การจัดการศึกษาที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดและการทำงานของสมอง(สัปดาห์ที่ 2 )


สมอง

1.      เรื่องที่อ่าน  “การจัดการศึกษาที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดและการทำงานของสมอง”

จากหนังสือ”สมองกับการเรียนรู้ (Learning  and  the  Brain)

 ผู้เขียน พท.พญ.กมลวรรณ  ชีวพันธุศรี

BBL เป็นศาสตร์แห่งการเรียนรู้แบบธรรมชาติ ที่สอดคล้องกับพัฒนาการด้านโครงสร้างและการทำงานของสมอง เด็กเรียนรู้ขณะที่มีความสุข สมองเปิดทำงานพร้อมที่รับองค์ความรู้ทุกอย่างอย่างเต็มที่และเต็มศักยภาพ สมองอยู่ในภาวะ หรืออารมณ์ที่อยากรู้อยากทดลอง ซึ่งจากหลักการนี้จึงนำองค์ความรู้เรื่องสมองและธรรมชาติการเรียนรู้ของสมองมาใช้ในการออกแบบการเรียนรู้ทั้งในด้านการจัดกิจกรรม การเสริมสร้างประสบการณ์ ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมและกระบวนการอื่นๆร่วมกับสื่อเพื่อการเรียนรู้ต่างๆทำให้เด็กสนใจ เข้าใจ เรียนรู้ และรับไว้ในความทรงจำระยะยาว (Long-Term Memory) ทั้งยังสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม เป็นการสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์

                Why is Brain-based Learning?

1. เพื่อให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนและเรียนรู้อย่างมีความสุข

2. เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่าน และรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ

                         3.  เพื่อพัฒนากระบวนการคิดอันเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเรียนรู้และการดำรงชีวิต

       4.  เพื่อให้นักเรียนมีทักษะชีวิตที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปในชีวิตจริงอย่างมีคุณภาพ

2. สาเหตุที่ให้ความสนใจกับเรื่องนี้/เหตุผลที่เลือกอ่านเรื่องนี้

เป็นเรื่องที่ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนโดยตรง(มีงานวิจัยยืนยันชัดเจน)  เพื่อจะได้นำมาวางแผนพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

3. การนำไปใช้ (เพื่อพัฒนาตนเอง/พัฒนาองค์กร)

การนำไปใช้เพื่อพัฒนาผู้เรียนสามารถทำได้ 2  ลักษณะคือ 

1)      บูรณาการลงกับการเรียนการสอนปกติ

2)      จัดเป็นหลักสูตรนำร่องในระดับปฐมวัย ต่อเนื่องถึงช่วงชั้นที่ 1 และ 2 จนถึงระดับชั้นสูงสุดของสถานศึกษาตามลำดับแล้วแต่ความพร้อม

 

นายจรัญ   ไชยศักดิ์ ผู้บันทึก

คำสำคัญ (Tags): #สมอง
หมายเลขบันทึก: 195560เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2008 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอ Share เก็บมาฝากจ้า

6 ลำดับขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ของสมองมนุษย์

1. การเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ กับสิ่งที่รู้มาก่อนแล้วหรือความรู้เบื้องต้นทีมีอยู่ในสมองของพวกเขาเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดจากการมีประสบการณ์มาก่อน (ขั้นตอนนี้เป็นพื้นฐานเพื่อจะให้ได้ความคิดรวบยอด ทักษะ และความรู้ใหม่ ซึ่งประมวลกันขึ้นเป็นเรื่องใหม่ที่จะเรียนรู้)

2. การศึกษา ทดลองและลงมือทำซ้ำ ๆ ทำให้สมองรู้จัก ค้นเคยกับความคิดรวบยอด ทักษะ และความรู้ใหม่ที่รับเข้ามา

3.การศึกษา ทดลอง และลงมือทำซ้ำ ๆ ให้มากยิ่งขึ้นจะทำให้เข้าใจความคิดรวบยอด ทักษะ และความรู้ใหม่ได้

4. การทำซ้ำมากขึ้น การอ่านและการฟังบรรยาย ไม่ใช่จุดตั้งต้น แต่เป็นกระบวนการที่จะทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น การอ่านและการฟังบรรยาย จะสามารถสะท้อน วิเคราะห์ อธิบาย เปรียบเทียบ ความคิดรอบยอด ทักษะ และความรู้ของเรื่องที่กำลังเรียนรู้นี้กับเรื่อวอื่น ๆ ได้ เป็นการเริ่มสู่ระดับการคิดสร้างสรรค์

5. การใช้ความคิดรวบยอดทักษะ และความรู้ไปในการประยุกต์ใช้ในเรื่องต่าง ๆ ในชีวิต การผสมผสานสิ่งที่รู้ เข้ากับเรื่องที่ได้เรียนรู้อื่น ๆ นำไปสู่การมีความคิดระดับสูงขึ้น และมีความคิดสร้างสรรค์

6. การขัดเกลาและปรับปรุงผลงาน (จากคำวิจารณ์ของตนเองและผู้อื่น) ทำให้สามารถควบคุมและเข้าใจความคิดรวบยอด ทักษะและความรู้นั้นได้ดีเยี่ยมยิ่งขึ้น แต่นี่ก็ยังไม่ใช่จุดสิ้นสุดของการเรียนรู้ หากเป็นเพียงพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ระดับสูงขึ้นไป

ที่มา : พรพิไล เลิศวิชา ,นายแพทย์อัครภูมิ จารุภากร ออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยเข้าใจสมอง กรุงเทพฯ ,บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์. 2550 (หน้า 124 - 125)

ผมกำลังทำวิจัยกระบวนการคิดพอดี โดยเดินเรื่องจากโรงเรียนที่มีผลการประเมิน รอบ2ของสมศ.ในมฐ.4 ในระดับดีมาก ตอนนี้กำลังเจาะข้อมูลโรงเรียนอยู่ เราจำเป็นต้องมีทฤษฎีในเรื่องนี้ จะสามารถมองได้ถูกว่า ครูสอนอย่างไร นักเรียนเรียนรู้อย่างไร ผู้บริหารบริหารจัดการอย่างไร ที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการคิด

ขอบคุณทั้งท่านและDr.muc ตอนพิมพ์นี้ไม่มีอะไรในมือ ค่อยว่ากันต่อนะครับ

อ. จรัญคะ เว็บเพจ BBL อันนี้น่าสนใจมากค่ะ "ความรู้เบ่งบานด้วยสมองเต็มร้อย"

http://www.elib-online.com/doctors48/child_brain004.html

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท