ชั่งน้ำหนักเพื่อการตัดสินใจ


จะรับมือกับผลกระทบนั้นอย่างไร

ภายหลังจากที่คุณรวบรวมข้อมูลแล้ว คราวนี้ก็เอาบรรดาข้อมูลต่างๆทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อหาผลดีผลเสียทุกด้าน (ใส่เงื่อนไขต่างๆเข้าไปด้วยก็ดี) โดยไม่มีอคติ อาจเอาแนวทาง Six Thinking Hats มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยก็ได้ อาจทำเป็นตารางเพื่อเปรียบเทียบก็ได้ แล้วก็ชั่งน้ำหนักดูระหว่างดีกับไม่ดี ถ้าคิดว่าจะตัดสินใจเลือกแล้ว แล้วผลกระทบที่ตามมารับได้หรือไม่ ถ้ารับได้ แล้วจะรับมือกับผลกระทบนั้นอย่างไร ก็ต้องคิดไว้ด้วย และที่สำคัญคุณต้องไม่ลืมว่าการปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไม่ทำอะไรนั้น เท่ากับว่าคุณได้ตัดสินใจแล้วว่า จะไม่ทำอะไร ซึ่งหมายความว่าใช่หรือไม่ใช่นั่นเอง หรือไม่เช่นนั้นก็เท่ากับว่าคุณปล่อยให้การตัดสินใจเป็นเรื่องของคนที่เกี่ยวข้องให้ตัดสินใจแทนคุณ ใช่หรือไม่ใช่   หากคุณหมายความดังนั้นก็เท่ากับคุณได้ตัดสินใจแล้วว่าจะให้คนอื่นตัดสินใจให้  .. เพื่ออะไรล่ะ เค้าจะรู้อะไรดีเท่าคุณหรือ อัตตาหิอัตโนนาโถ เถิดพี่น้อง สมัยที่ผมเรียนที่รามคำแหงนะ ตอนที่สอบนี่ ไม่รู้อย่างไรก็ไม่ลอกคนนั่งข้างๆ เพราะอะไรคุณทราบมั๊ย ก็เราไม่รู้นะสิว่าคนข้างๆนั้นเค้าจะตอบถูกหรือเปล่า พึงตัวเองดีที่สุด

หมายเลขบันทึก: 189998เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2008 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท