ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้เรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(e-Learning)


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้เรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(e-Learning)

 ผอขอนำเสนอผลงานวิจัยของกระผม เพื่อข้อสนเทศสำหรับผู้สนใจครับ 

   การส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(e- Learning) แก่ผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลตามความต้องการของผู้เรียน โดยการส่งเสริมทางด้านเครือข่ายในการสื่อสารด้วยวิธีการจัดสรรงบประมาณ เครื่องมืออุปกรณ์และ สิ่งแวดล้อมให้พอเพียง การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้เรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(e-Learning) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาเทคโนโลยีการศึกษา  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่เรียนรายวิชาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และจบบทเรียนในรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน ประจำปีการศึกษา 2549 จำนวน  50 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า(Rating scale)และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                   ผลการวิจัยปรากฏผล ดังนี้

                         1.  ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้เรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(e-Learning) มีค่าเฉลี่ย

อยู่ระหว่าง 6.20-1.98  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.53- 0.62  แสดงว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จอยู่ในระดับมากถึงน้อยและปัจจัยแต่ละตัวมีการกระจายข้อมูลแตกต่างกันค่อนข้างมาก

                         2.  ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(e-Learning)

โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 7 อันดับแรก เรียงตามเฉลี่ยมากไปหาน้อย ดังนี้

1.    ความสะดวก รวดเร็วในการเรียนรู้

2.    การส่งเสริมทักษะและการปฏิบัติ

3.    ความสามารถในการตอบสนองผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ได้ทันที

4.    ความเสมือนจริงของบทเรียน

5.    การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน

6.    การสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง(Constructionism)

7.     ความสามารถในการประยุกต์ใช้ เช่น การทำรายงาน

 

                         3.  ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(e-Learning)

โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับค่อนข้างมาก 7 อันดับแรก เรียงตามเฉลี่ยมากไปหาน้อย ดังนี้

1.    การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการคิด

2.    ความพร้อมด้านค่าใช้จ่ายของบทเรียนและการใช้เครือข่าย

3.    การช่วยแก้ปัญหาทางการเรียน

4.    ความรู้/ประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์

5.    ความสะดวกในการใช้งานที่จุดใช้งาน (Access)

6.    การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา

7.    การมีบุคลากรผู้ดูแลและให้คำปรึกษา

                         4.  ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(e-Learning)

โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางและน้อย คือ ความประหยัดทางด้านเศรษฐกิจและเพศ

                         5.  ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(e-Learning) ประกอบด้วย  ด้านลักษณะของบทเรียนอิเล็กทรอกนิกส์  ปัจจัยที่สำคัญอันดับแรก คือ ความเสมือนจริงของบทเรียน  ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงเนื้อหา (Update) ความสามารถในการมองเห็นเนื้อหาเป็นรูปธรรมมากขึ้น ด้านระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการเข้าสู่บทเรียน  ปัจจัยที่สำคัญอันดับแรก คือ  ความพร้อมของเครือข่ายการสื่อสาร ความพร้อมทางด้านอุปกรณ์ ความสะดวกในการใช้งานที่จุดใช้งาน (Access)  ด้านประโยชน์จากการเรียนรู้ ปัจจัยที่สำคัญอันดับแรก คือ การช่วยแก้ปัญหาทางการเรียนบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์            ด้านสถานภาพส่วนบุคคล  ปัจจัยที่สำคัญอันดับแรก คือ  ความพร้อมของผู้เรียนในทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ เวลา สถานที่ สภาพแวดล้อม และค่าใช้จ่ายในการเรียนรู้ ด้านการสนับสนุนจากสถาบัน ปัจจัยที่สำคัญอันดับแรก คือ  การมีบุคลากรผู้ดูแล และให้คำปรึกษา  การได้รับการฝึกอบรมหรือการเข้าร่วมสัมมนา  

                         6.  ทิศทางและปัจจัยทางอ้อมที่ส่งผลการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(e-Learning)

จากการสัมภาษณ์สามารถสรุปตามประเด็นที่สำคัญ คือ  การจัดการเรียนการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) จะมี 2  ลักษณะ  คือ  เรียนอยู่บ้านเพื่อรับปริญญาได้ และเรียนที่สถาบันการศึกษาของตนเองโดยเรียนแบบหลากหลาย ทั้งเรียนในห้องและการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายด้วย กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอก  เนื้อหาวิชาที่จะนำมาพัฒนาเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์(e-Learning)จะมีความหลากหลาย  บทบาท พฤติกรรมของผู้สอน จะเปลี่ยนไปมากพฤติกรรมของผู้สอนที่ไม่ใช้ e-Learning  สภาพการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(e-Learning)

นั้นจะประกอบไปด้วยหลาย ๆ รูปแบบ ปัจจัยอื่น ๆ ที่จะมีผลต่อการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

(e-Learning) ได้แก่ เทคโนโลยี ผู้พัฒนา e-Learning  ผู้พัฒนาบทเรียน

ทองสง่า ผ่องแผ้ว 

27 /09/2551

คำสำคัญ (Tags): #การวิจัย
หมายเลขบันทึก: 196943เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2008 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
รบกวนของานวิจัยมาเป็นตัวอย่าง

พอดีว่ากำลังทำ IS เกี่ยวกับเรื่องนี้ จะรบกวนให้ช่วยส่งงานวิจัยเพื่อมาเป็นแนวทาง

จะได้หรือไม่คะ


ขอบคุณคะ

รบกวนของานวิจัยมาเป็นตัวอย่าง

รบกวนส่งเมลมาที่ [email protected] 

ขอบคุณคะ

สวัสดีคร้า วิจัยของคุณดีมากเรยคร้า รบกวนขอมาเป็นแนวทางวิจัยได้เหรอป่าวคร้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท