020 : ชวนดู เมฆคลื่นเซียร์รา


 

สภาพภูมิศาสตร์ในบางพื้นที่ของโลกมีความน่าอัศจรรย์

เพราะสามารถทำให้เกิดเมฆที่แสนจะแปลกตาได้

อย่างเช่น Sierra ในมลรัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกา

 

เมฆที่เห็นนี้เรียกส่า เมฆคลื่นเซียร์รา หรือ Sierra wave cloud ครับ

 

ที่มาของภาพ

 

เมฆพิสดารนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรหนอ?

อธิบายง่ายๆ ได้ว่า ในพื้นที่ที่มีภูเขาสูงชันพอเหมาะ

กระแสอากาศที่ไหลปะทะภูเขาจะถูกบังคับให้มีรูปแบบเป็นคลื่น

 ที่มาของภาพ

หากไอน้ำในกระแสอากาศควบแน่นเหนือภูเขา ก็จะเรียกว่า cap cloud

หากควบแน่นเป็นรูปจานบิน ก็จะเรียกว่ UFO cloud

เมฆทั้งสองแบบนี้ ผมเคยนำภาพมาให้ชมแล้วในบันทึก ปริศนาเมฆจานบิน

 

แต่หากไอน้ำควบแน่นเป็นแนวยาวววว... ทอดหางไกลออกไป

เมฆที่ปรากฏจะมีลักษณะเป็นคลื่นผิวเรียบ

เรียกว่า Sierra wave อย่างที่เห็นในภาพแรกสุด 

ภาพข้างล่างนี้มองแบบ "ตานก"

สังเกตเมฆเป็นทางตรงกลางภาพที่เกิดจากแนวภุเขากั้นเอาไว้สิครับ


คำสำคัญ (Tags): #sierra wave
หมายเลขบันทึก: 190272เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2008 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะ ท่านอ.ดร.

* ว้าว ว้าว ว้าว .. สุดยอดงาม มากค่ะ

* มาดูภาพเมฆ .. ก่อนเดินทาง

* และสัมผัสเมฆ ระหว่างการเดินทางค่ะ

* แต่คงหาดู ของจริงยากนะคะ บนฟ้ายามนี้

ขอบพระคุณค่ะ อ. มีความสุขกับการงานค่ะ

สวัสดีครับ คุณ poo

        ถ้าได้เก็บภาพเมฆระหว่างการเดินทาง ก็นำมาเผื่อแผ่กับเพื่อนๆ G2K ที่แถวๆ นี้ก็ได้นะครับ

        ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพครับ

สวัสดีค่าอาจารย์ ชอบเมฆมานานแล้วค่ะ ชอบมองเมฆบนท้องฟ้ามตรงเสน่ห์ที่ไม่เหมือนเดิมเลยซักวัน วันหลังจะถ่ายภาพท้องฟ้ามาฝากค่ะ

  • สวัสดีครับ
  • อยู่ในโรงแรมอบรมทั้งวัน
  • ได้เห็นเมฆกับอาจารย์นี่ละครับ
  • สวยกว่าของจริงด้วย555+++

สวัสดีครับ คุณจอย - นฤมล

      ใช่แล้วครับ ไม่เหมือนเดิมเลยสักว้น และแม้จะคล้ายๆ เดิม แต่ก็จะมีแง่มุมแปลกใหม่ให้ชมเสมอ

      ไว้จะรอดูภาพเมฆและท้องฟ้านะครับ

สวัสดีครับ คุณปรีดา เกษตร(อยู่)จังหวัด

       อบรมในโรงแรมทั้งวัน แอบแว่บออกมาดูเมฆหน้าจอหรือครับ ;-)

       อย่าลืมนำภาพเมฆมาฝากอีกนะครับ

  • เอาเมฆที่มหาวิทยาลัยมาฝาก
  • อันนี้ก็สวยดี
  • ถ่ายเมื่อวานตอนเย็น

อาจารย์แอ๊ด

      ภาพเมฆสวยจัง มีภาพใหญ่ไหมครับ

      ชวนไปเล่นทายสำนวนไทยปริศนาที่ บันทึกนี้ ครับ

สวัสดีค่ะ

ตื่นตาตื่นใจกับเมฆ..สีสันก็สวยงามแถมได้ความรู้อีกต่างหาก ภาพที่เป็น มองแบบตานก ดูแปลกดีนะคะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ

      มองแบบตานกนี่มักจะทำให้เห็นแง่มุมที่งดงาม และบางทีก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วย อย่างในกรณีนี้ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ภาพนี้แหงนมองแบบตา(ดาวลูก)ไก่ ค่ะ เหมือนเมฆหนึ่งในบันทึกที่อาจารย์แนะนำเลยนะคะ

สวัสดีครับ

         ภาพเมฆสวยจังครับ เป็นคลื่นชัดเจนเลย เข้าใจว่าน่าจะเป็น altocumulus undulatus แบบหนึ่งครับ คล้ายๆ กับ เมฆลายปลา อย่างที่ว่าจริงๆ

         รายละเอียดที่ให้ไว้ก็เป็ฯประโยชน์มากด้วย ช่วงเช้าๆ 7:26 am ดวงอาทิตย์เพิ่งพ้นขอบฟ้ามาได้ชั่วโมงกว่าๆ อากาศน่าจะยังเย็นสบายดีใช่ไหมครับ ^__^

ใช่ค่ะ มีลมพัดเย็น งงนึกว่าหลงฤดู 

มีอีกภาพด้วยนะคะ (แต่ภาพนั้นมีอารมณ์แฝงอยู่ค่ะ) แต่ไม่เอามาวางในบันทึกนี้หรอกค่ะ

ให้ตามไปรู้จัก เจ้าของบันทึก (<<click) ด้วยดีกว่าค่ะ

สวัสดีครับ

       ได้ชมภาพ 'เดียวดาย' แล้วครับ เดี๋ยวจะตามไปเก็บรายละเอียดอีกที ^__^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท