ผลงานเดิม...เป็น R2R แบบไม่รู้ตัว : วงจร ชนิด Coaxial Circle Circuit


เมื่อหวนกลับมามองผลงานเดิม...เป็น R2R แบบไม่รู้ตัว เหตุเพราะอยากรู้ อยากเห็น...

 

เมื่อคราวฉันเข้ามารับราชการที่ภาควิชาวิสัญญีวิทยาเมื่อประมาณ 20 กว่าปีก่อน

 

ฉันเห็นภาพของอาจารย์ท่านหนึ่ง นั่งทำอะไรต่างๆยามว่างจากการดมยาสลบ

ซึ่งฉันเองก็อยากรู้  อยากที่จะเข้าไปช่วยเหลือหากฉันพอทำได้บ้าง...แม้เล็กๆ  น้อยๆ...

 

นั่นเป็นที่มาของการได้พูดคุยกับอาจารย์สรรชัย  ธีรพงศ์ภักดี  ท่านผู้มีความชำนาญอย่างยิ่งในเรื่องของวงจรที่ใช้ในการวางยาสลบผู้ป่วย

 

ฉันเห็นอาจารย์ใช้ใบมีดผ่าตัดปลายชายธงควั่นกระบอกฉีดยา  อาจารย์ทำได้กลมดิ๊ก... ฉันหัดทำตามจนฝีมือพอที่อาจารย์ยอมรับได้

 

อาจารย์หาอุปกรณ์ที่เป็นสายยางเหลือใช้หรือใช้แล้วจากเครื่อง Heart Lung Machine ในรายผ่าตัด Open Heart Surgeryมาเป็นส่วนประกอบ....ฉันคอยจ้องเมื่อมีการใช้สายยาง  ติดตาม  ถามหา  เอามาล้างทำความสะอาด  แช่น้ำยาฆ่าเชื้อโรคแล้วลองประกอบ

 

การหาอุปกรณ์ที่เหมาะในการเป็นตัว adapter ของช่วงต่างๆ ของวงจรวางยาสลบที่ดัดแปลงนั้นสำคัญ...เพราะต้องหาขนาดที่ฟิตพอดี  ไม่ให้มีการซึมรั่วของก๊าซได้เป็นอันขาด  มันท้าทายความพยายามค้นหา...เพราะต้องเป็นอุปกรณ์ที่เรามี  และถ้าเหลือใช้ด้วยยิ่งดี...

 

เราเน้นเอาของที่เหลือมาใช้...  ของที่จะทิ้ง...  ของที่เรามีอยู่...  เพื่อการประหยัด

 

สุดท้ายวงจรวางยาสลบชนิดท่อซ้อนท่อ (Coaxial Circle Circuit) ก็ประกอบจนเสร็จ  อาจารย์บอกว่าถ้าสั่งซื้อจากญี่ปุ่นจะแพงมาก  มีการนำไปทดลองใช้แทน วงจรวางยาสลบทั่วไป(Circle Circuit)  เพราะแบบนี้ไม่เกะกะ กีดขวางการผ่าตัดเวลานำมาใช้ในการผ่าตัด Head-Neck Surgery  หรือในผู้ป่วยเด็กที่ศีรษะเล็กๆแล้วใช้วงจรใหญ่ที่ดูเทอะทะ

 

การศึกษาวิจัยค่าทางเคมีของเลือดแดงเป็นปกติ  จึงเป็นที่มาของการนำมาใช้ในที่ทำงานอย่างปลอดภัย

 

และความที่เบา  ใช้ง่าย  ไม่เกะกะจึงเป็นที่มาของการนิยมนำมาใช้ในรายผ่าตัดทั่วๆไปด้วยเป็นจำนวนมาก  ไม่เพียงเฉพาะการผ่าตัด Head-Neck Surgery  หรือในผู้ป่วยเด็กที่ศีรษะเล็กๆเท่านั้น

 

...ด้วยขนาดที่ทำเพียงขนาดเดียว  คือความยาวประมาณ 110 ซม.  เป็นที่มาของความข้องใจของฉันว่า  ถ้าสั้นกว่านี้จะได้มั้ย..มันจะได้ประหยัดหน่อย  หรือยาวกว่านี้ได้มั้ยจะได้สะดวกมากขึ้น

 

การศึกษาวิจัยชุดที่สองจึงตามมา  และผลปรากฏว่าสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในระหว่างความยาวประมาณ 80 – 150 ซม.ทำให้เรามีใช้หลายขนาด

....และก็ใช้มากันจนปัจจุบันค่ะ

หมายเลขบันทึก: 191033เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2008 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ อ.กฤษณา

  • เป็นผลงานที่น่ายินดีมากมายค่ะ
  • ป้าแดง พยายาม ที่จะสร้างนวตกรรมงานประดิษฐ์แต่ก็ไม่กล้าออกนอกเส้นทางเลยค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันค่ะ

สวัสดีค่ะ ป้าแดง

  • งานที่ได้แปลกๆเป็นเพราะคิดแปลกๆ...ทำแปลกๆไปค่ะ  และโชคดีที่อาจารย์ท่านก็ชอบให้เราคิดโน่น  คิดนี่อยู่เรื่อยๆ  ไม่บล็อคความคิดค่ะ
  • ผลงานชิ้นนี้ของทีมงานได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานรางวัล R2R ดีเด่น  ระดับตติยภูมิ เรื่อง  การประดิษฐ์วงจรวางยาสลบเพื่อใช้ในงานบริการวิสัญญีประจำวันค่ะ...
  • นำเสนอ  ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพมหานคร ในโครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากงานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research) วันพฤหัสที่ 3 นี้ค่ะ...
  • ....ป้าแดงได้ไปงานนี้มั้ยคะ...จัดวันที่ 2-3 กรกฎาคม ค่ะ
  • ขอบคุณป้าแดงค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท