การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

ถอดบทเรียนความก้าวหน้าของการบริการแพทย์แผนไทย สถานีอนามัยดงหวาย บ้านผือ ปี 2551


ถอดบทเรียนความก้าวหน้าของการบริการแพทย์แผนไทย สถานีอนามัยดงหวาย บ้านผือ ปี 2551

ถอดบทเรียนความก้าวหน้าของการบริการแพทย์แผนไทย สถานีอนามัยดงหวาย บ้านผือ   ปี 2551

                งานบริการแพทย์แผนไทย สถานีอนามัยดงหวาย  มีอาคารอยู่ด้านหน้าสถานีอนามัยแวดล้อมด้วยพืชพันธุ์สมุนไพร โดยหัวหน้าสถานีอนามัย คุณอรพรรณ วิลามาตย์ ซึ่งมีความสนใจในเรื่องของสมุนไพร และผ่านการอบรมหลักสูตรนวดเท้าเพื่อสุขภาพรุ่นที่ 1 ปี 2547  , หลักสูตรสำหรับเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยเพื่อการออกใบรับรองการรักษา 2549 และหลักสูตร 150  ชม.ของโรงเรียนนวดแผนไทย ภายในจัดสถานที่มีที่นอนนวดแบบตั่งยกพื้นขนาดใหญ่กว่าปกติ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนดีมีพื้นที่ให้หมอนวด การใช้เบาะ และผ้าปูตามมาตรฐานปกติ   มีห้องอบสมุนไพร ห้องน้ำแยกหญิงชาย ประตูอย่างหรูเลิศไม้เนื้อแข็งสวยงามมาก  (แถวนี้ขึ้นชื่อมีโรงงาน ลานไม้เรือนเก่า) การอบก็จะมีนาฬิกาเตือน แทนการใช้คนเตือน เดี๋ยวมาปีหน้าจะติดเครื่องปรับอากาศ  เป็นคำบอกเล่าของคุณอรพรรณ   มีการประยุกต์ใช้เตียงตรวจโรคแบบยกพนักศีรษะมาเป็นที่ประคบ เพื่อป้องกันการเลอะเทอะ   รวมทั้งมีที่น่าชื่นชมคือการประยุกต์ใช้ท่อพลาสลอนต่อเป็นรูปเลข 5 มาประกอบกับหัวก๊อกทำให้ใช้ศอกได้    

                ด้านบุคลากร หัวหน้างานคือคุณอรพรรณ ให้ความใส่ใจเป็นอย่างดี และพนักงานนวดผ่านการอบรมนวดเท้าเพื่อสุขภาพ 150 ชม. ซึ่งหน่วยงานอาจจะได้วางแผนหรือหากลวิธีที่จะให้พนักงานได้รับการประเมิน  โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะได้ประสานงานไปที่กรมเพื่อหาแนวทางการประเมินที่อาจจะไม่ใช่การอบรม

 

                ด้านคุณภาพการจัดบริการ

การจัดทำความเสี่ยงในการให้บริการ ดำเนินการในรูปแบบการจัดการความเสี่ยงภาพรวมของการดำเนินงาน โดยประยุกต์งานปกติทั่วไปอยู่แล้ว  ซึ่งน่าจะได้จัดทำในส่วนของบริการแพทย์แผนไทยในเชิงประเด็นที่เกี่ยวข้อง หน้า 118 119  มีเกิดอาการไม่พึงประสงค์ 2 ราย  

การกำหนดตัวชี้วัดมาตรฐาน ยังไม่ได้กำหนดในเชิงรายละเอียดของบริการแพทย์แผนไทย  เป็นเรื่องของการวัดเฉพาะความพึงพอใจในภาพรวมของการบริการ

                ด้านการจัดบริการ 

ด้านการพัฒนาบริการ

การให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ยังไม่ได้จัดการบริการการให้ความรู้อย่างเป็นรูปธรรม หรือเป็นแผนงานที่แน่นอน แต่มีการให้ความรู้ร่วมกับ อบต. , บน สอ. เพียงแต่ขาดการบันทึกที่ต่อเนื่อง

การให้คำแนะนำเรื่องการป้องกันโรค มีการจัดดำเนินการแต่ไม่ได้ลงข้อมูล ซึ่งน่าจะศึกษาและปรึกษาที่ รพ.บ้านผือ  ซึ่งจะเป็นการเพิ่มภาระงาน  น่าจะใช้วิธีการใช้ตัวเลขสีที่แตกต่าง เช่น สีแดง  มีการกำหนดไว้ 4 ข้อ / หัวเรื่อง   จะเป็นการนวดไป คุยไป  และได้ทำเป็นเอกสารแผ่นพับสำหรับแจกจ่าย มีการกายบริหารท่าฤาษีดัดตน เป็นต้น

อาจจะต้องกำหนดใน 2 เรื่องให้ชัดเจน คือ

1.เรื่องอะไรที่จะต้องให้กับคนไข้  

2.เนื้อหาตามเรื่องนั้น ๆ ที่จะต้องให้ที่พนักงานควรจะมีความรู้

3.การบันทึกผลงานการให้ความรู้ในรูปแบบที่จะไม่เพิ่มภาระ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานได้ดำเนินการอยู่แล้ว (อันนี้ก็เป็นตัวอย่างได้)

หมายเลขบันทึก: 192933เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2008 22:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 11:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท