสามารถดำเนินการได้ในลักษณะต่อไปนี้

1.              ปรับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมเสริม ในแต่ละกลุ่มวิชาในทุกระดับชั้นโดยปรับปรุง

จากหลักสูตรแกนกลางโดยไม่ทำให้จุดประสงค์ของหลักสูตรเปลี่ยนแปลง

2.              ปรับรายละเอียดของเนื้อหาโดยเพิ่มหรือลดรายละเอียดจากหลักสูตรแกนกลาง

3.              ปรับปรุงหรือเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับท้องถิ่น

4.              จัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่ เช่นหนังสือเรียน คู่มือครู หนังสือเสริมประสบการณ์

แบบฝึกหัด หรือสื่ออื่น ๆเพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ เนื้อหาและสภาพท้องถิ่นโดยสื่อเหล่านี้อาจใช้กับเนื้อในรายวิชาที่มีอยู่เดิมหรือรายวิชาใหม่ที่พัฒนาขึ้นก็ได้

      5. จัดทำคำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติมจากที่ปรากฏในหลักสูตรแกนกลาง ทั้งนี้คำอธิบายรายวิชาที่จัดทำขึ้นต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์เนื้อหาและความต้องการของท้องถิ่น

ขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในการนั้นสามารถดำเนินการได้ทั้งในระดับโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งได้มีนักวิชาการ ได้เสนอไว้ 12 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่1     จัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำหลักสูตร

ขั้นที่2     ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน

ขั้นที่3     กำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร

ขั้นที่4     กำหนดเนื้อหา

ขั้นที่5     กำหนดกิจกรรม

ขั้นที่6     กำหนดชั่วโมงการเรียน

ขั้นที่7     กำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผล

ขั้นที่8     จัดทำเอกสารหลักสูตร

ขั้นที่9     ตรวจสอบคุณภาพและการทดลองใช้หลักสูตร

ขั้นที่10   เสนอขออนุมัติใช้หลักสูตร

ขั้นที่11    นำหลักสูตรไปใช้

ขั้นที่12    ประเมินผลหลักสูตร

   ที่มา:     หลักสูตรท้องถิ่น.”.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก: http://chalor.igetweb.com/index.php?mo=3&art=78665

         ความสำคัญของหลักสูตรท้องถิ่น .”.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก:http://school.obec.go.th/nitadhatayai/localcur1.htm

หมายเลขบันทึก: 197103เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2008 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ผมเข้ามาหาข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่นพอดี ขอบคุณมาก ๆ ๆ ๆ นะครับ ตอนนี้กำลังเรียนอยู่ด้วย

ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ

หนูอ่านไปเพื่อเสริมในการสอบ (อัตนัย)

เข้าใจดีคะ

นักศึกษาหน้าใหม่ของที่ใหม่

ขอบคุณมากๆเลยคะสำหรับข้อมูลที่เอามาลงไว้

ใช้ได้ผลจริงๆคะ

ได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาหาความรู้... ขอบคุณครับที่นำเรื่องดีๆมาฝาก

ขอขอบคุณที่ได้ข้อมูลจากอาจารย์ แต่ผมอยากได้หลักสูตรการทำสื่อจากวัสดุท้องถิ่น ไม่ทราบว่าจะได้ข้อมูลจากไหนบ้าง

ขอขอบคุณอีกครั้งนะครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลความรู้ที่มีประโยชน์ค่ะ

ได้รับความรู้มาก กำลังจะสอบ ขอบคุณจริงๆ

ขอบคุณค่ะ ได้นำไปใช้พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาค่ะ

ขอบคุณมากคะ เป็นประโยชน์ในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท