@ ประเพณีไทยๆ..ในวันเข้าพรรษา..@


แรม 1 ค่ำ เดือน 8 วันเข้าพรรษา

แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน ของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง

ความสำคัญและความเป็นมาของวันเข้าพรรษา

"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใด วัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาใน วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใส        ในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้

 โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระ ตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษา หรือผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา

การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์

การปฏิบัติตน ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ

ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่  พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด ๓ เดือนมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำ ทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้ พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็นและในการนี้จะต้องมีธูป เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็น การกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบท การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ ๓ รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา ๓ เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่งมี การแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว ในวันนั้นจะมีการร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมกุศลกันในหมู่บ้านนั้น

 กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา
   . ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา
   . ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิกษุสามเณร
   . ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
   . อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ

Entering the Rains

The day following the Asalha full moon is called "Lent Commencement Day" or "Vassupanayika" in Pali. In Thailand 2 words are used for Lent (the Rainy Season Retreat), either Vassa or Phansa, both meaning "rain, season of rain". The Rains Residence (Retreat), is one of the monastic observances having its origin in the time of the Lord Buddha. Buddhist Lent, however, bears no similarity to the Christian Lent. Originally monks did not stay at any particular place, but were most of the time on the move in their mission to spread the Buddha's teachings. During the rainy season, when the country experienced heavy and frequent rainfalls, things were quite difficult for them and their travels were often impeded or interrupted. Both Thailand and India are subject to monsoon winds bearing torrential rains which make travel difficult in regions where there are swamps and swollen streams and no adequate roads. The season is also the time for farmers to cultivate their land and grow crops, so wandering monks could easily unintentionally damage the new-planted rice. So it was, naturally, the time for most ascetics to stop wandering and remain stationed in a specific place. This custom was in fact practised in India long before the time of the Buddha, and from considerations of health and comfort there is much to recommend this custom.

The Buddha therefore thought it fit to promulgate a rule for the Sangha. According to this rule, monks are obliged to remain posted at a certain place, preferably a monastery, for a period of three months, starting from the first day of the eighth waning moon (i.e. the day following the Asalha full moon).

During these three months, monks cannot spend the night outside the area they have taken for rains residence. If they have to go out, they make sure to return before dawn of the following day. There are, of course, exceptions to this rule by which a monk is allowed to spend the night elsewhere - for instance, if his parents are seriously ill, or if he is required for some urgent religious work at a place too far away to return in one day. But even in such cases, he may be away only for seven days at a stretch. This practice, like many others, has been preserved to the letter down to the present day, and the period is considered by all Buddhists as exceptionally sacred to perform merits.

 

ขอบคุณและอ่านเพิ่มเติมที่นี่ค่ะ

 http://www.dhammathai.org/day/kounpansa.php

                                               

 

หมายเลขบันทึก: 194438เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2008 06:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีครับ

           ขอขอบคุณสำหรับสาระดีๆ เรื่องวันเข้าพรรษาครับ

           เมื่อเช้า (16 ก.ค.51) ผมไปร่วมพิธี "บวชใจ งดเหล้าเข้าพรรษา"  มีท่าน ผู้ว่าเป็นประธาน

           มีการนำกล่าวปฎิญาณตน งดเหล้า ต่อหน้าหน้าองค์พระพุทธ  พระสงฆ์ และ พระบรมฉายาลักษณ์  หลังจากนั้นจึงปล่อยรถขบวนรณงค์งดเหล้าเข้าพรรษา  และห้ามดื่ม ห้ามขาย เหล้าในวัด  ผมเองก็ร่วมอยู่ในขบวนด้วย

           กลัยมาที่เขต  ผมก็เชิญชวนสมาชิกงดเหล้าได้อีก 4 คน   ตอนนี้ ที่เขตผมรวบรวมสมาชิกงดเหล้าได้ 16 คนแล้วครับ  โดยมีผมลงชื่อเป็นคนแรก

          ช่วงกลางวัน พรรคพวกโทรชวนไปกินข้าว  เขานั่งกินเบียร์กัน   ผมก็กินข้าวกับโค้ก  พรรคพวกบอกว่าวันนี้ยังไม่ต้องเริ่มก็ได้ แต่ผมบอกว่ารับศีลมาแล้ว  งดเลยก็แล้วกัน

          รอดไปอีก 1 วัน

                                     ขอบคุณครับ

ประเพณีไทยแท้แต่โบราณ ในเทศกาลเข้าพรรษาตอนเด็กเห็นผู้ใหญ่งดเหล้าเข้าพรรษาก็ไม่เข้าใจ และแถมมีเหตุผลอ้างค้านเสียด้วยว่า เข้าพรรษามีระยะ 3 เดือน แต่ออกพรรษามีต้องหลายเดือนทำใมไม่งดเหล้าตอนออกพรรษาเพีราะร่างกายจะได้งดเหล้าได้หลายเดือน พออายุมากขึ้นเรียนรู้และมีประสบการณ์ตรงจึงเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร ขอบอกว่าเป็นคนหนึ่งที่เพียรทำความดีในช่วงเข้าพรรษา อย่างวันนี้ได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดราชบุรี ทำบุญเลี้ยงพระ และถวายเทียนจำนำพรรษาเชิญชวนสมาชิกมาร่วมทำความดีพร้อมหน้าขออนุโมทนาบุญไปยังสมาชิก Gotoknow ทุกๆท่านด้วย สาธุ

P

ขอบคุณค่ะ small man

  ที่กรุณาแวะมา..เพิ่มเติม ข้อคิดดีๆ

              สุขภาพแข็งแรงค่ะ

                                  

 

P

ขอบคุณ ท่าน ผอ.ระจักษ์

    ที่กรุณา...แวะมาเยี่ยมค่ะ

         สิ่งดีๆ  มีแด่ท่าน...ในวันเข้าพรรษาและทุกๆวัน นะคะ

                        

 

เทศกาล เข้าพรรษา พัฒนาชีวิต

ให้ใกล้ชิด สนิทธรรม นำคุณค่า

บำเพ็ญทาน รักษาศีล จิตภาวนา

วิปัสสนา ภาวนา พาสุขใจ

วันนี้ดี มีโอกาส ฉลาดรู้

มาเฝ้าอยู่ ดูแลจิต คิดสดใส

วิปัสสนา- กัมมัฏฐาน ผลาญทุกข์ไกล

สงบใน กระแสธรรม นำสุขเย็น

P

ขอบคุณ  นะคะ คุณวุฒิศักดิ์ ศรีเสมาเมือง

        ที่กรุณา..แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติม

                        มีความสุขในทุกๆวัน นะคะ

                              สุขภาพแข็งแรง

                        

P

ขอบคุณ นะคะ คนพลัดถิ่น

    ที่แวะมาทักทาย...พร้อมกับคำดีๆ          

            มีแต่สิ่งดีๆ  นะคะ

                             

 

                 

มาอ่านบันทึก มีสาระที่เพียบพร้อมเลยครับ ต้องหัดอ่านภาษาอังกฤษไปด้วยแล้วครับ

P

   ชอบ search หาความรู้

       ไม่ค่อยถนัดการบันทึกเรื่องเล่า  เท่าไหร่ค่ะ

           blog ก็เลย  ออกมาประมาณนี้

               ขอบคุณนะคะ  ที่แวะมาทักทาย

                           มีแต่สิ่งดีๆ...ค่ะ

                          

Ico48
kliisra

ขอบคุณค่ะที่แวะมาทักทาย  Take care

สวยงามมาก

Ico48
กฤติยาภรณ์ อบเกษ

ประเพณีไทย  งดงาม นิรันดร์ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท