รายงานผลการใช้เอกสารการนิเทศ


เอกสารการนิเทศ การใช้แหล่งเรียนรู้ จังหวัดนครปฐม สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ชื่องานวิจัย           ผลการใช้เอกสารการนิเทศ แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้

                               ในจังหวัดนครปฐม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชื่อผู้วิจัย                น.ส.ผุสดี  จิระวัฒนกิจ

บทคัดย่อ

 

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักสองประการคือเพื่อ (1) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่เข้าร่วมโครงการการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในจังหวัดนครปฐม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ก่อนและหลังการพัฒนา และ (2) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้         แหล่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในโซนคุณภาพคงทองวิทยาโดยใช้เอกสารการนิเทศ แนวทางการจัด การเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในจังหวัดนครปฐม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้  คือ ครูวิชาการโรงเรียนและครูผู้สอนสังคมศึกษา โรงเรียนในโซนคุณภาพคงทองวิทยา  จำนวน  34 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้มี  2  ประเภทคือ  (1) เอกสาร  การนิเทศ   แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในจังหวัดนครปฐม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมและ (2) แบบสอบถามสภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้             แหล่งการเรียนรู้ ของโรงเรียนในโซนคุณภาพคงทองวิทยาโดยใช้เอกสารการนิเทศ แนวทาง           การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในจังหวัดนครปฐม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยนี้แบ่งเป็น (1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ เอกสารการนิเทศ            แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในจังหวัดนครปฐม  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น (2)  ตัวแปรที่เป็นกระบวนการ  ได้แก่   กระบวนการนิเทศการศึกษา  5  ประการ ดังนี้   การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการนิเทศการศึกษา   การวางแผนและการกำหนดทางเลือก การสร้างสื่อ เครื่องมือ และพัฒนาวิธีการ   การปฏิบัติการนิเทศการศึกษา   การประเมินผลและรายงาน  และ (3)  ตัวแปรที่เป็นผลผลิต  เป็นผลที่เกิดจากปัจจัยนำเข้า กระบวนการและกิจกรรมการนิเทศ ได้แก่ โรงเรียนมีแหล่งการเรียนรู้  ครูจัดการเรียนรู้โดยใช้        แหล่งการเรียนรู้ และครูสามารถจัดทำสื่อการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ ดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 – 2549 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

                1. ครูวิชาการโรงเรียนและครูผู้สอนสังคมศึกษาโรงเรียนในโซนคุณภาพคงทองวิทยามีความรู้        ความเข้าใจและการปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้โดยรวม ก่อนการนิเทศอยู่ในระดับน้อย และเมื่อได้รับการนิเทศแล้วครูวิชาการโรงเรียนและครูผู้สอนสังคมศึกษาโรงเรียนในโซนคุณภาพคงทองวิทยา  มีความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้โดยรวมในระดับมาก

2. ระดับการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ออกแบบการเรียนรู้/หน่วยการเรียนรู้

การใช้แหล่งการเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสื่อในการเรียนรู้  การประเมินผลการใช้แหล่งการเรียนรู้ ความพึงพอใจในกิจกรรมการนิเทศเพื่อพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในโซนคุณภาพคงทองวิทยาโดยรวมพบว่ามีการพัฒนาอยู่ในระดับมาก

หมายเลขบันทึก: 191491เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2008 22:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นวิจัยที่น่าสนใจและมีประโยชน์มากค่ะ

อยากให้พัฒนางานต่อไปเป็นศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท