การนิเทศที่ประทับใจ


การนิเทศที่ประทับใจ
การนิเทศที่ประทับใจ
การนิเทศที่มีคุณภาพ

 การนิเทศอย่างไร ที่จะทำให้ผู้รับการนิเทศประทับใจ

                การนิเทศเป็นที่ทราบกันว่า เป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้รับการนิเทศมีความสุข และความสำเร็จในหน้าที่ที่ปฏิบัติอยู่

                สำหรับความสุข ความสำเร็จ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนมุ่งหวัง (ผู้รับการนิเทศ) ทุกคนวิ่งเข้าหาความสุข ทุกคนวิ่งเข้าหาความสำเร็จ ดังนั้นการนิเทศ จะต้องฉกฉวยโอกาส การวิ่งเข้าหาความสุข ความสำเร็จของคน (ผู้รับการนิเทศ) โดยเฉพาะครู ผู้บริหารโรงเรียน ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหรือผู้รับการนิเทศของศึกษานิเทศก์ (ผู้นิเทศ)

                ซึ่งในขณะนี้ครู ผู้บริหารโรงเรียน วิ่งเข้าหาการพัฒนานวัตกรรมในการเรียนการสอนและการบริหาร เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานในหน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมายหรือปฏิบัติอยู่ โดยมีเป้าหมายความสำเร็จของการใช้นวัตกรรมอยู่ที่นักเรียนเป็นสำคัญ ผลจากความสำเร็จของการใช้และพัฒนานวัตกรรมที่เกิดขึ้นของครูและผู้บริหารโรงเรียน นำมาซึ่งผลประโยชน์อีกมิติหนึ่งคือ ความก้าวหน้าในวิชาชีพ นั่นคือ โดยนำผลที่ได้จากการใช้นวัตกรรมมาเขียนรายงานเสนอขอเพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้น ดังนั้นศึกษานิเทศก์ในฐานะผู้นิเทศที่สำคัญ ต้องเปิดใจ พร้อมรับการให้บริการ (การนิเทศ) แต่สิ่งสำคัญที่สุดของผู้นิเทศนั้นต้องได้รับแรงศรัทธา จากผู้รับการนิเทศ ความศรัทธาเป็นปัจจัยสำคัญ ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้การนิเทศประสบผลสำเร็จ ถ้าผู้รับการนิเทศมีความศรัทธาในตัวผู้นิเทศแล้ว จะทำให้การนิเทศบังเกิดผลหรือเกิดความสำเร็จ

                ในฐานะผู้เล่าเป็นศึกษานิเทศก์ที่ทำงานร่วมกับครู และผู้บริหารโรงเรียนมาไม่น้อยกว่า 20 ปี และประสบความสำเร็จทั้งชีวิตส่วนตัว ครอบครัว และในตำแหน่งหน้าที่การงาน จนได้รับแรงศรัทธาจากครู ผู้บริหารโรงเรียน  ศึกษานิเทศก์ และหน่วยงานต่าง ๆ  เป็นอย่างมาก จนบางครั้งจะต้องปฏิเสธแรงศรัทธา เพราะสุขภาพกายสู้ไม่ได้ แต่สุขภาพใจสู้ ถ้ารับศรัทธาต้องให้การนิเทศ หรือให้บริการฯ ไปเรื่อย ๆ ไม่มีคำว่า วันหยุด หมดเวลา ไม่ว่าจะช่วงเวลาไหน (รับประทานอาหาร นอน ดึกดื่น ค่ำคืนวันหยุด หรือพักผ่อนกับครอบครัว ฯลฯ) ต้องให้การนิเทศตลอด โดยเฉพาะการนิเทศโดยการใช้โทรศัพท์ การใช้ Blog การพบตัวต่อตัว แบบเพื่อนช่วยเพื่อน การพบกลุ่มย่อย ในทุกสถานที่ ทั้งที่ทำงาน ที่โรงเรียน แม้กระทั่งที่ตลาด ห้างและบ้านพักส่วนตัว แล้วแต่โอกาสที่มีเวลาให้หรือแม้แต่พบกันโดยบังเอิญก็ต้องให้การนิเทศ  และเกิดเครือข่ายการให้บริการเป็นปากต่อปาก

 

วิธีการนิเทศที่ได้ดำเนินการ ก็คือ

1. เปิดโอกาสให้ผู้รับการนิเทศเข้าพบ เข้าหาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ในรูปแบบของการพบ

Face to Face/blog to blog/ฯลฯ 

2. ก่อนนิเทศ  ผู้นิเทศจะให้ผู้รับการนิเทศ ได้เล่าถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาว่ามีการจัดกิจกรรมเรียนการสอน การบริหารหรือการนิเทศ ตามบทบาทและหน้าที่ของตน ตั้งแต่ต้น คือในอดีตจนจบ (ปัจจุบัน)

3. ผู้นิเทศจะทำการถอดรหัสจากเรื่องเล่า ร่วมกับผู้รับการนิเทศ ที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการ วิธีการเรื่องเล่านั้น ว่ามีสิ่งใดที่บ่งบอกถึง นวัตกรรมในการทำงานบ้าง ที่เป็น Good Practice/Best Practice

                4. ผู้นิเทศก็จะเขียน Script  บท ของการเดินเรื่องให้ผู้รับการนิเทศ เพื่อให้ผู้รับการนิเทศ นำไปถ่ายถอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือเป็นเอกสาร/ข้อความ  ที่มองเห็นในรูปของขั้นตอนหรือกระบวนการ นั่นคือ ผู้รับการนิเทศจะต้องไปสร้างชิ้นงานจากการถอดรหัสเรื่องเล่านั้น

5. ผู้นิเทศจะทำการนัดพบผู้รับการนิเทศครั้งต่อไปว่า  จะต้องนำ Script บทที่ให้ไป(การบ้าน) มาดู และนำเสนอ (ชิ้นงาน)

6. ผู้นิเทศ ก็จะตรวจสอบ ต่อยอด เติมเต็มในชิ้นงานนั้น(นวัตกรรม)า ซึ่งผู้รับการนิเทศส่วนใหญ่จะเน้นหลักปฏิบัติ(นักปฏิบัติ) ผู้นิเทศจะต้องนำหลักการ ทฤษฎีมาต่อเติมเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ ถูกต้อง ครบถ้วนตามหลักวิชา  ตามศักยภาพของผู้รับการนิเทศแต่ละบุคคล ผู้รับการนิเทศบางคนจะมีระดับความสามารถที่ค่อนข้างต่ำจะได้ชิ้นงาน(นวัตกรรม)ช้า  บางคนจะมีความสามารถที่ค่อนข้างสูงรวดเร็วจะได้ชิ้นงาน(นวัตกรรม)ที่สมบูรณ์  แตกต่างกันไป  ผู้รับการนิเทศบางคน จะทำการนิเทศ ชี้แนะ แนะนำ ต่อยอด เติมเต็ม เพียง 2 3 ครั้งก็เกิด Idea และ Concept  แต่ผู้รับการนิเทศบางคนต้องนิเทศซ้ำแล้วซ้ำอีก บางครั้งต้องใช้คำพูดใหม่ ที่เป็นลักษณะเชิงเปรียบเทียบ จึงจะเกิดความคิดหรือ Idea และ Concept นั่นคือผู้นิเทศต้องเข้าใจธรรมชาติของผู้รับการนิเทศมีความแตกต่างกัน เป็นเรื่องธรรมชาติหรือเรื่องปกติ ต้องใช้ความพยายาม ความอดทน ความมุ่งมั่นและความตั้งใจ รวมทั้งจิตสาธารณะหรือจิตบริการ จึงจะประสบความสำเร็จในการนิเทศ

7. ชิ้นงาน(นวัตกรรม) ที่ผู้รับการนิเทศ นำมาเพื่อรับการนิเทศ จะเป็นสื่อการนิเทศที่ดี เพราะจะเป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้รับการนิเทศเกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี เปรียบเสมือนกับเป็นการลองผิดลองถูก ผู้นิเทศจะต้องทำหน้าที่เติมเต็มให้ถูกต้อง ครบถ้วนและสมบูรณ์

8. การนัดพบเพื่อการนิเทศ นั้น ผู้นิเทศจะนัดพบที่ห้องผู้นิเทศเป็นส่วนใหญ่ เพราะเมื่อนิเทศคนหนึ่งเสร็จเรียบร้อยแล้วผู้รับการนิเทศที่จะรับการนิเทศต่อไป ก็จะได้เข้ารับการนิเทศต่อทันที ไม่ต้องเสียเวลา และจะทำการนิเทศติดต่อกันไป เรื่อยๆ (จัดบัตรคิว) จนกว่าจะหมดในแต่ละวัน และสถานที่ที่สะดวกที่สุด

9. ในขณะที่ผู้รับการนิเทศได้ภาระงาน(นวัตกรรม)ไปปฏิบัติที่ทำงาน ก็จะเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง  ก็เปิดโอกาสให้ใช้วิธีการซักถามทางโทรศัพท์เป็นส่วนใหญ่ เพื่อสร้างความกระจ่างชัดในการปฏิบัติตามขั้นตอนของนวัตกรรมนั้น ๆ

10. เมื่อได้ผลงาน/ชิ้นงาน(นวัตกรรม) ที่สำเร็จในแต่ละครั้ง  จะต้องเขียนรายงานออกมาในรูปแบบของเอกสาร  เพื่อที่ผู้นิเทศจะได้ทำการเขียนตอบ (ตรวจการบ้าน) ต่อยอด เติมเต็มไปเรื่อย ๆ จนสุดท้าย ได้ผลงาน/ชิ้นงาน(นวัตกรรม) ที่ถูกต้องตามหลักวิชา มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในการพัฒนางานเป็นอย่างดี  

11. ข้อมูลที่เป็นเชิงสถิติของการนิเทศ(พบกัน)ในแต่ละคน ผู้รับการนิเทศทุกคนที่ได้รับการนิเทศจะประสบผลสำเร็จ ซึ่งหมายถึง ได้ผลงาน/ชิ้นงาน(นวัตกรรม)ที่พัฒนาคุณภาพของงานในหน้าที่และเป็นลายลักษณ์อักษร ที่สามารถนำเสนอเป็นรูปเล่มเป็นบทๆ และสามารถนำไปเผยแพร่ผลการปฏิบัติงานที่เรียกว่า Good Practice/Best Practice จะใช้จำนวนครั้งในการนิเทศต่ำสุดจำนวน 5 ครั้ง และผู้ที่รับการนิเทศที่ช้า จะใช้จำนวนครั้งในการนิเทศมากที่สุดประมาณ 30 ครั้งต่อ 1 คน

 

ผลที่เกิดขึ้น    :

จากผลการนิเทศครั้งนี้ ผู้เล่าขอบอกว่าประสบผลสำเร็จ เพราะได้ช่วยผู้รับการนิเทศ ที่เป็น

ครู ผู้บริหารโรงเรียน และศึกษานิเทศก์ ครอบคลุมทั้งจังหวัดตั้งแต่ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี ปทุมธานี นครปฐม นครราชสีมา นนทบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี และพระนครศรีอยุธยา ในช่วงเวลา 1 ปี ไม่ต่ำกว่า 200 คน ซึ่งทุกคนมีความสุขและความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมโดยเฉพาะนวัตกรรมในการทำงานซึ่งผู้เล่า(ผู้นิเทศ)ได้จดบันทึกรายชื่อบุคคลไว้ เพื่อความภาคภูมิใจในสมุดบันทึกส่วนตัว ว่าการนิเทศที่สนองความต้องการ (Need) ของผู้รับการนิเทศ จะทำให้รับการนิเทศมีความสุข สำเร็จและผู้นิเทศถือว่าการนิเทศด้วยรูปแบบนี้เป็นกระบวนการนิเทศที่มีคุณภาพ ทำให้ผู้รับการนิเทศประทับใจ นั่นคือประทับใจทั้งผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ

ที่มา  http://gotoknow.org/blog/yuenyong/176562?class=yuimenuitemlabel

หมายเลขบันทึก: 194921เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2008 18:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท