เมื่อฉันถูกเชิญให้เป็นวิทยากร ในการ KM เรื่องการพัฒนาการบริการสู่ความเป็นเลิศทางการพยาบาล ..พลัดตกหกล้ม..


การพลัดตก/หกล้มเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยที่อยู่รักษาในโรงพยาบาลที่จะต้องมีการบริหารจัดการและควบคุมไว้

ห่างหายจาก blog ไปหลายวัน กลัวว่าหยากไย่จะขึ้นเสียก่อน วันนี้กลับมาพร้อมกับเรื่องราวของตัวเองค่ะ เงียบหายไปกับการเตรียมตัวในการนำเสนองานต่อหน้าสาธารณชนค่ะ ...เมื่อฉันถูกเชิญให้เป็นวิทยากร ในการ KM  เรื่องการพัฒนาการบริการสู่ความเป็นเลิศทางการพยาบาล ของงานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ในวันที่ 24 ก.ค. 51  เพื่อจัดทำแนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันการพลัดตกหกล้มของงานบริการ  งานนี้จะไปเล่าถึงโครงการพัฒนางานของผู้เขียนเองค่ะ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับบุคลากรจากแผนกอื่นๆ ในโรงพยาบาลค่ะ

เมื่อปลายปีที่แล้วผู้เขียนได้จัดทำโครงการพัฒนางานขึ้นในหอผู้ป่วยค่ะ ชื่อว่าโครงการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและป้องกันการพลัดตกหกล้ม เนื่องจากว่า  การพลัดตก/หกล้มเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยที่อยู่รักษาในโรงพยาบาลที่จะต้องมีการบริหารจัดการและควบคุมไว้ (risk management and risk control) การป้องกันและการจัดการกับความเสี่ยงของผู้ป่วยให้เกิดความปลอดภัยเมื่ออยู่ในโรงพยาบาล  จึงเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลรักษาและประกันคุณภาพ เพื่อคงไว้ซึ่งมาตรฐานการดำเนินงานของโรงพยาบาลให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด    

ด้วยลักษณะของหอผู้ป่วยของผู้เขียนที่เป็นห้องพิเศษ  ซึ่งคล้ายๆ กับโรงพยาบาลเอกชนล่ะค่ะ คงจะพอคิดภาพออกนะคะ ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายถูกละทิ้งให้อยู่ในห้องตามลำพังโดยไม่ได้มีญาติเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดอุบัติการณ์พลัดตกหกล้มเพิ่มมากยิ่งขึ้น  ดังนั้นผู้เขียนจึงคิดว่าน่าจะหารูปแบบและแนวทางในการเฝ้าระวังความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นให้มีความชัดเจน เหมาะสม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  เราจึงได้พัฒนารูปแบบ ดังนี้ค่ะ

        ใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม  เพื่อคัดกรองว่าผู้ป่วยรายใดมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มค่ะ  

   ใช้สัญลักษณ์ เพื่อแสดงให้ทราบว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม  โดยติดไว้ที่หน้าประตูห้องค่ะ ให้เห็นได้ชัดเจน เป็นการสื่อสารระหว่างทีมงานผู้ดูแล ทีมสหสาขาวิชาชีพ รวมถึงผู้ป่วยและญาติค่ะ

 

 ให้กิจกรรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยง โดยเรามีการแจ้งให้ผู้ป่วยและญาติรับทราบด้วยค่ะ

หลังจากดำเนินภายในหอผู้ป่วยแล้ว  เรามีการขยายการดำเนินงานไปสู่หอผู้ป่วยอื่นๆ ภายในแผนกเรียบร้อยแล้วค่ะ และมีการ KM ภายในแผนก เพื่อปรับปรุงและพัฒนาต่อไ  

ส่วนผลสรุปจากการทำ KM ร่วมกัน ของงานบริการจะเป็นอย่างไรนั้น จะนำมาเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในครั้งต่อไปนะคะ

หมายเลขบันทึก: 196144เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2008 02:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

เป็นโครงการที่ดีมากเลยครับ

ขอบคุณค่ะคุณ Hunter

เป็นหน้าที่ของวิชาชีพเราค่ะ ที่จะต้องมีการพัฒนางานเพื่อการดูแลผู้ป่วยให้มีความปลอดภัยค่ะ

เยี่ยมเลยครับ ตามมาเรียนรู้ครับ

ยินดีกับการนำเสนอต่อหน้าชาวประชานะคะ

จะรอฟังค่ะ

อุบล จ๋วงพานิช

P สวัสดีค่ะท่านอาจารย์ JJ.

ขอบคุณนะคะที่ตามมาเรียนรู้ และทักทาย พร้อมกับดอกไม้สวยๆ ค่ะ

Pขอบคุณค่ะพี่แก้ว

  • ปกติไม่ค่อยได้ออกไปไหน สงสัยงานนี้คงไปทำตัวสั่นอยู่หน้าเวทีแน่ๆ เลย
  • แต่วันนี้กำหนดการเลื่อนแล้วค่ะ ยังมีเวลาเตรียมตัวอีกค่ะ
  • มาทักทาย
  • ดีจังเลยครับ
  • หลายๆๆที่ในโรงพยาบาล
  • น่ากลัวเรื่อง
  • (risk management and risk control)
  • สบายดีไหมครับ
  • หายไปนาน
  • ไม่คิดถึง ฮ่าๆๆ

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิต

  • ช่วงนี้ยุ่งๆนิดหน่อยค่ะ  
  • อาจารย์สบายดีนะคะ  ..แหม..นึกว่าเข้ามาทักทายด้วยความคิดถึงนะคะเนี่ย
  • พลัดตกหกล้ม ไม่สามารถกำจัดให้หมดไปได้เลยค่ะ แต่เราสามารถที่จะลดจำนวนของอุบัติการณ์ลงได้  แต่ก็ต้องหากลยุทธ์ที่จะนำมาใช้ให้ได้ผลที่สุดค่ะ เป็นเรื่องไม่ง่ายเลยล่ะค่ะ

ตามมาขอบคุณ มีการไปเขียนที่ cbox ด้วย ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆ สบายดีนะครับ เห็นสีชมพู ยายลาย ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ขอบคุณที่แวะมาทักทายอีกรอบ งงๆ กับมุขที่สุดลึกล้ำของอาจารย์ค่ะ

ยายลาย..??? นึกว่าเขียนผิด 5555

เข้ามาชมผลงานพัฒนา ต้องบอกว่าได้อะไรดีๆไปบอกต่อคะ ของให้ทีมKMจงเจริญคะ

เป็นโครงการที่ดีมากเลยค่ะ

แล้วอุบัติการณ์พลัดตกหกล้มยังมีอยู่ไหมคะ

ที่หอผู้ป่วยของหนูก็กำลังทำอยู่ค่ะ

มีพี่แก้วเป็นผู้นำทีม

อยากทราบรายละเอียดการใช้แบบประเมินค่ะ

เป็นการบริหารความเสี่ยง ที่หน่วยงานทั่วไปดำเนินการครับ

อยากเรียนรู้วิธีทำ KM ในหน่วยงานครับ

เรื่องการพลัดตกหกล้มในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลสามารถลดได้ครับ

ลองใช้ระบบเฝ้าระวังผู้ป่วยตกเตียง โดยดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.bioactiveinter.com/thai/products.php?tb_product_id=2

ครับ มีติดตั้งโรงพยาบาลใหญ่ หลายโรงพยาบาลแล้วครับ

สนใจติดต่อตามที่อยู่ใน website เลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท