โลกร้อนและภัยพิบัติหลังพายุนาร์กีส(Nargis) โลกของเราเสี่ยงโรคอะไรเพิ่มขึ้น


ท่านศาสตราจารย์นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษาภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวในการบรรยายเรื่อง "การเปลี่ยนแปลงของโรคในภาวะโลกร้อน" ในการประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งที่ 16 ว่า

 

...

ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อโลกของเราอย่างกว้างขวาง เช่น ทำให้เกิดพายุบ่อยขึ้น และรุนแรงขึ้น ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ฯลฯ

วันนี้ขอนำผลกระทบจากภาวะโลกร้อนต่อโรคภัยไข้เจ็บมาเล่าสู่กันฟังครับ

...

ท่านศาสตราจารย์นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษาภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวในการบรรยายเรื่อง "การเปลี่ยนแปลงของโรคในภาวะโลกร้อน" ในการประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งที่ 16 ว่า

ภาวะโลกร้อนทำให้เชื้อโรคหลายชนิดแพร่พันธุ์ได้เร็วและแรงขึ้น นอกจากนั้นพาหะของโรค เช่น ยุง แมลงวัน ฯลฯ ก็ดูจะร้ายกาจขึ้นด้วย

...

ตัวอย่างหนึ่งคือ แหล่งน้ำจืดธรรมชาติ โดยเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำขัง ไม่มีทางออก หรือน้ำไหลช้า เช่น ห้วย หนอง บึง คลอง ฯลฯ อาจมีเชื้ออะมีบาที่เป็นสาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายได้เมื่อสำลักน้ำ หรือเชื้อสัมผัสกับเยื่อบุในโพรงจมูก

...

โรคที่อาจเกิดการระบาดทางอากาศได้ไกลคราวละไม่น้อยกว่า 6 กิโลเมตร คือ โรคสหายสงคราม หรือปอดบวมลีเจียนแนร์

เชื้อโรคนี้เติบโตได้ดีในน้ำอุ่นในช่วง 35-46 องศาเซลเซียส อากาศที่ร้อนขึ้นทำให้เชื้อแพร่พันธุ์ได้มากขึ้น

...

เชื้อนี้อาจเกิดการระบาดในน้ำพุประดับ เครื่องพ่นละอองน้ำฝอย เครื่องทำความเย็น (หอผึ่งเย็น) ของอาคารขนาดใหญ่

อากาศที่ร้อนขึ้นทำให้ยุงมีวงจรชีวิตสั้นลง กัดเร็วขึ้น ออกลูกเร็วขึ้น... ทีนี้ก่อนออกลูกก็ต้องกัดคนหรือสัตว์ เพื่อดูดเลือดไปเป็นอาหารบำรุงไข่ โรคจากยุง เช่น ไข้เลือดออก มาลาเรีย (ไข้จับสั่น) ฯลฯ จึงมีโอกาสระบาดมากขึ้นไปด้วย

...

อากาศที่ร้อนขึ้นทำให้แมลงเติบโตได้เร็ว โดยเฉพาะแมลงวันเติบโตได้เร็ว ทำให้เสี่ยงต่อการระบาดของโรคติดเชื้อท้องเสีย เช่น อหิวาตกโรค ฯลฯ มากขึ้น

เร็วๆ นี้สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ภัยพิบัติตามธรรมชาติอาจส่งผลกระทบต่อโรคในรูปแบบใหม่ เช่น พายุนาร์กีส (Nargis) อาจทำให้การรักษาวัณโรคในพม่าไม่ต่อเนื่อง ฯลฯ

...

องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ปี 2006 หรือ พ.ศ. 2549 พม่ามีคนไข้วัณโรคที่แพร่เชื้อได้สูง 83,000 คน ซึ่งตายไป 6,000 คนในปีเดียวกัน

องค์การแพทย์ข้ามพรมแดน (Medicins Sans Frontiers) กล่าวว่า มีการตรวจพบเชื้อวัณโรคดื้อยา (XRD / extensively drug-resisted) ในผู้อพยพลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทย

...

วันที่ 2 พฤษภาคม 2551 พายุนาร์กีสพัดเข้าพม่า ส่งผลให้มียอดคนตายและสูญหาย (ผู้สูญหายเกือบทั้งหมดคือ ตายคล้ายๆ กับผลจากซึนามิ) มากถึง 134,000 คน และมีผู้ประสบภัยที่สูญเสียญาติสนิทมิตรสหาย ตลอดจนทรัพย์สินอีกประมาณ 2.4 ล้านคน

การใช้ยารักษาวัณโรคไม่ต่อเนื่องเพิ่มโอกาสเกิดเชื้อดื้อยา ทำให้การรักษาครั้งต่อๆ ไปยากขึ้น ต้องใช้ยามากขึ้น ยาแพงขึ้น และเสี่ยงต่ออาการข้างเคียงจากยามากขึ้น

...

ผลในระยะยาวคือ อาจทำให้การรักษาวัณโรคได้ผลน้อยลง โอกาสเกิดการระบาดของเชื้อเพิ่มขึ้น

นอกจากนั้นการเกิดน้ำท่วมขังอาจทำให้ปริมาณยุงมากขึ้น... ทำให้เสี่ยงต่อการระบาดของเชื้อไข้เลือดออก และมาลาเรีย (ไข้จับสั่น) เพิ่มขึ้น

...

ผู้เขียนมีโอกาสไปทำบุญที่พม่าในระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม - 8 มิถุนายน 2551 ซึ่งเป็นช่วงหลังพายุนาร์กีสพอดี เจอยุงย่างกุ้งกัดแล้วกัดอีกมาแล้ว

ยิ่งนุ่งโสร่ง... ยุงยิ่งชอบ เนื่องจากธรรมชาติของยุงชอบอะไรที่คล้าย "ถ้ำ" และโสร่งพม่าสีเข้มๆ มีลักษณะคล้ายถ้ำเป็นอย่างยิ่ง

...

ผ้าไตรจีวรที่นำไปทำบุญมีชุดหนึ่งโฆษณาว่า เคลือบสมุนไพรกันยุงด้วย ผ้าแบบนี้คงจะเหมาะกับยุคโลกร้อนและยุงชุมมากเป็นพิเศษ

เรียนเสนอให้พวกเรานอนกางมุ้งทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน เพื่อป้องกันโรคจากยุง โดยเฉพาะเจ้ายุงลายที่นำเชื้อไข้เลือดออกนี่ชอบกัดกลางวัน

...

เวลาเดินทางไปไหน ไม่ว่าจะขึ้นเหนือหรือล่องใต้ อย่าลืมพกพายาทาป้องกันยุงไปด้วย เพื่อความปลอดภัย

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                  

  • ขอขอบพระคุณไทยรัฐ > หมอใหญ่เตือน "อะมีบา" แพร่พันธุ์เพิ่มขึ้น > 14 มิถุนายน 2251. หน้า 15.
  • Thank Reuters > Laura MacInnis. Caroline Dress ed. > Cyclone raises tuberculosis risks in Myanmar: WHO > [ Click ] > June 10, 2008.

 

  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU) โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > 14 มิถุนายน 2551 > 16 มิถุนายน 2551.
หมายเลขบันทึก: 188614เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2008 20:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท