การจัดการคุณภาพน้ำภาคประชาชน : กรณีศึกษาตำบลกุดน้ำใส อำเภอน้ำพอง จังหวัดของแก่น


งานวิจัยจาก ส.ม.1 มมส
ผู้วิจัย นางสรัญญา โพธิ์ทอง
ส.ม.1 มมส. สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม


บทคัดย่อ

ประเทศไทยประสบปัญหามลพิษแหล่งน้ำ โดยมีสาเหตุจากกิจกรรมภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และชุมชน ทำให้คุณภาพน้ำในแม่น้ำลำคลองโดยทั่วไป มีคุณภาพเสื่อมโทรมลง วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีความม่งหมายเพื่อศึกษาระบการจัดการคุณภาพน้ำภาคประชาชน กรณีศึกษาตำบลกุดน้ำใส อำเภิน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเอการจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ การประเมินระบบ และกิจกรรมการตรวจสอบคุณภาพน้ำภาคประชาชน ใช้การสัมภาษณ์กลุ่ม (Group Interview) ใช้แบบสอบภามประเมินความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) และการเก็บตัวอย่างน้ำตามสถานีต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าตัวแปรคุณภาพน้ำเปรียบเทียบระหว่างอาสา สมัครและผู้วิจัย การวิจัยดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2546 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2547

ผลการวิจัย พบว่า ระบบการจัดการคุณภาพน้ำภาคประชาชนองตำบลกุดน้ำใส มีกลไกการดำเนินงานโดยมีศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมชุมชนตำบลกุดน้ำใส เป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งมีคณะกรรมการดำเนินงาน 4 ฝ่าย คือ คณะกรรมการฝ่ายที่ปรึกษา และที่ปรึกษาด้านกฏหมาย คณะกรรมการอำนวยการ และคณะกรรมการฝ่ายปฏิบัติการ โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้ำใส เป็นองค์กรกลางเชื่อมโยงการดำเนินงานในฝ่ายต่างๆ และให้การสนับสนุนหลักด้านงบประมาณ ศูนย์ฯ มีอาสาสมัครชุมชนที่ผ่านการอบรมการตรวจสอบคุณภาพน้ำ เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพน้ำเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งจะผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการตรวจสอบคุณภาพน้ำ ครั้งละ 9-11 คน ในสถานีเฝ้าระวังที่อาสาสมัครชุมชนกำหนดขึ้น จำนวน 15 สถานี ตัวแปรคุณภาพน้ำที่อาสาสมัครตรวจวิเคราะห์ มี 8 ตัวแปร คือ (1) ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ (Dissolved Oxygen-DO) (2) การนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity-EC) (3) ความเป็นกรด-ด่าง (pH) (4) อุณหภูมิน้ำ (Water Temperature) (5) ปริมาณฟอสฟอรัส (6) ปริมาณแทนนิน-ลิกนิน (7) ปริมาณไนเตรท-ไนโตรเจน (NO3-N) และ (8) สี เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำเป็นแบบเคลื่อนที่ (Portable) อ่านผลด้วยระบบดิจิตอล

การจัดการข้อมูลการตรวจสอบคุณภาพน้ำภาคประชาชน พบว่ามีระบบการจัดการข้อมูล โดยมีคณะกรรมการฝ่ายวิเคราระห์ข้อมูลและประเมินผล เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดเก็บ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ข้อมูลตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทางอินเตอร์เนต คอมพิวเตอร์ระบบสัมผัส สถานีวิทยุเสียงชุมชน และหอกระจายข่าวหมู่บ้าน

ผลการประเมินความแตกต่างค่าตัวแปรคุณภาพน้ำที่ตรวจวิเคราะห์ระหว่างอาสา สมัครชุมชนและของผู้วิจัย พบว่า มีความแตกต่างทุกค่าตัวแปรคุณภาพน้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาปัจจัยด้านเครื่องมือภายหลังนำเครื่องมือของอาสาสมัครชุมชนและ ผู้วิจัย คือ ค่าปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ ค่าการนำไฟฟ้า และค่าอุณหภูมิน้ำ ไม่มีค่าแตกต่างกัน แต่พบว่ามีค่าตัวแปร ความเป็นกรด-ด่าง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ซึ่งพบว่าเกิดจากปัจจัยของคุณภาพเครื่องมือตรวจวัดที่แตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบค่าที่ตรวจวัดโดยอาสาสมัครเพศหญิงและเพศชาย พบว่ามีค่าไม่แตกต่างกัน

ผลการประเมินกรรับรู้และการให้คุณค่ากิจกรรมการตรวจสอบคุณภาพน้ำภาคประชาชน ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องส่วนใหญ่มีการรับรู้กิจกรรมการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ น้ำภาคประชาชนร้อยละ 88.10 และโดยให้คุณค่าเชิงการใช้ประโยชน์ในระดับปานกลาง

โดยสรุปแล้วผลการประเมินด้านความคิดเห็นต่อคุณภาพน้ำแม่น้ำพองปัจุบัน ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า คุณภาพน้ำแม่น้ำพองในปัจจุบัน มีคุณภาพน้ำอยู่ในระดับปานกลาง

ความมุ่งหมายของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาโครงสร้างองค์กร รูปแบบ วิธีการ และกลไกการสนับสนุนกิจกรรมการตรวจสอบคุณภาพน้ำภาคประชาชน

2. เพื่อศึกษาระบการจัดการข้อมูลการตรวจสอบคุณภาพน้ำภาคประชาชน

3. เพื่อศึกษาประเมินความแตกต่างค่าตัวแปรคุณภาพน้ำที่ตรวจวิเคราะห์ระหว่างอาสาสมัครชุมชนและนักวิชาการ

4. เพื่อศึกษาประเมินการรับรู้ และการให้คุณค่ากิจกรรมการตรวจสอบคุณภาพน้ำภาคประชาชน ของภาคราชการ และภาคชุมชน


หมายเลขบันทึก: 19084เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2006 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 13:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท