ยามข้าวยากหมากแพงกันไปทั่วโลก


Hunger Strikes

คงไม่ถือว่าตกข่าวหากจะเขียนเรื่องข้าวยากหมากแพง เพราะได้ฟังหลายคนเล่าว่าเมืองไทยข้าวของแพงขึ้นมาก ที่อังกฤษเองก็ไม่แพ้ที่เมืองไทย ราคาข้าว นม น้ำมันพืช เนื้อสัตว์ และอีกหลายอย่าง ขยับขึ้นราคากันรายวัน

 

เมื่อคืนได้อ่านเรื่อง Hunger Strikes ซึ่งเล่าเกี่ยวกับปัญหาอาหารแพงที่เกิดขึ้นทั่วโลก มีข่าวออกมาเป็นระยะว่ามีผู้เสียชีวิตเนื่องจากขาดอาหาร จนบางคนพูดว่า "Many  more deaths are likely to occur not with the crack of gunfire but from grinding hunger." มีความช่วยเหลือจากหลายฝ่ายโดยเฉพาะประเทศที่(เรียกตัวเองว่า)พัฒนาแล้ว ทุ่มเงินจำนวนมากเพื่อช่วยเหลือด้านอาหารการกินให้แก่ประชาชนในประเทศที่(ถูกเรียกว่า)ยากจน แต่ดูเหมือนปัญหาก็ยังไม่จางลง เนื่องด้วยปัจจัยหลายอย่าง

 

ปัจจัยทั่วไปที่หลายคนพูดถึงคือ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทุกวัน, ความนิยมเริ่มปลูกพืชเพื่อทำพลังงานทดแทน ทำให้พื้นที่ปลูกพืชสำหรับใช้เป็นอาหารลดลง, ปัญหาผลผลิตตกต่ำเนื่องจากสภาพอากาศ, สภาวะแห้งแล้งในออสเตรเลียและยุโรป, ภัยธรรมชาติในหลายพื้นที่, รวมถึงความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างมากใน 2 ประเทศ(ดาวรุ่ง) คือจีนและอินเดีย

 

อีกปัจจัยที่ผู้เขียนบทความนี้กล่าวถึง ผู้เขียนเล่าย้อนไปถึงยุค The Green Revolution ในช่วงปี 1960s ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาการเพาะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้ราคาพืชผลตกลง จึงกลายเป็นว่ากว่า 40 ปี ที่คนส่วนใหญ่เคยชินกับการที่พืชผักราคาถูก เมื่อการเกษตรก้าวหน้าไปได้ดี ประเทศทางตะวันตกลดความช่วยเหลือด้านการพัฒนาการเกษตรในประเทศยากจน ถ้าดูกันตามสถิติ ในปี 1979 ความช่วยเหลืออยู่ที่ 18.7% แต่ลดลงมาเหลือเพียง 5.2% ในปี 2006 ความช่วยเหลือที่ลดลงนี้ ส่วนหนึ่งยังมาจากการศึกษาที่พบว่ามีปัญหาด้านคอรัปชันและการจัดการที่ไม่ถูกต้องเกิดขึ้นมากมาย ทำให้เกิดความกังวลว่าจะเสียเงินเปล่า

 

ส่วนวิธีแก้ปัญหาที่ผู้เขียนกล่าวถึง ก็อย่างเช่น การที่อเมริกาและประเทศในแถบยุโรป ยอมให้มีการใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต หรือยอมรับการดัดแปลงพันธุกรรม "Without those technologies, you cannot increase agricultural productivity." เมื่อผลผลิตเพิ่มขึ้น ราคาและตลาดก็จะกลับเข้าสู่สมดุล แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อย ๆ ราคาอาหารก็จะสูงขึ้นกว่า 30-40% จากราคาปัจจุบันในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้

 

สรุปคร่าว ๆ มาจาก TIME ฉบับ June 16, 2008; Hunger Strikes by Vivienne Walt

อ่านเมื่อคืนนี้เอง (20/6/2008)

ความคิดเห็นส่วนตัว: ชอบข้อมูลบางมุม เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับ The Green Revolution เพราะไม่ค่อยรู้รายละเอียดด้านนี้สักเท่าไหร่ แต่เมื่ออ่านไปจนใกล้ ๆ จบ เจอเรื่องที่อเมริกาเอาเมล็ดพันธุ์พืชที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม ไปให้แก่ชาวไร่ชาวนาในประเทศอัฟกานิสถาน หลังจากเสร็จสิ้นการสู้รบกับกลุ่มตาลีบัน แล้วทำให้ผลผลิตภายในประเทศสูงขึ้นแบบถล่มทลาย อ่านแล้วดูเหมือนผู้เขียนจะพยายามยัดเยียดว่า อเมริกันคือพ่อพระที่ช่วยให้ประชาชนในอัฟกานิสถานเจอทางสว่าง

 

หมายเลขบันทึก: 189948เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2008 06:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ตามมาดูน้อง
  • มาบอกว่า ถ้าแต่ละประเทศใช้สินค้าในท้องถิ่นไม่ฟุ่มเฟือย
  • บางทีอาจทำให้อะไรดีขึ้น
  • บ้านเราน่าจะได้เปรียบในด้านที่มีพืชทางเกษตรที่หลากหลายทางชีวภาพ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท