ประวัติศาสตร์ ตำนาน ที่มา ของคนกะเหรี่ยงสวนผึ้ง (25/5/51)


วันนี้ฉันรู้อะไรมากขึ้น และฉันก็นึกเสียดายว่าทำไมฉันไม่เคยสนใจเรื่องคนกะเหรี่ยงที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับคนไทยใหญ่เลย.

วันอาทิตย์ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

                เข้าร่วมกิจกรรมในตอนเช้าเพียงเล็กน้อย เพราะไปปริ้นงาน อาจารย์บอกว่าทีหลัง ให้ไปบอกอาจารย์หรือแบ่งตัวแทนไป ร่วมกิจกรรมด้วย ต้องแบ่งหน้าที่กันทำ

                หลังจากมื้อเที่ยงที่แสนอร่อย พวกเรามีจุดมุ่งหมายที่อำเภอสวนผึ้ง ระหว่างทางเราก็เจอรถเด็กที่มาเข้าค่ายเสีย คุณทหารที่มารับเด็กนี่สงสัยไม่ได้เช็ครถซะแล้ว สักพักใหญ่กว่ารถจะซ่อมได้

                ในที่สุดก็มาถึงบ้านอาจารย์เจริญ (ที่พักเราคะ) เรามานั่งคุยและบอกถึงจุดประสงค์ของการมาครั้งนี้ ท่านเล่า วิถีชีวิตชาวบ้านการทำงานของชาวบ้าน ว่าส่วนมากรับจ้าง เราก็งงว่าทำไมเป็นคนดั้งเดิมจริงๆแล้วไปรับจ้างคนอื่น ทำไมไม่มีที่ทำกินของตนเองหรือ ท่านบอกพวกเราว่า ตอนแรกนั้นก็เป็นที่ของชาวบ้านเอง แต่มีนายทุนเข้ามา ค้าขาย จนชาวบ้านเป็นหนี้ พอเป็นหนี้ก็เอาที่ดินไปจำนอง ในที่สุดก็ถูดยึดที่ไป และยังได้พูดถึงที่มาของปัญหาต่างๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถานะบุคคลของคนที่เข้ามาดั้งเดิมจริงๆอีกด้วย ประมาณว่า ชาวบ้านไม่ค่อยคาดหวังกับนักศึกษาเท่าไร เนื่องจากมากี่รุ่นๆก็ไม่ได้ช่วยให้ชาวบ้านแก้ไขปัญหาได้สักที ชาวบ้านจึงเบื่อที่จะตอบคำถาม เบื่อที่จะให้ข้อมูล (แง่ว) ทำให้ฉันแอบคิดในใจว่าครั้งนี้จะต้องไม่เหมือนครั้งก่อนนะ ฮึๆๆ

และเราก็พบกับอาจารย์วุฒิ บุญเลิศ ที่มาเล่าเรื่องปะกากะญอให้ฟัง ว่ากะเหรี่ยงครอบคลุมกะเหรี่ยงทุกเผ่าพันธุ์ อ่อเลย เล่าเข้าใจง่ายดี อ.วุฒิพาดูบ้านของชาวกะเหรี่ยงแบบดั้งเดิม ซึ่งป็นบ้านที่เอาไว้รับแขกที่มางานแต่ของลูกอาจารย์เจริญ หรืออาจารย์จอย บ้านกะเหรี่ยงนั้นจะมีการทำกับข้าวในตัวบ้าน ในสุดจะเป็นห้องลูกสาว ซึ่งก็เหมือนที่เราเคยดูในสารคดี หรือรายการต่างๆ พูดถึงเรื่องธงชาติของกะเหรี่ยง ว่าเวลาที่เอาธงขึ้นสู่เสานั้นจะมีนัยทางการเมือง แต่ถ้าติดกับผนังจะมีนัยในด้านวัฒธรรม และอาจารย์ก็ได้เล่าถึงที่มาของคนที่อพยพมาจากประเทศพม่า โดยเล่าถึงเหตุการณ์ประเทศพม่า พร้อมกับเปรียบกับในประเทศว่าแต่ละช่วงเกิดอะไรขึ้น เช่น พม่าวางท่อก๊าซตามแนวชายแดนของเขา จึงต้องมีการไล่ที่ชาวบ้าน และประจบเหมาะกับกองกำลังของอูนุแตก ชาวบ้านจึงเลือกที่จะหนีเข้ามาในประเทศไทย ดีกว่าที่จะต้องเอาชีวิตไปเสี่ยงกับอันตรายและความไม่สงบ เหตุนี้จึงเป็นที่มาของการสำรวจบัตรสีชมพูหรือบัตรผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าขึ้นในประเทศไทย เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีการทำ Family tree ตั้งแต่รุ่นที่เข้ามาในประเทศไทยด้วย ทำให้พวกเราคิดว่า ต้องกลับไปทำของตัวเองในละเอียดรอบคอบกว่านี้

วันนี้ฉันรู้อะไรมากขึ้น และฉันก็นึกเสียดายว่าทำไมฉันไม่เคยสนใจเรื่องคนกะเหรี่ยงที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับคนไทยใหญ่เลย

 

หมายเลขบันทึก: 189129เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2008 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นั่นจิทำไม

ทำไม

ทำไม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท