Story telling


เศรษฐกิจพอเพียง

เรื่อง   พัฒนาการในการสร้างนวัตกรรม พระบิดาแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้เล่า   นางสาวนภาวรรณ  เศรษฐธรรม

 

 

                    เมื่อรัฐบาลและกระทรวงศึกษาได้มีนโยบาย ให้ครูจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสอดแทรกปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงในบทเรียน ผู้เล่าเป็นครูสอนภาษาอังกฤษจึงได้พยายามนำเอาคำศัพท์ภาษาอังกฤษมาใช้ในการสอนเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง แต่เมื่อทางรัฐบาลได้จัดนิทรรศการเกี่ยวกับในหลวงครองราชย์ครบรอบ ๖๐ ปี เทิดไท้องค์ราชัน ผู้เล่าได้ไปชมนิทรรศการ ๒ วัน และได้ถ่ายภาพพระราชกรณียกิจต่างๆที่จัดไว้ จากนั้นก็นำภาพมาจัดกลุ่ม และกำหนดคำอธิบายภาพเป็นข้อความภาษาอังกฤษ เพื่อให้นักเรียนได้จับคู่กับภาพได้ถูกต้อง ต่อจากนั้นก็ได้สร้างภาระงานในรูปแบบต่างๆอย่างหลากหลายในหลายหัวข้อตามพระราชกรณียกิจ ให้นักเรียนได้ค้นคว้าหาความรู้จากอินเตอร์เน็ต หรือหนังสือจากห้องสมุดที่เกี่ยวข้องกับองค์พระมหากษัตริย์ของไทย โดยให้นักเรียนจับสลากหัวข้อต่างๆตามพระราชกรณียกิจ ผลที่ได้ครั้งแรกของการทดลองสอน นักเรียนแต่ละกลุ่มค้นคว้าหาความรู้และตอบคำตอบเป็นภาษาไทยในแต่ละหัวข้อ ดีมาก จากนั้นผู้เล่าได้พยายามหาหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษให้นักเรียนค้นคว้าแต่ละหัวข้อ จึงได้คำตอบเป็นภาษาอังกฤษตามต้องการ

                  ผู้เล่าได้ไปนำเสนอผลงานชุดนี้ที่ โรงเรียนมหิดลนุสรณ์ และเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม ผลงานชุดนี้ทำเป็นโปรแกรม Power point  สอดแทรกการเรียนการสอนประกอบ

บทอ่าน Amish people ซึ่งเป็นกลุ่มชนเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศสหรัฐอเมริกา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา

 

ขุมความรู้

ขุมความรู้ของเพื่อน

นวัตกรรม

-พัฒนาในการสร้างนวัตกรรม

พระบิดาแห่งเศรษฐกิจพอเพียง

๑.Wh-Question ง่ายๆ สไตล์ครูพรทิพย์

 

 

๒. โครงงานใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์ของครูสุภาวดี

๓.การแก้ปัญหานักเรียนไม่กล้าพูดกับชาวต่างชาติของครูสิริมน

๔. คำคล้องจองประลองการเขียนครูสุดา

๕. ขั้นตอนการสอนนักเรียนพูดสุนทรพจน์ของครูนันทวดี

 

 

-ให้นักเรียนฝึกให้มากจากแบบฝึกเขียน และการอ่านและการสร้างคำถามจากเรื่องที่อ่านด้วยกระบวนการกลุ่ม

-โครงงานพี่สอนน้อง ครูผู้สอนสร้างบทเรียน

-สร้างคำถามเพื่อสัมภาษณ์

 

-ฝึกหัดปฏิบัติเป็นประจำก่อนสอน

-ใช้แผนที่ความคิด 3 หัวข้อ

ฝึกประโยคเพื่อการพูด ปฏิบัติเป็นประจำ เลือกหัวข้อที่น่าสนใจให้มาก 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แบบบันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

หัวปลา การขับเคลื่อนกระบวนการคิด วิชาภาษาอังกฤษ

ผู้เรียนรู้   นางสาวนภาวรรณ  เศรษฐธรรม

ปรับปรุงวิธีปฏิบัติ

 

วิธีปฏิบัติของตน

วิธีปฏิบัติที่ดีของเพื่อน

ปรับปรุงวิธีปฏิบัติของตนเอง

๑.สอนด้วยวิธีการเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง

๒.ปฏิบัติการกลุ่ม

๓.กระบวนการคิดจากภาพและคำอธิบายภาพ

๔.ส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง คำศัพท์ และตอบคำถาม

๕.ใช้ทักษะการเขียนตอบอย่างมีเหตุผล และใช้คำศัพท์อย่างถูกต้อง

๖.การสร้างโครงงานการอ่านจากหนังสือพิมพ์และนิตยสาร

ครูพรทิพย์

ฝึกให้เป็นนิสัยใช้คำ Question words

ครูสุภาวดี

พี่สอนน้องตามบทเรียนของครู

ครูสิริมน

สื่อสารกับต่างชาติสร้างความกล้าให้นักเรียนในการใช้ภาษาอังกฤษ

ครูสุดา

ฝึกออกเสียงคำศัพท์บ่อยๆความทรงจำจะได้ดี

ครูนันทวดี

ฝึกสม่ำเสมอเพื่อชัยชนะในสนามแข่งขันพูดสุนทรพจน์

 

ฝึกปฏิบัติบ่อยๆทุกวัน ให้นักเรียนคิดสร้างภาษาด้วยตนเอง  สื่อสารกับเจ้าของภาษา

และฝึกนักเรียนพูดเป็นภาษาอังกฤษให้มาก

ใช้เทคนิคการสอนให้ครบ ฟัง พูด อ่าน และเขียน

 

หมายเลขบันทึก: 194843เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2008 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 16:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีค่ะ
  • เข้ามาทักทายค่ะ
  • วิธีการเล่าแบบ  "เรื่องเล้าเร้าพลัง" ใช่ไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท