"คุณธรรม นำชีวิตนักส่งเสริมการเกษตร" @@@@ ส่งเสริม หอมกลิ่น


"คุณธรรม นำชีวิตนักส่งเสริมการเกษตร" @@@@ ส่งเสริม หอมกลิ่น

 "คุณธรรม นำชีวิต "  

ความหมายของคุณธรรมและคุณธรรมต่างๆที่เป็นคุณธรรม ซึ่งหมายถึง ความดีงามในจิตใจ ซึ่งทำจนเคยชิน  ประพฤติดี  ที่จะนำคนเราให้คิดดี ประพฤติดี และจากการที่คนเราคิดดี ประพฤติดี จะนำมาสู่ตนเอง ครอบครัว  สังคม  ให้เป็นสุขและ  มีสันติสุข
           คุณธรรมต่างๆนั้นมีอยู่มากมายเราเองต่างก็ยึดมาเป็นคุณธรรมประจำใจกันอยู่  แต่บางครั้งเราอาจจะหลงลืมไปบ้าง  คุณธรรมที่นำเสนอนี้สำหรับระลึกหรือทบทวน เตือนสติให้เรา  คิดดี  ประพฤติดี  อย่างน้อยก็ทำให้เราเอง มีความสุขแน่นอน

    คุณธรรมต่างๆนั้น ที่เราอาจจะนำมาเป็นข้อคิดเตือนใจนั้น ซึ่งได้นำเสนอไว้หลายแนวดังนี้

     คุณธรรมหลัก 4 ประการ ตามแนวคิดของ  อาริสโดเติล  มีความหมายดังนี้

           1. ความรอบคอบ หมายถึง การเล็งเห็นหรือหยั่งรู้ได้ง่าย และชัดเจนว่าอะไรควรประพฤติ อะไรไม่ควรประพฤติ

           2. ความกล้าหาญ หมายถึง การกล้าเสี่ยงต่อการเข้าใจผิด กล้าเผชิญต่อการใส่ร้ายและการเยาะเย้ย เมื่อมั่นใจว่าตนกระทำความดี

           3. การรู้จักประมาณ หมายถึง การรู้จักควบคุมความต้องการและการกระทำต่างๆให้อยู่ในขอบเขตอันควรแก่สถานภาพและฐานะของบุคคล ไม่ให้เกินความจำเป็นตามธรรมชาติ ไม่ให้ก้าวก่ายสิทธิอันชอบธรรมของผู้อื่น

           4. ความยุติธรรม หมายถึง การให้แก่ทุกคนและแต่ละคนตามความเหมาะสม ซึ่งจะต้องระลึกว่าเรามีกำลังให้เท่าใด ควรให้แก่ใครเท่าใดและอย่างไร อาจกล่าวได้ว่าความยุติธรรมเป็นแก่นของคุณธรรมอื่นๆ  หลายประการ ซึ่งคุณธรรมอื่นนั้นๆเป็นเพียงแง่ต่างๆของความยุติธรรมนั่นเองผู้มีความยุติธรรมสูงย่อมเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมต่างๆมากมาย

   คุณธรรม 8 ประการ คือ

          1.  เป็นผู้มีศรัทธา (ความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ)

          2.  เป็นผู้มีศีล(การประพฤติดี ประพฤติชอบ ไม่ประพฤติชั่ว)

          3.  เป็นผู้มีการศึกษาอบรมดี

          4.  เป็นผู้มีการสละให้ปัน

          5.  เป็นผู้มีความเพียร

          6.  เป็นผู้มีสติ(ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี)

          7.  เป็นผู้มีสมาธิ(ความมีจิตใจตั้งมั่น ไม่วอกแวก)

          8.  เป็นผู้มีปัญญา

  กัลยาณมิตรธรรม ซึ่งมี 3 หมวด ได้แก่ สังคหวัตถุ 4  ฆราวาสธรรม4 และ สัปปุริสธรรม 7

         สังคหวัตถุ 4  ( คุณธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจผู้อื่น) ได้แก่

            1. ทาน คือ การสละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน

            2.  ปิยวาจา คือ การพูดจาอ่อนหวาน

            3.  อัตถจริยา คือ การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

            4.  สมานัตตตา คือ ความเป็นคนมีตนเสมอ วางตัวเหมาะสมเสมอต้นเสมอปลายไม่ถือตัว

       ฆราวาสธรรม 4  (คุณธรรมสำหรับผู้ที่ไม่ใช่นักบวช) ได้แก่

            1.  สัจจะ คือ ความซื่อสัตย์ต่อกัน

            2.  ทมะ คือ การรู้จักข่มจิตของตน เช่น ยับยั้งใจไม่ให้ทำชั่ว ไม่โกรธ เป็นต้น

            3.  ขันติ คือความอดกลั้น เช่น ทนต่อความอยาก ในทางที่ไม่ดี ทนต่อความเย้ายวนเย้ยหยัน หรือการล่วงเกินของคนอื่น เป็นต้น

           4.  จาคะ คือ การสละให้ปันแก่คนที่ควรให้

       สัปปุริสธรรม 7  ( คุณธรรมของสัตบุรุษ คือคนที่น่านับถือ) ได้แก่

           1.  ความเป็นผู้รู้จักเหตุผล รู้ว่าสิ่งใดเป็นเหตุแห่งสุข สิ่งใดเป็นเห็นแห่งทุกข์

           2.  ความเป็นผู้รู้จักผล รู้ว่าสุขเป็นผลจากเหตุนี้ ทุกข์เป็นผลจากเหตุนั้น

           3.  ความเป็นผู้รู้จักตน รู้ว่าตนเป็นใคร อยู่ในฐานะใด และประพฤติตนให้สมควรแก่ฐานะที่เป็นอยู่อย่างไร

           4.  ความรู้จักประมาณ เช่น รู้จักประมาณในการหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบและรู้จักประมาณในการบริโภค

           5.  ความรู้จักกาลเวลาอันสมควรในการประกอบกิจต่างๆ

           6.  ความรู้จักหมู่ชนและกิริยาที่ควรประพฤติต่อหมู่ชนนั้นๆ ว่าควรประพฤติอย่างไร

           7.  ความรู้จักเลือกบุคคลว่าใครเป็นคนดีควรคบ ใครเป็นคนไม่ดีไม่ควรคบ

นอกจากนั้นยังมีคุณธรรมของผู้ใหญ่เหนือผู้บริหาร คือ  พรหมวิหาร 4 ได้แก่

           1.  เมตตา คือ ความคิดปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข

           2.  กรุณา คือความคิดปรารถนาจะให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

           3.  มุทิตา คือ การยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ดี

           4.  อุเบกขา คือการวางเฉย ไม่ดีใจ เสียใจเมื่อผู้อื่นวิบัติ

          โดยแท้จริงแล้วเราทุกคนมีคุณธรรมประจำ  ที่ถูกปลูกฝังและเรียนรู้มาแล้วมากมาย แต่บางครั้งเราอาจจะหลงลืมไปบ้าง  ซึ่งเป็นธรรมดาของคน  ขอให้เราระลึกในคุณธรรมไว้เสมอ  เมื่อใดลืมพยามสงบจิตและตั้งสติให้มั่นที่จะระลึกถึงและยึดถือปฏิบัติ  เพื่อตัวเรา นั่นเอง

******************


แหล่งที่มา เอกสารประกอบกิจกรรม คุณธรรม คุณธรรมของผู้บริหารที่พึงมีในทัศนะของท่าน มสธ.    เอกสาร

โดย...สะแกกรัง

หมายเลขบันทึก: 186365เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2008 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

วันสิ่งแวดล้อมโลก : 5 มิถุนายน ของทุกปี

3331

ขอบคุณค่ะที่นำเรื่องราวดีๆ มาฝาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท