KM การจำแนกประเภทผู้ป่วย


การจำแนกประเภทผู้ป่วย เป็นส่วนหนึ่งของการหา Productivity ทางการพยาบาล

สวัสดีค่ะ วันนี้ พี่อ้อย (ภาวิณี) ในฐานะเจ้าของโครงการพัฒนาระบบ Productivity ได้แวะมาเยี่ยมบล็อกของกรรมการทรัพย์ ฯ เป็นครั้งแรก ก่อนอื่นขอบอกเล่าเรื่องโครงการให้ทราบก่อนนะคะ

~~~0~~~0~~~0~~~0~~~0~~~0~~~0~~~0~~~

ชื่อโครงการ

การบริหารอัตรากำลังทางการพยาบาล งานบริการพยาบาล

 

หลักการและเหตุผล

ท่ามกลางกระแสการปฏิรูประบบบริการสุขภาพในปัจจุบัน การบริหารการเงินการคลังด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป นับเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในกระบวนการบริหารจัดการของสถานบริการสุขภาพภาครัฐทุกแห่ง แนวคิดเกี่ยวกับการจัดบุคลากรโดยการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วยเพื่อหาปริมาณของเวลาการพยาบาลได้รับการยอมรับ และใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการพยาบาล   ในปัจจุบันการใช้ระบบการจำแนกประเภทผู้ป่วยเพื่อการจัดอัตรากำลังทางการพยาบาลมีการดำเนินการอยู่หลายประเทศ ในรูปแบบต่างๆกันซึ่งเครื่องมือการจำแนกประเภทผู้ป่วยแต่ละรูปแบบก็มีทั้งที่สร้างขึ้นใหม่หรือดัดแปลงใช้ตามความเหมาะสม การบริหารอัตรากำลังยุคปัจจุบันเน้นการทำให้องค์กรมีความกะทัดรัดบุคลากรมีจำนวนและคุณภาพที่เหมาะสมกับงาน โดยที่ผลสัมฤทธิ์ของงานต้องอยู่ในระดับมาตรฐานหรือกำหนดเหนือมาตรฐาน นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงความสำคัญของต้นทุนค้าใช้จ่ายมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีระบบการประเมินความสามารถในการผลิต ( Productivity) เพื่อควบคุมต้นทุน ค่าใช้จ่าย 

วัตถุประสงค์ 

1. เพื่อทบทวนคู่มือการจำแนกประเภทผู้ป่วยให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน

2. เพื่อส่งเสริมให้มีระบบการประเมินความสามารถในการจำแนกประเภทผู้ป่วย

วิธีการดำเนินการ

1. จัดให้มีการสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานเรื่องทบทวนคู่มือ การใช้เครื่องมือจำแนกประเภทผู้ป่วย

- ศึกษาสภาพปัจจุบัน

- ทบทวนและศึกษาทฤษฏี วิจัยต่างๆ

- พัฒนาการแยกประเภทผู้ป่วย

- ทดลองปฏิบัติ

- ทำความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติ

2.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพของพยาบาล

3. ติดตามผลความถูกต้องของการปฏิบัติ

4.รายงาน และวิเคราะห์ผลการจำแนกประเภทผู้ป่วยทุกไตรมาสต่อผู้บริหารเพื่อเป็นแนวทางการจัดอัตรากำลังให้เหมาะสมกับแต่ละหน่วยงาน

5. จัดบรรยายวิชาการ เรื่อง Productivityเพื่อศึกษาผลลัพธ์ของหน่วยงาน

6.สรุปผลและจัดทำเอกสาร

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการก่อนดำเนินงานโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ คณะกรรมการ ฯ จำเป็นต้องมีข้อมูลการจำแนกประเภทผู้ป่วยที่ชัดเจนและถูกต้อง เที่ยงตรง เพราะข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่จะนำมาหา Productivity ทางการพยาบาล

1.  มีคู่มือการจำแนกประเภทผู้ป่วย

2.  ร้อยละของพยาบาลที่รับการอบรม

3.  มีการรายงานผลการติดตามประเภทผู้ป่วยทุกไตรมาส

~~~0~~~0~~~0~~~0~~~0~~~0~~~0~~~0~~~

 

แต่มีคำถามเกิดขึ้นว่า ที่ผ่านมาข้อมูลที่พวกเราทำกันทุกหน่วยงานมีความเที่ยงตรงกันมากน้อยเพียงใด พยาบาลแต่ละคนใช้เกณฑ์จำแนกแบบไหน ทำกันอย่างไร  ข้อมูลที่ได้มาจะนำไปใช้งานต่อได้หรือไม่ เหตุเพราะเนื่องจากว่างานบริการพยาบาลมีพยาบาลน้องใหม่มาบรรจุเข้าทำงานจำนวนมากกว่าทุกปี และยังกระจายอยู่ตามหอผู้ป่วยต่าง ๆ   ซึ่งการมองภาพการจำแนกประเภทผู้ป่วยจะมีความเหมือนกันหรือแตกต่างกันหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่คณะกรรมการเป็นห่วงกังวล และอยากหาตัวช่วยหัวหน้าหอผู้ป่วยว่าจะมีวิธีการแลกเรียนรู้วิธีการทำงานในและหอผู้ป่วยได้อย่างไร จึงได้จัดกิจกรรม KM นี้ขึ้น ในวันที่ 9 นี้เองค่ะ  

 

เอาละค่ะ ตอนนี้ถึงเวลาต้องเริ่มโครงการกันแล้วนะคะ

 

วันที่ 9 กรกฎาคม 2551 ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไปก็ได้ฤกษ์จัดกิจกรรมที่คือ จัดให้มีการสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานเรื่องทบทวนคู่มือ การใช้เครื่องมือจำแนกประเภทผู้ป่วยของพยาบาลรุ่นพี่ รวมถึงหัวหน้าหอผู้ป่วยทุกท่านที่มีความสำคัญในการช่วยผลักดันให้เกิดกระบวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจำแนกประเภทผู้ป่วยในหอผู้ป่วยตนเองระหว่างพยาบาลรุ่นพี่กับพยาบาลรุ่นน้อง

 

นำภาพบรรยากาศมาให้ดูกันค่ะ

 

หลังจากวันที่พวกเรา KM การจำแนกประเภทผู้ป่วย มีการตื่นตัวกันมาก ทั้งที่เราแยกประเภทผู้ป่วยมานาน...พวกเรามีการประยุกต์วิธีการทำงานหลายรูปแบบ

อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างยังไม่หยุดนิ่ง  หากใครมีวิธีอะไรบ้าง บอกหน่อยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 193366เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2008 23:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

             ตึก 3 ข  ใช้ของงานบริการ ซึ่งเราจะสรุปย่อในแต่ละหมวด  แล้วแต่ละหมวด แบ่งย่อยออกเป็นข้อๆ

          นับค่าคะแนนทุกข้อ เท่ากัน  ค่าใดที่มีความถี่มากที่สุด เอาค่านั้นค่ะ

พี่จินตนานะคะ

รายงานผลงานเข้ากลุ่มวันนั้น 

  • ทีมแผนกห้องผ่าคัด OR พบว่า สามารถคำนวณ Productivity ชัดเจน ทีมงานรู้สึกภูมิใจมากเลยค่ะ
  • ทีมแผนกผู้ป่วยนอก  OPD พบว่า  สามารถค้นพบวิธีการหา Productivity และ สามารถคำนวณ Productivity ของแต่ละห้องตรวจได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • ทีมผู้ป่วยใน หลายแผนก  พบว่า การกำหนดการจำแนกประเภทผู้ป่วย เราใช้คู่มือเป็นแนวทางและอาศัยประสบการณ์ของผู้จำแนก
  • เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปฏิบัติใช้เวลาสั้น ๆ ในการจำแนก  จำแนกได้ตรงกันมีความเที่ยง  ก็ขอฝากการบ้านให้แต่ละหอผู้ป่วยนำกลับไปคิดและพัฒนาต่อนะคะ  โดยเฉพาะการพัฒนาพยาบลใหม่ให้รู้และเข้าใจถึงวิธีการจำแนกประเภทผู้ป่วยตามคู่มือที่เราใช้ร่วมกัน ซึ่งต้องมีการวัดสมรรถนในด้านนี้ด้วย นะคะ
  • ซึ่งขั้นต่อไป  กรรมการจะนำผลของการจำแนกประเภทผู้ป่วยไปใช้ในการวิเคราะห์อัตรากำลังและคำนวณ Productivity ที่มีความเที่ยงตรง น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น 
  • ขอบคุณทีมงานพยาบาลของโรงพยาบาลเราทุกคนนะคะ

 

 

วันนี้ได้รับ mail ข้อมูลสรุปประเมินผลโดยคุณเตือนใจ มาให้บันทึกเพิ่มค่ะ

ลำดับ

เนื้อหาการประเมิน

ระดับความคิดเห็น

มากที่สุด

มาก

ปานกลาง

น้อย

1

ทราบวัตถุประสงค์ของการสัมมนาครั้งนี้

20.04%

66.8%

13.36%

-

2

บรรยากาศในการสัมมนา

30.06%

68.47%

1.67%

-

3

รูปแบบการจัดสัมมนาเหมาะสม

30.06%

61.79%

8.35%

-

4

ระยะเวลาการดำเนินการสัมมนาเหมาะสม

20.04%

71.81%

6.68%

1.67%

5

สถานที่ทีใช้ในการสัมมนาเหมาะสม

50.1%

48.43%

1.67%

-

6

การใช้สื่ออุปกรณ์เหมาะสม

38.41%

55.11%

6.68%

-

7

การมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วม

46.76%

50.1%

3.34%

-

8

ผลการสัมมนานำไปพัฒนาคุณภาพการบริการได้

36.74%

58.45%

5.01%

-

เฉลี่ย

34.02%

60.12%

5.84%

-

ข้อเสนอแนะจากแบบประเมินผล

1.       ควรให้น้องใหม่ที่กำลังฝึกเป็นหัวหน้าเวรเข้าร่วมการสัมมนา

2.       การจำแนกผู้ป่วยแต่ละประเภทจะต้องใช้ประสบการณ์ประกอบด้วย ไม่ใช่ยึดหลักการแยกเท่านั้น

3.       น่าจะจัดอบรมความรู้เรื่องการจำแนกประเภทผู้ป่วยให้แก่พยาบาลทุกระดับ

4.       ปรับวิธีการประเมินให้เหมาะสมในแต่ละ Setting

5.       รวบรวมเป็นคู่มือแจกให้แต่ละหอผู้ป่วย

6.       น่าจะมีการทบทวนคู่มือให้มีข้อมูลคำอธิบายลักษณะผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ให้สามารถใช้ในปัจจุบันได้อย่างแท้จริง เพราะบางครั้งการคิดค่าคะแนนตาม mode อาจไม่ตรงกับการปฏิบัติงานจริงในคลินิก

7.       ควรตรงเวลา จัดห้องให้พร้อมก่อนที่ผู้เข้าอบรมจะมา (หน่วยโสตฯติดภารกิจจัดห้องเรียนให้นักศึกษาแพทย์จึงยังไม่ได้มาเปิดไฟให้ เนื่องจากต้องเปิดจากห้องควบคุม)

8.       ควรจัดอบรมให้แก่พยาบาลที่มีประสบการณ์น้อยกว่า 5 ปี เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และนำไปใช้ต่อ

9.      ควรนำผลการสัมมนาไปสรุปเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไปของแต่ละหน่วยงานที่มีความเฉพาะทาง

10.   ขอให้แต่ละหน่วยงานนำแนวทางการจำแนกประเภทผู้ป่วยที่ปรับไว้  แล้วนำมาปรับเพื่อให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน

11.   ระยะเวลาที่ใช้ในการอบรมน้อยเกินไป อยากให้มีเวลามากกว่านี้

 

พี่ ๆ ทีมงานคะ หนูอยากทราบวิธีคิด การคำนวณ Productivity ไม่ทราบว่านำมาประยุกต์ใช้กันอย่างไรเพราะว่าหนู search ในอินเตอเน็ตแล้ว แต่อยากได้รายละเอียดมาก ๆ ค่ะ

รบกวนขอคู่มือแยกประเภทผู้ป่วยฉบับล่าสุดค่ะ

ศรินทร์ทิพย์ ยอดคำลือ

ขอทราบการคิด product er ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท