(2551-10-06) ใครบ้างถือเป็นผู้ทรงสิทธิตามมาตรา ๒๓ พรบ.สัญชาติ ฉบับที่๔ พ.ศ.๒๕๕๑ :สถานะบุคคลของน้องหนึ่ง


จากปัญหาที่คุณหมออนามัยถามมานั้นมีประเด็นที่น่าพิจารณาว่า เด็กคนนี้(ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "น้องหนึ่ง" )ถือเป็นผู้ทรงสิทธิตาม มาตรา ๒๓ แห่ง พรบ.สัญชาติ (ฉบับที่๔) พ.ศ.๒๕๕๑ หรือไม่ ? และมีสถานะบุคคลตามกฎหมายไทยอย่างไร ?เพื่อตอบปัญหาดังกล่าว จะต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นเสียก่อนว่าสถานะบุคคลตามกฎหมายไทยของ "น้องหนึ่ง" เป็นอย่างไร แล้วมาพิจารณาว่าเข้าเงื่อนไขของ ม.๒๓ หรือไม่ หากเข้าเงื่อนไข ม.๒๓ แล้ว จะต้องทำอย่างไรต่อไป

ความคิดเห็นที่ 12

 

ตามที่ทางหมออนามัยได้ให้การดูแลเยี่ยมบ้านประชาชนในหม่บ้าน ได้พบปัญหาครอบครัวหนึ่งว่า สามีเป็นคนไทย ภรรยาเป็นลาวลักลอบเข้าไทย แต่งงานกัน แล้วมีลูก แต่ไม่ได้ฝากท้องเนื่องจากยากจน จึงออกลูกเองที่บ้านเมื่อไปยื่นขอใบเกิดที่อำเภอก็ไม่ได้ ให้ผู้ใหญ่บ้านรับรองก็ไม่ได้ ( เป็นคนเถื่อน ) แต่ลูกคนที่สองได้ฝากท้องคลอดที่โรงพยาบาลจ่ายค่าคลอดเอง  หมื่นกว่าบาท ได้ใบเกิด ไม่ทราบว่ามาตรา 23 นี้จะช่วยเหลือบุตรคนแรกได้หรือไม่อย่างไร ขณะนี้อายุ 11 ปีแล้ว ได้เข้าโรงเรียนแต่ไม่มีชื่อในเอกสารราชการ  เคยไปขอมา 3 ครั้ง จนผู้ใหญ่บ้านตายไปแล้ว 2 รุ่น ก็ยังไม่ได้ กรุณาช่วยตอบด้วยครับ

 

 

โดย หมออนามัย [email protected] เมื่อ วัน อาทิตย์ ที่ 22 มิถุนายน 2551, 12 : 24 น. IP : 118.175.132.197

 

 จากกระดานข่าว http://www.archanwell.org/newwebboard/main.php?board=001283&topboard=1 

 

จากปัญหาที่คุณหมออนามัยถามมานั้นมีประเด็นที่น่าพิจารณาว่า เด็กคนนี้(ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "น้องหนึ่ง" )ถือเป็นผู้ทรงสิทธิตาม มาตรา ๒๓ แห่ง พรบ.สัญชาติ (ฉบับที่๔) พ.ศ.๒๕๕๑ หรือไม่ ?  และมีสถานะบุคคลตามกฎหมายไทยอย่างไร ?

เพื่อตอบปัญหาดังกล่าว จะต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นเสียก่อนว่าสถานะบุคคลตามกฎหมายไทยของ "น้องหนึ่ง" เป็นอย่างไร แล้วมาพิจารณาว่าเข้าเงื่อนไขของ ม.๒๓ หรือไม่ หากเข้าเงื่อนไข ม.๒๓ แล้ว จะต้องทำอย่างไรต่อไป

----------------------------------------------------

น้องหนึ่ง มีสถานะบุคคลตามกฎหมายไทยอย่างไร ?

----------------------------------------------------

การที่เราจะพิจาณาสถานะบุคคลตามกฎหมายไทยของน้องหนึ่งได้นั้น เราต้องพิจารณาจากจุดเกาะเกี่ยว ว่าน้องหนึ่งมีจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศไทยหรือไม่ และเนื่องจากเราทราบข้อเท็จจริงในเบื้องต้นว่าน้องหนึ่งเกิดในประเทศไทยดังนั้นจึงถือว่าน้องหนึ่งมีจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศไทย ตั้งแต่เกิดโดยหลักดินแดน

ส่วนการพิจารณาว่าน้องหนึ่งมีจุดเกาะเกี่ยวโดยหลักบุคคลหรือไม่นั้นต้องพิจารณาว่าน้องหนึ่งสืบสายโลหิตมาจากคุณพ่อหรือคุณแม่ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่

หากฟังเป็นที่ยุติได้ว่าคุณพ่อของน้องหนึ่งมีสัญชาติไทย เราย่อมถือได้ว่าน้องหนึ่งมีจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศไทยโดยหลักบุคคลอีกประการหนึ่งด้วย 

ในอีกมุมหนึ่ง เราอาจถือว่าน้องหนึ่งมีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐอื่นด้วยเช่นกัน ซึ่งในที่นี้คือประเทศลาว เนื่องจากปรากฎข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าคุณแม่ของน้องหนึ่งอพยพมาจากลาว แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าคุณแม่ของน้องหนึ่งมีสัญชาติลาวหรือได้รับการบันทึกตัวในทะเบียนราษฎรของรัฐลาวหรือไม่ ซึ่งในกรณีที่คุณแม่ไม่ได้รับการบันทึกในทะเบียนราษฎรของประเทศลาว หรือประเทศอื่นใดบนโลกย่อมถือว่าคุณแม่ของน้องหนึ่งไร้รัฐ และอาจไร้รัญชาติเช่นกันหากพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีสัญชาติของรัฐใดบนโลก

ดังนั้น เพื่อความชัดเจนในการกำหนดสถานะบุคคลตามกฎหมายไทยของน้องหนึ่ง เราจึงจำต้องตั้งข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับสถานะของคุณแม่ของน้องหนึ่งไว้สองกรณี คือ ในกรณีที่คุณแม่มีสัญชาติลาว และในกรณีที่ไม่ปรากฎว่าคุณแม่มีสัญชาติลาว โดยแยกพิจารณาเป็นสองกรณีใหญ่ คือ กรณีที่คุณพ่อและคุณแม่จดทะเบียนสมรสกัน และกรณีที่คุณพ่อและคุณแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เพราะผลทางกฎหมายของทุกกรณีที่กล่าวมาย่อมแตกต่างกัน

กรณีที่คุณพ่อและคุณแม่จดทะเบียนสมรสกัน

น้องหนึ่งย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายทั้งของคุณพ่อและคุณแม่ ไม่ว่าคุณพ่อและคุณแม่จะจดทะเบียนสมรสกันก่อน หรือหลังจากที่น้องหนึ่งคลอดออกมาแล้วก็ตาม (ดูปพพ.)

ซึ่งในกรณีนี้มีข้อสันนิษฐานย่อยได้อีกสองประการ

  • กรณีคุณพ่อมีสัญชาติไทยและคุณแม่มีสัญชาติลาว

 

  • กรณีคุณพ่อมีสัญชาติไทย แต่คุณแม่ไร้สัญชาติ

ในกรณีที่คุณพ่อและคุณแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน

น้องหนึ่งถือเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของคุณแม่เท่านั้น เว้นแต่คุณพ่อได้จดทะเบียนรับรองความเป็นบุตร

โดยแยกพิจาณาได้เป็นสองกรณี คือ

 

  • กรณีคุณพ่อมีสัญชาติไทยและคุณแม่มีสัญชาติลาว

 

  • กรณีคุณพ่อมีสัญชาติไทย แต่คุณแม่ไร้สัญชาติ

 ---------------------------------------

 ผู้ทรงสิทธิตาม มาตรา ๒๓ มีใครบ้าง ?

----------------------------------------

มาตรา ๒๓ บัญญัติว่า

             "บรรดาบุคคลที่เคยมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรแต่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ข้อ ๑ และผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรแต่ไม่ได้สัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ข้อ ๒ รวมถึงบุตรของบุคคลดังกล่าว ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและไม่ได้สัญชาติไทยตามมาตรา ๗ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๒)พ.ศ.๒๕๓๕ ถ้าบุคคลผู้นั้นอาศัยอยู่จริงในราชอาณาจักรไทยติดต่อกันโดยมีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร และเป็นผู้มีความประพฤติดี หรือทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมหรือประเทศไทย ให้ได้สัญชาติไทยตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เว้นแต่ผู้ซึ่งรัฐมนตรีมีคำสั่งอันมีผลให้เป็นผู้มีสัญชาติไทยแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

             เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้มีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งยื่นคำขอลงรายการสัญชาติในเอกสารการทะเบียนราษฎรต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรแห่งท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาในปัจจุบัน "

------------------------------

 องค์ประกอบของมาตรา ๒๓

------------------------------

๑. เป็นบุคคลที่เกิดในประเทศไทย  และ

๒. เคยมีสัญชาติไทยแต่ถูกถอนสัญชาติไทยตาม ปว.๓๓๗  ข้อ ๑   หรือ

๓. ไม่ได้สัญชาติไทยตาม ปว.๓๓๗  ข้อ ๒  หรือ

๔. เป็นบุตรของบุคคลที่ถูกถอนสัญชาติหรือไม่ได้สัญชาติไทยตาม ปว.๓๓๗

  •      เกิดก่อนวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑  และ
  •     ไม่ได้สัญชาติไทยตาม มาตรา ๗ทวิ วรรคหนึ่ง พรบ.สัญชาติ ๒๕๐๘ แก้ไข พ.ศ. ๒๕๓๕

 ๕. อาศัยอยู่จริงในราชอาณาจักรไทยติดต่อกันโดยมีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร  และ

๖.  เป็นผู้มีความประพฤติดี หรือทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมหรือประเทศไทย

แม้ว่าบุคคลตาม มาตรา ๒๓ จะได้สัญชาติไทยแล้วนับตั้งแต่วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เป๋นต้นมา แต่เพื่อให้มีเอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลที่ออกโดยรัฐไทยอันเป็นหลักฐานที่แสดงว่ามีสัญชาติไทย และเพื่อประโยชน์ในการใช้สิทธิบุคคลตาม มาตรา ๒๓ จึงจำเป็นต้องยื่นคำขอลงรายการสัญชาติในทะเบียนบ้าน ท.ร.๑๔ ซึ่งจะนำไปสู่การมีบัตรประจำตัวประชาชนของคนสัญชาติไทยด้วย โดยกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ เป็นไปตามที่กรมการปกครองกำหนด

ยื่นต่อใคร  :  ต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร

ยื่นที่ไหน   :  ยื่น ณ ท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาในปัจจุบัน (เช่น มีชื่อในทะเบียนบ้าน มีชื่อในแบบพิมพ์ประวัติ)

เริ่มยื่นได้เมื่อไหร่ :  ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๑ (เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ )

ใช้หลักฐานอะไรบ้าง : ดูรายละเอียดในหนังสือสั่งการของกรมการปกครอง  ฉบับที่๑   ฉบับที่ ๒

มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดหรือไม่ :  ยื่นได้ไม่ มีกำหนดเวลา

------------------------------------

 "น้องหนึ่ง"  ต้องทำอย่างไรต่อไป ?

------------------------------------

หมายเลขบันทึก: 194853เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2008 11:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 11:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ไปตอบด้วยภาษาชาวบ้านให้คุณหมออนามัยในกระดานข่าวแล้วยังคะ

ตกลง กำลังจะบอกใช่ไหมคะว่า น้องหนึ่งตก ม.๒๓ ว.๑ ไหม

ตกลงตอบว่า น้องหนึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิ์ในมาตรา ๒๓ ไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท