เมื่อพยาบาลเยี่ยมบ้านเจอเคสDM+TB


แค่เบาหวานจะคุมให้ได้ยังยากแล้วนี่ยังจะแถมวัณโรคให้อีก ใครมีไอเดียดีๆช่วยเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนนะคะ

ทีมนิพัทธิ์สงเคราะห์โดยคุณรำภาภรณ์  หอมตีบ ได้นำประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย DM ที่ติดเชื้อ TB ด้วยมาแลกเปลี่ยนกันในห้องวิชาการบ่ายวันศุกร์ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหาดใหญ่
การดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดที่เป็นเบาหวาน
ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย
หญิงไทย  สถานภาพสมรส  แยกกันอยู่  อายุ  44 ปี
ศาสนาพุทธ   ระดับการศึกษา จบชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6
อาชีพค้าขาย (ขายน้ำดื่ม)
อาการสำคัญ
ไข้ ไอ เจ็บหน้าอกด้านซ้าย หายใจหอบเหนื่อย เป็นมา 2 สัปดาห์
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
6 ปีก่อน เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน
4  เดือนก่อน  ไข้ ไอมีเสมหะ หายใจเหนื่อยเจ็บหน้าอกด้านซ้าย  ไปโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่แพทย์บอกว่าเป็นวัณโรคปอด  และให้ยาวัณโรคมารับประทาน  รับประทานยาได้ 2 เดือน ผลเสมหะ 1+ ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากและปวดเมื่อยตามตัวมากจนนอนไม่หลับ ผู้ป่วยไม่อยากรักษาต่อจึงหยุดยาและไม่ไปพบแพทย์ตามนัดอีก
    ประวัติการรักษาวัณโรค ใช้สูตร CAT 2(2HRZES/1HRZE/5HRE)
 - Isoniazid (INH 100) รับประทานครั้งละ 3 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
 - Rifampicin (R450) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
 - Pyrazinamide(Z500)รับประทานครั้งละ 2  เม็ด ครึ่งวันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
 - Ethambutol(E400) รับประทานครั้งละ 2 เม็ดครึ่ง วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
 - streptomycin  750 มิลลิกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อวันละ 1 ครั้ง
 - B 1- 6- 12  1 เม็ด  วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร 
การรักษาDM
 Mixtard
 20 u sc  เช้า
 14 u sc เย็น
          การประเมินillness
Idea คิดว่าเป็นโรคที่รักษาได้
Feeling  กลัวแพ้ยา กังวลเป็นหลายโรค
Function  ทำงานได้  แต่มีอาการเพลียอยู่
Expectation  อยากให้หาย 
การติดตามเยี่ยมบ้าน
ครั้งแรกไปเยี่ยมผู้ป่วยไม่อยู่บ้าน ยังคงทำงานขายน้ำที่ตลาด  โดยเริ่มตั้งแต่เที่ยงวันถึงเที่ยงคืน  ช่วงเช้า ไปซื้อของและเตรียมของสำหรับขาย เจอแม่ผู้ป่วยอยู่บ้าน จากการพูดคุย
พบว่าผู้ป่วยผ่านประสบการณ์ที่ไมดี
  …มีอาการแพ้ยา ไม่ได้รับการแก้ไข
 … อยากเจอหมอ แต่ไม่ได้เจอ
 … พยาบาลต้องการให้ผู้ป่วยฉีดยาเบาหวานเอง คำพูดซ้ำซากในขณะที่ผู้ป่วยไม่พร้อมจะฉีดยาด้วยตนเอง
ความท้าทาย  ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยยอมกลับเข้าสู่ระบบการรักษาและยอมรับการรักษาวัณโรคต่อเนื่อง  จนผลการรักษา cure 
      ได้ทดลองเอาทฤษฎีการดูแลของวัตสันมาปรับใช้
โครงสร้างสำหรับศาสตร์ทางการดูแล  ประกอบด้วย10 ปัจจัยของการดูแลดังต่อไปนี้
        1.การสร้างระบบการให้คุณค่าความมีมนุษยธรรม
        2. การสร้างและคงไว้ของความศรัทธาและความหวัง
        3.ความไวต่อความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น
        4. การส่งเสริมและการยอมรับการแสดงความรู้สึกที่เป็นทั้งทางบวกและลบ
        5.การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบตามหลักวิทยาศาสตร์
        6. ส่งเสริมการสอนและการเรียนรู้ระหว่างบุคคล
        7.การสนับสนุน การปกป้อง และการแก้ไข สิ่งแวดล้อมทางกาย จิต สังคมวัฒนธรรม และจิตวิญญาณ 
        8. การช่วยเหลือตามความต้องการของมนุษย์
        9.การเข้าใจคนจากสิ่งที่ปรากฏอยู่ในความเป็นตัวเขา
       10.การพัฒนาการช่วยเหลือ – ความไว้วางใจ 
สิ่งที่ได้เรียนรู้
“หยุดยาฉีด เบาหวาน ตั้งแต่ยาฉีด วัณโรคหมด เพราะว่าถ้าไปฉีดยาเบาหวานอย่างเดียวที่รพ.  มักจะมีคนทักว่าให้ฉีดเอง  แต่ผู้ป่วยยังไม่กล้าฉีดเอง” 
 3 มค 51
สรุปผลการดูแล
จากน้ำหนักตัว 41 กิโลกรัม เพิ่มเป็น 46 กิโลกรัม
ผลเสมหะ เป็นลบในเดือนที่ 3                                                                                         ผลเอ็กชเรย์ปอดปกติ
สัมพันธภาพระหว่างผู้ให้-ผู้ใช้บริการ ดีขึ้นมาก
เป็นผู้ป่วยรายแรก ที่ได้รับการจัดยาเป็นdaily dose โดยความร่วมมือจากเภสัชกร
สามารถฉีดยาเบาหวาน  เจาะเลือดปลายนิ้วตรวจน้ำตาลได้ด้วยตนเอง

จริงๆยังมีรายละเอียดอีกเยอะ  ถ้าอ่านแล้วสดุดอยากทราบจุดไหนเพิ่มเขียนมาถามได้คะจะให้ทีมเจ้าของเคสเล่าขยายให้คะ

หมายเลขบันทึก: 186377เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2008 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

วันสิ่งแวดล้อมโลก : 5 มิถุนายน ของทุกปี

3331

  • แวะมาเยี่ยมครับพี่แมว
  • สบายดีนะครับ

เป็นพยาบาลMed...ค่ะ จากประสบการณ์พบว่า ในผู้ป่วย TB ที่ไม่ยอมกินยา เพราะจำนวนยาเยอะมาก Dose hs. ต้องกินถึง 8 เม็ด ทำให้ผู้ป่วยไม่อยากกินยา และside effect ของยา TB ขนาดเป็นคนไม่เจ็บป่วย...กินเข้าไปยังแทบแย่(เคยโดนกิน Rifam.เพราะไป contract กับผู้ป่วยไข้กาฬหลังแอ่น(เขมร)แค่ dose เดียว..ยังต้องลาป่วยวันต่อมาเลยค่ะ)ลองให้ผู้ป่วยแบ่งกินยา TB เป็นคนละเวลา เช่น เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน ยาแต่ละชนิดก็จะได้กินครบเหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนให้เป็นภายใน 24 ชม. แทนที่จะกระหน่ำให้กินช่วง hs. อย่างเดียว วิธีนี้จะทำให้รู้สึกว่ายามีจำนวนไม่มาก ส่วนยาที่มี side effect มากๆ ก็เอามาไว้กินก่อนนอน ส่วน side effect น้อยๆ ก็เอามากินเช้าหรือกลางวัน ตอนกลางวันผู้ป่วยจะสามารถทำงานได้ตามปกติด้วยค่ะ วิธีนี้น้องๆพยาบาลที่เป็นTB ก็กินแบบแบ่ง dose ให้ครบภายใน 24 hr.แบบนี้เหมือนกัน ก็ยังสามารถขึ้นเวร ช-บ-ด ได้ในระหว่างกินยารักษา ลองใช้กับผู้ป่วยรายนี้ดูนะคะอาจได้ผล

สวัสดีน้องอำนวยพี่ก็ติดตามผลงานน้องอยู่แต่ยอมรับว่าไม่ค่อยทันเพราะน้องก้าวหน้าเร็วมากขอชื่นชมคะ

แล้วก็ขอบคุณน้องกะวานมากคะ(มีพี่ชื่อกานพลูหรือเปล่านี่) เรื่องแบ่งยากินแทนการกินมื้อเดียวพี่จะเอาไปบอกต่อๆกันคะผลการรักษาจะได้สำเร็จเนอะ

อ่านแล้วรู้สึกว่าคนไข้ส่วนใหญ่ ไม่ค่อยยอมปรับพฤติกรรมตัวเอง จะรอหวังพึ่งยาอย่างเดียวอาจเป็นเพราะว่าได้รับยามาโดยไม่ต้องจ่ายเงินถือว่าได้มาง่ายๆ และง่ายต่อการดูแลตัวเอง(คนไข้มีบัตรทอง ,ประกันสังคม เป็นต้น)คิดว่าควรส่งเสริมเรื่องการปรับพฤติกรรม ป้องกันดีกว่ารักษานะ (แต่ทำยากจังเลย ท้อเสียแล้วนะ )

แต่ก็ขอบคุณเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่ดูแลนะคะ

หนูเป็นนักศึกษาพยาบาลคร้า ตอนนี้หนูกำลังทำเคส studyเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หนูเจอของพี่DM TB ค่ะหนูอยากศึกษาเพิ่มแต่ไม่มีแร้วค่ะ พี่พอจะมีข้อมูลอีกหรือป่าวคร้า ช่วยหนูหน่อยน้าคร้า ขอบคุณที่สร้งwepนี้ขึ้นมา ช่วยนู๋ได้มากเลยคร้า

น้องนู๋นา แนะนำตัวเองหน่อยสิคะ เรียนที่ไหน ปีอะไรแล้วคะ พี่ที่จะให้ข้อมูลได้ให้ถูกว่าควรให้รูปแบบใด รูปแบบข้างบนเป็นข้อมูลการทำงานจริงๆในชุมชนคะ ถ้าเป็นตัวทฤษฎีอาจต้องพึ่งText book

สวัสดีค่ะ พี่แมว(ขออนุญาติเรียกนะคะ เห็นชื่อพี่จากcommentอื่นน่ะค่ะ) ต้อมได้อ่านblog "เมื่อพยาบาลเยี่ยมบ้านเจอเคสDM+TB" ของพี่แล้วก็สนใจมากเลยค่ะ อยากได้คำแนะนำบ้างค่ะ ตอนนี้ น้าของต้อมป่วยเป็นเบาหวานที่ติดเชื้อ TBด้วย น้าเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการไข้สูง พบว่าติดเชื้อ TB หมอฉีดยาฆ่าเชื้อ ให้ยา TB และน้ำเกลือค่ะ ก็ยังคงทานอาหารไม่ค่อยได้ มากสุดมื้อละ2-3คำ ทานร่วมกับผลไม้ พอไม่มีไข้หมอก็ให้กลับบ้าน มาอยู่บ้านได้ 2อาทิตย์แล้วค่ะ แต่อาการก็ไม่ดีขึ้นเลยค่ะ น้าก็ยังทานอะไรไม่ได้ ทานแล้วอาเจียนเหมือนเดิม ซึ่งเป็นอย่างนี้มา 2 เดือนแล้วค่ะตั้งแต่เข้าโรงพยาบาล แล้วตอนนี้ก็อ่อนเพลียมากเลยค่ะ น้าคิดมากจากการทานยาเยอะๆ ค่ะ แต่ทุกวันนี้ก็ทานได้แต่ยา ทานข้าวไม่ได้ ให้ทานวิตามินรวมก็ผื่นขึ้นค่ะ แม่เครียดมากค่ะ ต้อมก็ไม่ทราบจะทำอย่างไรดีค่ะ ถ้าproject ที่พี่ทำมีdocumentเก็บไว้ ต้อมก็อยากได้มาศึกษาเป็นแนวทางน่ะค่ะ เผื่อจะสามารถมาปรับใช้ได้บ้าง หรือเป็นคำแนะนำโดยตรงจากพี่ค่ะ ข้อมูลเบื้องต้นเป็นเพียงคำบอกเล่าของแม่และญาติๆ นะคะ ถ้าพี่อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อแนะนำ ช่วยส่งมาที่ [email protected] ต้อมคงไม่ได้รบกวนพี่เกินไปนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

ตอบน้องต้อม น้องเป็นคนดูแลน้าเองหรือเปล่าคะ ผู้ป่วยมักท้อแท้ ซึมเศร้าแค่เบาหวานอย่างเดียวก็ลำบากแล้วยังมาโดนTBเล่นงานอีกนี่คือสิ่งที่ผู้ป่วยมักคิด สิ่งแรกที่ต้องทำคือเปลี่ยนความคิดผลักความท้อแท้ออกไปให้ได้ต้องบอกคนไข้บ่อยๆว่ายังโชคดีที่ป่วยเป็นโรคที่มียารักษา โรคTBรักษาให้หายขาดได้ถ้ากินยาได้ครบและช่วงแรกจะมีผลข้างเคียงจากยาที่ทำให้คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ปัจจุบันน้ากินยากี่ตัวเวลาใดบ้างการจัดเวลายาที่เหมาะสมจะช่วยลดผลข้างเคียงเรื่องคลื่นไส้ได้ เช่นกินพร้อมอาหาร หรือกินก่อนนอนต้องดูรายละเอียดของตัวยาที่ได้รับอยู่ และการปรึกษาแพทย์ที่รักษาประจำเพื่อขอยาบรรเทาอาการคลื่นไส้ก็เป็นทางออกหนึ่ง หากกินอาหารได้น้อยต้องปรับรูปแบบของอาหารเช่นน้ำฟักทอง น้ำงาดำ นมถั่งเหลือง น้ำธ้ญพืชอื่นๆฯลฯที่ไม่เติมน้ำตาลหากติดรสหวานให้ใส่น้ำตาลเทียมให้ความหวานแทน ไว้ได้ข้อมูลเพิ่มแล้วเข้ามาถามพี่ใหม่ได้คะ

อยากได้แนวคำถามที่ใช้ในการประเมินผู้รับบริการค่ะ มีตัวอย่างบ้างไหมคะ

  เรียนคุณ จินตนา

ต้องการแนวคำถามที่ใช้ในการประเมินผู้รับบริการที่เป็น DM+TB  ไช่หรือเปล่าคะ

ถ้าเยี่ยมบ้านเราก็ใช้  INHOMESS  และการประเมินคุณภาพชีวิต  เรื่อง DM ก็ประเมินตามมาตรฐานการดูแลPt DM ขอสปสช.หรือของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ส่วน TB ก็ตามมาตรฐานการดูแลผู้ติดเชื้อTBของกรมควบคุมโรคติดต่อ ถ้าคนไข้มีbed ridden ก็ประเมินความเสี่ยงเรื่องแผลกดทับ ซึ่งทั้งหมดsearch ได้คะมีคนเขียนไว้เยอะ

สวัสดีค่ะพี่แมว หนู เจี๊ยบ เป็นพยาบาลที่โรงพยาบาลท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ดูแลผู้ป่วยห้องแยกโรค ขออนุญาตปรึกษา คือว่าหนูกำลังมองหัวข้อทำ C7 ประมาณว่าสนใจการดูแลด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยกลุ่ม TB ที่มีปัญหาโรคเรื้อรัง และรับยาประมาณ 4 เดือนแล้วยังเจอ AFB 3+ หนูจะเริ่มต้นอย่างไรดีค่ะ จะต้องศึกษาเรื่ออะไรบ้างค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีคุณใบไม้

ถ้าเป็นพยาบาลPCU ก็ต้องประเมินINHOMESSSก่อน แล้วว่าไปตามแต่ละปัญหา ส่วนด้านจิตวิญญานก็อาจใช้ FICA ลองเข้าไปศึกกษาดูที่ http://www.dlfp.in.th/upload/forum/spiritualhistory.pdf อาจารย์ หมอกฤษณะ เขียนไว้ละเอียดดีอยู่แล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท