ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม


มารู้จักปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม

          

      ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม ได้กล่าวถึงเนื้อหาสาระของหลักสูตรและบทบาทของครูผู้สอนไว้ดังนี้   หลักสูตร เป็นหลักสูตรแบบเนื้อหาวิชาและหลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ด้านเนื้อหาวิชาจะต้องเป็นเนื้อหาวิชาที่ให้เด็กได้รู้จักโลกของเราตามสภาพที่เป็นจริง ดังนั้นเนื้อหาวิชาจะต้องได้รับการกลั่นกรองรวบรวมไว้อย่างดีมีเหตุมีผล ไม่ใช่สิ่งที่เด็กค้นหาหรือคิดฝันเอาเองตามใจชอบ นอกจากนี้ทฤษฎีนี้ยังมุ่งเน้นในเรื่องการถ่ายทอดมรดกทางสังคมด้วย เพราะมรดกทางสังคมนี้จะเป็นการสรุปรวบรวมเอาประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนจำนวนมากมายไว้เป็นประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือได้มากกว่าความรู้จากประสบการณ์ของเด็ก ( กิติมา ปรีดีดิลก 2520 : 75)
ในด้านผู้เรียน นั้นเป็นผู้รับ ผู้ฟัง และทำความเข้าใจเนื้อหาสาระที่ครูกำหนดให้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องเป็นผลจากการทำงานอย่างหนัก ต้องรู้จักนำไปใช้ และต้องอาศัยวินัยด้วย นั่นก็คือผู้สอนต้องให้ผู้เรียนอยู่ในกรอบวินัย ต้องให้ผู้เรียนพยายามศึกษาหาความรู้อย่างหนัก การจัดการศึกษาต้องจัดเพื่อเป็นการเตรียมตัวเด็กในการดำรงชีวิตในอนาคตข้างหน้า  เพราะฉะนั้นในขณะที่เด็กกำลังเรียนจำเป็นที่จะต้องพยายามเรียนให้มาก ๆ แม้ว่าจะหนักอย่างไรก็ต้องพยายาม ในเรื่องการเรียนรู้นี้อีกสิ่งหนึ่งที่เน้นก็คือ การสร้างวินัยในตนเองให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก จะต้องให้เด็กรู้จักคอยควบคุมตัวเองให้ได้ เพื่อว่าจะได้ทำอะไรได้สำเร็จในบั้นปลายได้ และการสร้างวินัยในตนเองนี้เป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องอบรมเคี่ยวเข็ญให้มีขึ้นให้จงได้ ทฤษฎีนี้เน้นความสนใจของผู้เรียนน้อย เพราะถือว่าความสนใจมีลักษณะที่ไม่คงทน เริ่มต้นอาจมีความสนใจแต่เมื่อทำงานหนักเข้าจะเกิดความเฉื่อยชา หรือท้อถอยในที่สุด จึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะทำให้นักเรียนกระหายที่จะเรียน ความสนใจก็จะเกิดขึ้นเอง (กิติมา ปรีดีดิลก 2520 : 74)
ส่วนผู้สอน  ครูเป็นผู้ริเริ่มในด้านการเรียนการสอนและการศึกษาทั้งหมด เพราะครูเป็นผู้มีประสบการณ์มาก เป็นผู้รู้ดีกว่า และเป็นผู้ที่ได้รับการจัดสรรกลั่นกรอง ได้รับการเตรียมและฝึกฝนมาแล้วเป็นอย่างดี บทบาทในด้านการเรียนการสอนจึงขึ้นอยู่กับครูเป็นสำคัญครูที่เป็นนักสารัตถนิยม จะต้องสนใจในหลักความก้าวหน้า ว่าการเรียนรู้ไม่อาจจะสำเร็จได้จนกว่าการเรียนรู้นั้นจะประกอบขึ้นด้วยความสามารถ ความสนใจ และความมุ่งประสงค์ของผู้เรียน แต่ครูเชื่อว่าความสนใจและความมุ่งประสงค์เหล่านี้จะขึ้นอยู่กับทักษะของครูผู้ซึ่งเป็นนายกองค์การ ที่จะต้องทำให้บุคคลในกองค์การของตนได้เข้าใจกระบวนการของการพัฒนาการศึกษา (เมธี ปิลันธนานนท์ 2523 : 94)   ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ( 2529: 66 )ได้สรุปบทบาทของครูตามแนวทฤษฎีนี้ไว้ดังนี้
                ครูเป็นผู้รู้เนื้อหาที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดในห้องเรียน
                ครูเป็นผู้กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเรียนได้ดีที่สุด
                ครูเป็นผู้ตัดสินว่านักเรียนคนใดรู้มากรู้น้อย
                ครูเป็นผู้นำของห้องเรียนที่ฉลาดและรอบรู้
                ครูเป็นผู้กำหนดมาตรฐานว่าการเรียนรู้จะมากน้อยเพียงไร
                ครูเป็นแบบแผนและแม่พิมพ์ทางการศึกษา
ตามปรัชญานี้ ครูจึงมีบทบาทและความสำคัญอย่างมาก ถ้าได้ครูดี การศึกษาจะดำเนินไปด้วยดี การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาจึงเริ่มที่ครูก่อน

สรุปตามความคิดของข้าพเจ้า

      ตารางเปรียบเทียบการใช้หนังสือเรียนแบบดั้งเดิม และการใช้หนังสือเรียนเป็นสื่อเพื่อสอนให้เกิดความเข้าใจ

 

การใช้หนังสือเรียนแบบดั้งเดิม

เน้นการครอบคลุมเนื้อหาที่บรรจุไว้

การใช้หนังสือเรียนที่เสนอใหม่

เป็นสื่อเพื่อเจาะลึกไปสู่เรื่องอื่นๆ

& หนังสือเรียน คือ ประมวลเนื้อหาสาระทั้งหมดของวิชา

& การประเมิลผล คือ การทดสอบเนื้อหาเท่าที่มีอยู่ในหนังสือเรียน และบ่อยครั้ง  เป็นแบบทดสอบที่สำนักพิมพ์จัดหามาให้

& ภาระหลักของนักเรียน คือ เรียนรู้         สิ่งที่อยู่ในแบบเรียน ไม่มีการถามปัญหา         เชิงวิเคราะห์เจาะลึกอื่นใด

& วิธีการเรียน คือ อ่านหนังสือตามลำดับให้จบเล่ม

 

 

& ไม่มีการใช้ข้อมูลปฐมภูมิ

 

& การสอนใช้วิธีเลคเชอร์ และหนังสือเรียนทำหน้าที่เป็นเอกสารสรุปสาระจากเลคเชอร์

& หนังสือเป็นแหล่งข้อมูล เพื่อการศึกษา ค้นคว้า ในประเด็นหลัก

& หนังสือเรียน เป็นเพียงแหล่งข้อมูลหนึ่ง นักเรียนต้องแสดงความสามารถในเรื่องอื่นๆ อีกมาก

& หนังสือเรียนเป็นแนวทางสรุปคำตอบ       ที่สำคัญ แต่จะต้องศึกษาหาคำตอบอื่นๆ ด้วย

 

& ในการเรียน ครูจะคัดสรรบางส่วนของหนังสือเรียนมาเสริมการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ไม่จำเป็นต้องอ่านทุกเรื่องและไม่ต้องอ่านตามลำดับ

& ใช้ข้อมูลปฐมภูมิควบคู่กับข้อมูลจากหนังสือเรียน

& หนังสือเรียนนำเสนอเป้าหมายการเรียนรู้หลักแต่ต้องเสริมด้วยกิจกรรม และการค้นคว้าเพิ่มเติม

 

 

 

---------------------------------

 

 

"ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก: 

        http://210.246.188.53/trang1kmc/modules.php? 

        name=News&file=print&sid=790.

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 195142เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2008 20:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
เยาวลักษณ์ มานะนัด

ขอบคุณที่ให้ความรู้เรื่องนี้นะคะ เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาจริงๆ โดยเฉพาะกับนักศึกษาที่ต้องเรียนวิชานี้ และคุณครูที่ต้องการเรียนรู้เรื่องปรัชญาการศึกษา

ขอบคุณค่ะที่ให้ความรู้ กำลังเรียนเรื่งปรัชญาอยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท