การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

ถอดบทเรียนความก้าวหน้าของการบริการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลกุดจับ ปี 2551


ถอดบทเรียนความก้าวหน้าของการบริการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลกุดจับ ปี 2551

ถอดบทเรียนความก้าวหน้าของการบริการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลกุดจับ ปี 2551

วันที่ 8  กรกฎาคม 2551 ได้มาเยี่ยมที่โรงพยาบาลกุดจับ โดยมาร่วมกันถอดบทเรียนความก้าวหน้าใน 6 ด้าน ของโรงพยาบาล ทั้งนี้ โรงพยาบาลกุดจับได้ดำเนินการให้บริการแพทย์แผนไทยเมื่อปี 2544 โดยขณะนั้น ภญ.เสาวภา อ่อนสนิท มาถึง ภก.พรศิลป์ อินทะเคหะ ปัจจุบัน ภก.ประยงค์  อนุสุวรรณ์ ช่วยดูแลงานบริการแพทย์แผนไทยในฐานะที่ปรึกษา  การเริ่มดำเนินการนั้นได้รับงบประมาณศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเพื่อดำเนินการ  ขณะนั้นยังไม่มีอายุรเวทมาดำเนินการ มีพนักงานนวดที่ได้รับการอบรม โดยเป็นทั้งจุลทัศนกร (นายก้านตรี) และปรับปรุงห้องประชุมเป็นอาคารบริการแพทย์แผนไทย มีห้องอบสมุนไพรแยก 2 ห้อง แต่การเปิดบริการอบสมุนไพรเปิดใช้ห้องหญิงห้องเดียวเป็นหลัก และใช้การบริหารจัดการด้านเวลา ตอนนี้กำลังจะได้อาคารใหม่

บทเรียนด้านเครื่องมือและอุปกรณ์  สถานที่บริการมีครบทั้ง 3 ด้าน ห้องนวดเป็นห้องกระจก พื้นปูเซรามิคสีเทาฟ้ ที่สำหรับนวดเป็นยกพื้น มีฟูก 3 หลัง ใช้ผ้าปูลายพื้นเมือง สวยทีเดียว เสียแต่ว่าฟูกยังไม่หุ้มหนังเทียมจะทำให้การทำความสะอาดยาก และอาจสะสมเชื้อโรคได้ มีฉากกั้นเมื่อจำเป็น  ห้องอบสมุนไพร แยก 2 ห้อง มีการประดับผีเสื้อ ไม้แกะสลักรูปคนป่า มีที่พักหน้าห้อง มีกริ่งสัญญาณแบบ กริ้งกร้างดังแรงดีทีเดียว (อีกละ) หม้ออบสมุนไพรเป็นหม้ออบรุ่นแรกที่ตะแกรงจุ่มลงไปในน้ำ แต่พนักงานก็บอกว่าใช้งานได้ดี หอมดีด้วย  รวมทั้งเทอร์โมสแตทหมุนไปที่ 200 องศา แต่อุณหภูมิในห้องก็สูงไม่เกิน 45 องศา

เกี่ยวกับเรื่องของพนักงานนวด เป็นคุณก้านตรี และคุณพี่นี ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ในเรื่องของบทบาทของแต่ละคน คิดในเชิงพัฒนา เช่น การผลิตยาหม่องหรือลูกประคบยังไม่ได้ ในแง่ของการบริการเป็นปกติ คือยอดเพิ่มขึ้น ในบทบาทของที่ปรึกษา เป็นคนนอกที่ให้คำแนะนำ  มีมุมมอง การติดตามคนไข้ใน  มีแนวคิดว่าทำอย่างไรให้แพทย์แผนไทยร่วมเป็นทีมดูแลผู้ป่วย  ในการกำหนดดทีมทำงาน อยู่ในกลุ่มบริการทางการแพทย์  ทั้งนี้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมีเป้าหมายในเรื่องของศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับหมอพื้นบ้าน การแพทยแผนไทย ศูนย์ฝึกอบรมนวด ครบวงจร แต่ผู้มาเยี่ยมพบว่าการกำหนด Job Desription ของโรงพยาบาล

การจัดทำความเสี่ยงในการให้บริการ มีทีมคุณภาพของโรงพยาบาลให้ดำเนินการในรุปแบบรวม ซึ่งน่าจะได้จัดทำในส่วนของบริการแพทย์แผนไทยในเชิงประเด็นที่เกี่ยวข้อง หน้า 118 119

การกำหนดตัวชี้วัดมาตรฐาน ยังไม่ได้กำหนดในเชิงรายละเอียดของบริการแพทย์แผนไทย  เป็นเรื่องของการวัดเฉพาะความพึงพอใจในภาพรวมของการบริการ

การให้บริการในภาพของอายุรเวท มีแนวคิดเกี่ยวกับการจัดทำรายการโรคที่แพทย์แผนไทย สามารถให้บริการได้ไปในแนวทางเดียวกัน  โดยใช้กรอบจากแนวทางเวชปฏิบัติของกรม 

การให้บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ มีการจัดฤาษีดัดตน ช่วง 0830 0900 วันละ 30 นาที ที่โอพีดี มีคนร่วมเฉลี่ย 50 คน เป็นคนไข้ที่มารอตรวจเบาหวาน ความดัน แต่ก่อนจะเป็นพีซียู ดำเนินการ

การให้คำแนะนำเรื่องการป้องกันโรค มีการจัดทำรายการความรู้ที่จะให้กับผู้รับบริการ ซึ่งจะทำได้ แต่การลงข้อมูลจะทำได้เป็นบางครั้ง แต่ทำแยกเป็น 2 ฉบับ  ซึ่งจะเป็นการเพิ่มภาระงาน  น่าจะใช้วิธีการใช้ตัวเลขสีที่แตกต่าง เช่น สีแดง  มีการกำหนดไว้ 8 ข้อ / หัวเรื่อง   จะเป็นการนวดไป คุยไป  แต่ไม่ได้ทำเป็นเอกสารแผ่นพับสำหรับแจกจ่าย

การให้บริการนวดเพื่อการป้องกันโรคแทรกซ้อน มีการให้บริการแบบที่คนไข้มาเอง ซึ่งก็สามารถให้บริการได้ ยังไม่ได้จัดรูปแบบบริการที่ชัดเจน หรือในเชิงรายละเอียดแยกรายประเด็น

การนำการแพทย์แผนไทยเพื่อการฟื้นฟูสภาพเช่นการดูแลมารดาหลังคลอด ได้ดำเนินการร่วมกับงานบริการมารดาหลังคลอด เมื่อหมอตรวจแล้วเห็นว่าใช้บริการนี้ได้  ซึ่งชาวบ้านจะมีวัฒนธรรมการอยู่ไปอยู่ล้วที่บ้าน ทั้งนี้ถ้าจะให้ดีน่าจะเป็นลักษณะเข้าถึงตัว

การใช้ยาสมุนไพร มีรายการครบ  แต่การเข้ามามีบทบาทด้านยาของเภสัชกรยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร

หมายเลขบันทึก: 192928เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2008 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท