Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

ตัวอย่างวิธีเขียนตอบข้อสอบเจตนาในการทำนิติกรรม


ตัวอย่างวิธีเขียนตอบข้อสอบเจตนาในการทำนิติกรรม

                            

1.เจตนาซ่อนเร้น  ม.154

A แสดงเจตนาออกมาแตกต่างจากความต้องการหรือเจตนาที่อยู่ในใจ โดย B ไม่ได้รู้  ผลของการแสดงเจตนานั้น สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. ม. 154

 

2.เจตนาลวง ม.155 ว.1

 

                                                           C

 


A                              B

 

 

 


                                                                  D                    E     

 

AและB เจตนาลวงเจ้าหนี้ของ A  โดย A ไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญา......... ที่ได้ทำกันไว้  สัญญา.........ดังกล่าว  จึงเป็นเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่าง AและB  ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. ม.155 ว.1 

เช่น

AและB เจตนาลวงเจ้าหนี้ของ A  โดย A ไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญา..(ซื้อขาย)....... ที่ได้ทำกันไว้  สัญญา....(ซื้อขาย).....ดังกล่าว  จึงเป็นเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่าง AและB  ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. ม.155 ว.1 

 

A ไม่สามารถเรียกทรัพย์คืนจาก D โดยอ้างการซื้อขายเป็นโมฆะ  โดย A ยังเป็นเจ้าของอยู่ไม่ได้ เพราะ D เป็นบุคคลภายนอกที่สุจริตและต้องเสียหาย ตาม ป.พ.พ. ม.155 ว.1

หรือ

A ไม่สามารถเรียกทรัพย์คืนจาก E โดยอ้างการซื้อขายเป็นโมฆะ  โดย A ยังเป็นเจ้าของอยู่ไม่ได้ เพราะD  เป็นบุคคลภายนอกที่สุจริตและต้องเสียหาย ตาม ป.พ.พ. ม.155 ว.1 ดังนั้น D จึงมีสิทธิ์ในตัวทรัพย์เต็มที่แล้วและถึง E  จะรู้ถึงเจตนาลวงก็ไม่เป็นไร  เพราะ E  รับสิทธิ์มาจาก D  ซึ่งทำโดยชอบตามกฎหมาย

 

แต่ถ้าสัญญานั้นเป็นสัญญาให้

A สามารถเรียกทรัพย์คืนจาก D ได้  โดยอ้างการซื้อขายเป็นโมฆะ  โดย A ยังเป็นเจ้าของอยู่ ตาม ป.พ.พ. ม.155 ว.1  เพราะ D เป็นบุคคลภายนอกที่สุจริตแต่ไม่เสียหาย  เพราะได้ทรัพย์มาโดยการให้ ไม่ได้เสียค่าตอบแทน

 

3. ม.155 ว.2  นิติกรรมอำพราง (นิติกรรมที่เปิดเผย  แต่ไม่ต้องการผูกพัน)     =  โมฆะ

                        นิติกรรมที่ถูกอำพราง (นิติกรรมที่ปกปิด  แต่ต้องการผูกพัน)       =  สมบูรณ์  

 

ยกนาฬิกาให้ (ปกปิด)   สัญญาให้

 

นิติกรรมที่ถูกอำพราง            A                         B

 

นิติกรรมอำพราง                  A                         B

 

ทำเป็นขายนาฬิกาให้  (เปิดเผย) สัญญาซื้อขาย

 

1.การซื้อขายระหว่าง AและB  มีผลเป็นโมฆะ  เพราะเกิดจากเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ตาม ป.พ.พ. ม.155 ว.1 ต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางตามป.พ.พ. ม.155 ว.2

2.ซึ่งต้องเอาบทบัญญัติของนิติกรรมว่าด้วยการให้มาใช้บังคับ (ซึ่งตามม.523 การให้นั้นสมบูรณ์ต่อเมื่อมอบทรัพย์สินที่ให้)  ดังนั้น นิติกรรมการให้ระหว่าง A และ B จึงสมบูรณ์ ตาม ป.พ.พ. ม.155 ว.2

 

ยกที่ดินให้ (ปกปิด)    สัญญาให้

 

นิติกรรมที่ถูกอำพราง            A                         B

 

นิติกรรมอำพราง                  A                         B

 

ทำเป็นขายที่ดินให้  โดยจดทะเบียน (เปิดเผย) สัญญาซื้อขาย

.1871/2549

1.การซื้อขายระหว่าง AและB  มีผลเป็นโมฆะ  เพราะเกิดจากเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ตาม ป.พ.พ. ม.155 ว.1 ต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางตามป.พ.พ. ม.155 ว.2

2.ซึ่งต้องเอาบทบัญญัติของนิติกรรมว่าด้วยการให้มาใช้บังคับ (ซึ่งตามม.523 การให้นั้นสมบูรณ์ต่อเมื่อมอบทรัพย์สินที่ให้ แต่ที่ดินเป็นอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำหนังสือและจดทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ด้วยจึงจะสมบูรณ์)  จากข้อเท็จจริง มีการจดทะเบียนแล้วตามนิติกรรมอำพราง แต่นิติกรรมที่ถูกอำพรางไม่ได้จดทะเบียน

3..1871/2549 …เมื่อ A มีเจตนายกที่ดินให้ B แล้ว  การที่ A ได้จดทะเบียนซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเช่นเดียวกัน  ต่างกันแต่เพียงว่ามีค่าตอบแทนหรือไม่  ย่อมถือได้ว่าเป็นการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนสำหรับนิติกรรมการให้ที่ถูกอำพรางด้วยโดยอนุโลม  นิติกรรมการให้ที่ดินระหว่าง A และ B จึงไม่เป็นโมฆะ

 

ผลต่อบุคคลภายนอก

 

ฝากรถยนต์ไว้ (ปกปิด)   สัญญาฝาก

 

นิติกรรมที่ถูกอำพราง            A                         B

 

นิติกรรมอำพราง                  A                         B

 

                                                                                                 ขายรถยนต์ให้

                                ทำเป็นขายรถยนต์ให้  (เปิดเผย) สัญญาซื้อขาย

                                                                        C

 

1.การซื้อขายระหว่าง AและB  มีผลเป็นโมฆะ  เพราะเกิดจากเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ตาม ป.พ.พ. ม.155 ว.1 ต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางตามป.พ.พ. ม.155 ว.2

2.ซึ่งต้องเอาบทบัญญัติของนิติกรรมว่าด้วยการซื้อขายมาใช้บังคับ   C เป็นบุคคลภายนอกที่สุจริตและต้องเสียหาย ตาม ป.พ.พ. ม.155 ว.1  ดังนั้น นิติกรรมการซื้อขายระหว่าง Bและ C  จึงสมบูรณ์ ตาม ป.พ.พ. ม.155 ว.2

 

ตัวอย่าง

ให้รถยนต์ไว้ (ปกปิด)   สัญญาให้

 

นิติกรรมที่ถูกอำพราง            A                         B

 

นิติกรรมอำพราง                  A                         B

                                                                                                                                                                     

                                   ทำเป็นขายรถยนต์ให้  (เปิดเผย) สัญญาซื้อขาย

                                                                                            ยกรถยนต์ให้

 

                                                                        C

 

1.การซื้อขายระหว่าง AและB  มีผลเป็นโมฆะ  เพราะเกิดจากเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ตาม ป.พ.พ. ม.155 ว.1 ต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางตามป.พ.พ. ม.155 ว.2

2.ซึ่งต้องเอาบทบัญญัติของนิติกรรมว่าด้วยการซื้อขายมาใช้บังคับ   C เป็นบุคคลภายนอกที่สุจริตแต่ไม่เสียหาย ตาม ป.พ.พ. ม.155 ว.

หมายเลขบันทึก: 193413เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2008 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตัวอย่างเจตนากรณีซ่อนเร้น lawselfassesment.blogspot.com

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท