การใช้ราเชื้อไตรโคเดอร์มาในแปลงปลูกแตงกวา


เชื้อราไตรโคเดอร์มา

บันทึกการถ่ายทอดความรู้ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงบ้านท่านหญิง (ศูนย์เครือข่าย)

ณ ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง (ศูนย์เครือข่าย) หมู่ที่ 1 ต.ตะกุกเหนือ

วันที่ 6 มิถุนายน 2551

บันทึกโดย นางสาวสุมนรัตน์  ตรึกตรอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร

 

การใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาในแปลงผัก (เชื้อสด)

กิจกรรมที่ 1 ความหมายและการใช้ประโยชน์

1. เชื้อราไตรโคเดอร์มา คือ เชื้อราชั้นสูงที่เจริญเติบโตได้ดีในดินเศษซากพืชซากสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ รวมทั้งจุลินทรีย์ และวัสดุอินทรีย์ตามธรรมชาติ เป็นเชื้อราปฏิปักษ์หรือเชื้อราที่เป็นศัตรูต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุโรคพืชหลายชนิดได้ โดยมีกลไกในการต่อสู้กับเชื้อสาเหตุโรคพืช

2. ประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา เช่น ช่วยลดกิจกรรมของเชื้อโรคพืช ช่วยลดปริมาณเชื้อโรคพืช ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตของพืช และช่วยเพิ่มความต้านทานโรคของพืช

สามารถควบคุมราที่ทำให้เกิดโรคพืชได้หลายชนิด เช่น

1.      เชื้อราพิเทียม ทำให้เกิดรากเน่า โคนเน่า โรงยอกเน่าของต้นกล้าในพืชไร่

2.      เชื้อราไฟท็อปเทอร่า ทำให้เกิดรากเน่าโคนเน่าในไม้ผล

3.      เชื้อสคลอโรเทียม ทำให้เกิดโรคกล้าไหม้ ราเม็ดผักกาด โรคเหี่ยวในพืชผัก

4.      เชื้อราฟิวซาเรียม ทำให้เกิดโรคเหี่ยวในไม้ดอก

5.      เชื้อราไรซ็อกโตเนีย ทำให้เกิดโรคเน่าคอดินในพืชผัก

 

 

กิจกรรมที่ 2 การใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาและการปฏิบัติในแปลงปลูกแตงกวา

1. วิธีการใช้เชื้อราไตโคเดอร์มา (ชนิดเชื้อสด)

          วิธีที่ 1  ใช้เชื้อกับปุ๋ยอินทรีย์

(1) เตรียมเชื้อราไตรโคเดอร์มา ผสม รำข้าวละเอียด ผสมปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก) ในอัตราส่วน คือ เชื้อราไตรโคเดอร์มา : รำข้าว : ปุ๋ยอินทรีย์ เท่ากับ 1 : 10 : 40  โดยน้ำหนัก หรือในกรณีที่มีเชื้อไม่เพียงพอใช้อัตราส่วน 1 : 4 : 100    

                                    (2) ตักแบ่งรำข้าวส่วนหนึ่งใส่ลงในถุงเชื้อสดแล้วคลุกเคล้ากับเชื้อให้ทั่ว

                        (3) นำถุงเชื้อที่คลุกด้วยรำข้าวแล้ว ลงไปเทในรำข้าวที่เหลือต่อจากนั้นคลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างทั่วถึง ได้ส่วนผสมรวม 11 กิโลกรัม (1+10)

                        (4) นำส่วนผสมของเชื้อสดและรำข้าวละเอียด (11กิโลกรัม) ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ (40 กิโลกรัม) คลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างทั่วถึง อาจพรมน้ำให้พอชื้น เพื่อลดการฟุ้งกระจายแบ่งส่วนผสมใส่ภาชนะนำไปใช้หว่านหรือโรยลงบนแปลงปลูกพืช หรือ           โรยบริเวณโคนต้นพืชด้วยอัตรา 10-20 กรัมต่อต้น หรือหว่านลงแปลงอัตราส่วน 50-100 กรัมต่อตารางเมตร หรือผสมกับดินรองหลุมปลูกพืช

            วิธีที่ 2  ใช้เชื้อผสมน้ำ (กรณีที่ไม่สะดวกในการจัดหาปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกและรำข้าว)

                             (1) เตรียมเชื้อสดไว้ผสมกับน้ำ ในอัตราส่วน เชื้อสด 200-250 กรัม (1 ถุง) ต่อน้ำ 50 ลิตร โดยนำเชื้อสด 1 ถุง (250 กรัม) เติมน้ำลงในถุง 300 มิลลิเมตร หรือพอท่วมตัวเชื้อแล้วขยำเนื้อข้าวให้แตกออกจนได้น้ำเชื่อสีเขียวเข้ม

                                    (2) กรองน้ำเชื้อด้วยผ้าหรือกระชอนตาถี่ล้างกากที่เหลือบนกระชอนตาถี่ล้างกากที่เหลือบนกระชอนด้วยน้ำอีกจำนวนหนึ่ง จนเชื้อที่กรอกได้กรองได้มาเติมน้ำให้ครบ 50 ลิตรก่อนนำไปใช้

                                    (3) นำน้ำเชื้อที่เตรียมได้ฉีดพ่นลงดินบริเวณรอบโคนต้นพืชหรือตรงโคนต้นพืชด้วยอัตรา 10-20 ลิตรต่อ 100 ตารางเมตร  ส่วนเมล็ดข้าวที่อยู่บนกระชอนสามารถใช้คลุกกับรำข้าวหรือปุ๋ยอินทรีย์ แล้วนำไปหว่านลงแปลงปลูกหรือโคนต้นพืชได้

2. ข้อควรระวังในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา

1.      ไม่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในบริเวณที่แฉะ

2.      ไม่ควรใช้สารเคมีในแปลงที่มีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา

3.      ไม่ควรใช้ยาฆ่าเชื้อราในแปลงที่มีการใช้ราไตรโคเดอร์มา

4.      ควรฉีดพ่นน้ำเชื้อสดในเวลาแดดอ่อนหรือเวลาเย็น กรณีดินแห้งมาก ควรให้น้ำพอให้ดินมีความชื้นเสียก่อน

5.      ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาก่อนหรือหลังการหว่านปุ๋ยเคมี 3-5 วัน

6.   การฉีดพ่นสารเคมีควบคุมโรค แมลงศัตรูพืช และวัชพืช เหนือพื้นดิน ไม่มีผลกระทบต่อเชื้อราไตรโคเดอร์มา แต่อาจมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อระยะหนึ่ง

7.   ควรใช้เศษหญ้าหรือเศษใบไม้หรือวัสดุต่าง ๆ คลุมผิวดินเพื่อรักษาความชื้นในดินได้เพื่อให้เชื้อเจริญเติบโตได้ดีและอยู่รอดในดินได้นาน

    

นางสาวสุมนรัตน์  ตรึกตรอง

นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร

สำนักงานเกษตรอำเภอวิภาวดี

หมายเลขบันทึก: 186494เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2008 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

หวัดดีครับ

  • หัวเชื้อสด หายากมั๊ย
  • และ ถ้าใช้กับพืชอื่น ละ

ขอบคุณค่ะที่นำเรื่องดีๆ มาฝาก

หวัดดีค่ะ

  • ปีนี้เกษตรกรปลูกแตงกวากันเยอะไหม
  • ถ้าไม่มีหัวเชื้อสด ใช้ พด.3 ของพัฒนาที่ดินก็ได้นะ ตอนนี้พัฒนาที่ดินเพิ่มประสิทธิภาพเป็นซุบเปอร์ พด.แล้วนะ

หวัดดีค่ะ

เป็นอย่างไรบ้างที่ทำงานใหม่

สาๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ขอบคุณครับที่ให้ความรู้

ขอบคุณมากค่ะ ขออนุญาตนำไปเผยแพร่นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท