การส่งเสริมการอ่านของนักเรียน


กิจกรรมส่งเสริมการอ่านของนักเรียน

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในโรงเรียนของนักเรียน  5FORSHARE

                                                                                                         โดย  นายนรินทร์   ลีกระโทก

               1.  เนื้อหาที่สนใจ     ปัญหาการอ่านภาษาไทยของนักเรียนจากผลการสอบ  O-NET  และ  A-NET   ในปีการศึกษา  2551  ที่ผ่านมา  พบว่านักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 1 – 2   (ชั้นประถมศึกษาปีที่  1 – 6)  มากกว่าร้อยละ  50  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำในทุกกลุ่มสาระ  ทุกชั้น โดยเฉพาะชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ดังนี้

                                  ผลการสอบ  O-NET   ปีการศึกษา  2550   

                                ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6   ผู้เข้าสอบ  961,921  คน

กลุ่มสาระ

คะแนนเฉลี่ยสูงสุด

คะแนนเฉลี่ยต่ำสุด

คะแนนเฉลี่ย

ภาษาไทย

92.50

2.50

36.58

คณิตศาสตร์

100

0.00

47.55

วิทยาศาสตร์

100

0.00

49.57

ภาษาอังกฤษ

100

0.00

38.67

จากผลของคะแนน  O – NET  พบว่ากลุ่มสาระภาษาไทยมีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด  โดยเฉพาะสาระการอ่าน

จับใจความมีคะแนนต่ำสุด

               2. สาระสำคัญของเนื้อหาโดยสรุป  การอ่านมีความสำคัญอย่างมากในการเรียนรู้  ทั้งที่เป็นการเรียนรู้ทางวิชาการและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ  ซึ่งเป็นจุดมุงหมายอย่างหนึ่งของการจัดการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพประชากร  แต่ปัจจุบันนี้คนไทยยังไม่มีนิสัยรักการอ่านและยังไม่รู้จักใช้การอ่านเพื่อพัฒนาจิตใจของตนเอง  ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศชาติพัฒนาล่าช้า  ซึ่งมีเหตุมาจากปัจจัยหลายๆ  ด้าน  เช่นสภาพเศรษฐกิจมีดี  หนังสือราคาแพง  ไม่มีหนังสืออ่าน  ไม่เห็นประโยชน์ของการอ่าน   สนใจสื่ออื่นมากกว่าการอ่านหนังสือ  ดูหนังสือก็ดู้เฉพาะรูปภาพและข้อที่สนใจใกล้ตัวหรือความรู้สึก  สภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการอ่าน

               ดังนั้น  กลุ่ม  5FORSHARE  (5FS)   จึงคิดกำหนดเป้าหมาย  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มเพื่อคิดกำหนดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  ที่จะส่งให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน  ตลอดจนรู้จักศึกษาค้นคว้าเพื่อนำความรู้จากการอ่านไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้  ซึ่งสอดคล้องกับกระทรวงศึกษาธิการที่มีนโยบายเร่งรัดในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนการสอนของครูใหม่  โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  จึงต้องมีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้  เป็นคนที่คิดเป็น  ทำเป็น

แก้ปัญหาเป็นและมีนิสัยรักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง  กลุ่ม  5FS  เห็นความสำคัญด้านการอ่าน

ของนักเรียน  ตลอดจนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในโรงเรียน

                3.  แง่คิดที่ได้จากเนื้อหาที่ศึกษา   จากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานซึ่งเป็นทิศทางในการกำหนดกิจกรรมในการส่งเสริมและการพัฒนาการอ่านของนักเรียน  และเป็นการค้นหาความสนใจและพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนและแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของครูที่สอนอ่าน ให้มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมมากขึ้น  เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการอ่านของนักเรียน  ตลอดจนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในโรงเรียน  อันจะนำไปสู่การพัฒนาการอ่านให้ถึงระดับการอ่านเป็นและมีนิสัยรักการอ่านอย่างยั่งยืนต่อไป

                                      ลงชื่อ    นายนรินทร์   ลีกระโทก   ผู้บันทึก

หมายเลขบันทึก: 194789เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2008 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ ในที่สุดก็บันทึกข้อมูลได้แล้ว

นายจรัญ ไชยศักดิ์

การอ่านหนังสือเป็นการเพิ่มพูนความรู้ที่ทำได้ง่าย สามารถทำได้ด้วยตนเอง และไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ผู้ที่อ่านมากก็จะรู้มาก ผู้ที่อ่านได้เร็วก็ยิ่งได้เปรียบมากกว่าหลายเท่า บางคนบอกว่าการอ่านหนังสือคือการเปิดขุมทรัพย์ทางปัญญาที่ดีที่สุดในโลก และคงเป็นอย่างนั้นจริงๆ แต่ทุกวันนี้เด็กไทยมีปัญหาเรื่องการอ่านเป็นอย่างมาก จากสถิติการอ่านของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2546 ระบุว่าเด็กไทยอ่านหนังสือวันละ 6 บรรทัด หรือ 5 เล่มต่อปี ในขณะที่คนสิงคโปร์อ่านหนังสือ 17 เล่มต่อปี และ คนอเมริกาอ่านหนังสือ 50 เล่มต่อปี (ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Bangkok Post 9 เมษายน 2550)

นั่นอาจเป็นเพราะอิทธิพลของสังคมในทุกวันนี้ มีสิ่งล่อตาล่อใจให้เด็กไทยงมงายกับเรื่องที่อาจเป็นสาเหตุของการทำลายสุขภาพ หรืออนาคตที่สดใสของเด็กไทยได้ ไม่ว่าจะเป็นโลกอินเตอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสม หรือการเสพย์ติดสังคมเกมออนไลน์ที่บ่มเพาะให้เด็กก้าวร้าว ใช้เวลาไปอย่างไร้ค่า

แนะนำเทคนิคการอ่าน เพื่อให้ทุกท่านมีการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การอ่านคือการรับรู้ความหมายจากถ้อยคำที่ตีพิมพ์อยู่ในสิ่งพิมพ์หรือในหนังสือ เป็นการรับรู้ว่าผู้เขียนคิดอะไรและพูดอะไร โดยเริ่มต้นทำความเข้าใจถ้อยคำแต่ละคำเข้าใจวลี เข้าใจประโยค ซึ่งรวมอยู่ในย่อหน้า เข้าใจแต่ละย่อหน้า ซึ่งรวมเป็นเรื่องราวเดียวกัน

การอ่านเป็นการบริโภคคำที่ถูกเขียนออกมาเป็นตัวหนังสือหรือสัญลักษณ์ การอ่านโดยหลักวิทยาศาสตร์ เริ่มจากการที่ แสงตกกระทบที่สื่อ และสะท้อนจากตัวหนังสือผ่านทางเลนส์นัยน์ตา และประสาทตาเข้าสู่เซลล์สมอง ไปเป็นความคิด (Idea) ความรับรู้ (Perception) และก่อให้เกิดความจำ (Memory) ทั้งความจำระยะสั้น และความจำระยะยาว

ความเห็นเพิ่มเติม

เราลองมาหาวิธีการ/กระบวนการใหม่ๆ มาส่งเสริมการอ่านให้เกิดผลการพัฒนาอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม

สงสัยจังครับ ว่าทำไมเด็กไทยทำไมถึงทำคะแนนวิชาภาษาไทย ไม่ได้คะแนนเต็ม ทั้งที่วิชาอื่นได้เต็ม 100 หรือใช้ภาษาไทยไม่เป็น และนำไปดัดแปลงจนเราฟังไม่ออกว่าคืออะไร มันก็แปลกดีเนาะ เป็นคนไทย ทำวิชาภาษาไทยได้ไม่เท่าวิชาอื่น ครูไทยต้องนำไปคิดวิเคราะห์ หาสาเหตุที่แท้จริงนะครับ..

ท่านสมหวังคะ บันทึกการเรียนรู้ของกลุ่ม 2 นี้ อยากให้เป็นบันทึกนะคะ โดยการเข้าระบบ และเลือก "เพิ่มบันทึก" แล้วจึงพิมพ์บันทึกการเรียนรู้ของกลุ่มไว้ ข้อมูลจึงจะแสดงให้เห็นในบล็อก ถ้าเราบันทึกไว้ใน "แสดงความคิดเห็น" ชื่อบันทึกการเรียนรู้ของกลุ่มจะไม่ปรากฎบนบล็อก ทำให้ท่านอื่นอ่านไม่ได้ค่ะ หรืออาจไม่ได้อ่านความคิดเห็น ถ้ายังไงขอความกรุณา เพิ่มบันทึกไว้ด้วยนะคะ ผชช. จะได้อ่านด้วย ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท