เพลงอีแซวนักเรียน แหล่งเรียนรู้ปรากฏร่องรอยในสิ่งพิมพ์ ตอนที่ 1


การบันทึกและเผยแพร่ทางสิ่งพิมพ์ตั้งแต่จุดเริ่มต้น การจัดเก็บเอาไว้นานกว่า 25 ปี ล่วงมาแล้ว ถึงแม้ว่าจะเก่าแต่ก็ยังมีคุณค่าต่อการติดตามค้นหาร่องรอยของคนเล่นเพลงที่สร้างสรรค์ผลงานด้วยกลอดสดอย่างต่อเนื่องกันมาจนถึงในยุคปัจจุบัน

 

เพลงอีแซวนักเรียน

โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1

สพท. สุพรรณบุรี เขต 2

(ตอนที่ 1) แหล่งเรียนรู้เพลงพื้นบ้าน ปรากฏร่องรอยในสิ่งพิมพ์

ตลอดระยะเวลา 17 ปี (พ.ศ. 2535- พ.ศ. 2551)

 

          วันนี้ ผมขอนำเอาร่องรอยที่ปรากฏจากสื่อสารมวลชนในอดีตที่ผ่านมานำเสนอเพื่อประโยชน์ทางการสืบค้น เพื่อการเรียนรู้จากความจริง เรื่องจริง ๆ ที่ปรากฏมายาวนานถึง 17 ปี กับคำว่า เพลงพื้นบ้าน 19 อย่างที่ผมเรียนรู้ฝึกปฏิบัติ ทำการแสดงจริงบนเวทีลานดินจนถึงเวทีการแสดงที่สวยสดอลังการ ณ สถานที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ผมอายุได้ 8-9 ปี จวบจนมาถึงบัดนี้ 57 ปี ชีวิตการร้องเพลงจึงเป็นส่วนหนึ่งของผมไปโดยอัตโนมัติ  ผมนำเอาประสบการณ์ การแสดงสดบนเวทีในสถานที่ต่าง ๆ มาถ่ายทอดลงบนกระดาษ รวมทั้งกระดาษอีเล็คทรอนิกส์ ผู้อ่านสามารถที่จะเรียนรู้ได้ ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นทางเลือกที่ดีกว่า มายังผู้นำเสนอบทความได้  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมานานนับปี

 

          ท่านผู้อ่านบางท่านตัดพ้อว่า ผมเห็นแก่ได้ นำเอาเนื้อเพลงฉ่อยมาลงเพียงนิดเดียว จะเอาไปทำรายงานสักหน่อย ไอ้.........ไม่มีเลย ความจริงถ้าเปิดให้ครบทุกบล็อกจะว่าแต่เอามันสมองของผมไปทำรายงานเลย เอาเพลงฉ่อยไปเล่นเป็นชั่วโมงยังได้เลย ผมลงบทเพลงฉ่อยเอาไว้มาก แต่มิได้นำเอามาเสนอไว้ในกระจุกเดียวกัน  เนื้อเพลงถูกนำเสนอตามเหตุการณ์ด้วยท่วงทำนองและลีลาที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง จึงทำให้ท่านผู้อ่าน ท่านนั้นไม่ได้ในสิ่งที่เขาต้องการ

 

          ท่านผู้หวัง (ไม่) ดี สอนผมว่า ทำไปทำไม ไอ้........ว์ ...มึ........ไปจนตายไง ผมได้อ่านแล้วจัดเก็บข้อมูลเอาไว้ แต่ได้ลบความเห็นออกไปแล้ว เพราะไม่อยากให้เด็ก ๆ ที่เรียนรู้ผ่านสื่ออีเล็คทรอนิกส์ต้องอ่านความเห็นในเชิงลบที่มีต่อคนทำงานจริง ๆ มายาวนานเกือบตลอดชีวิต  ผมให้เด็ก ๆ สืบค้นเรื่องราวในการเรียนรู้จากเว็บไซต์ gotoknow.org ในทุกเรื่องที่ผมกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเอาไว้ มิใช่แค่ศึกษา หาความรู้เฉพาะเรื่องของเพลงพื้นบ้านหรือเพลงอีแซวเท่านั้น

 

          ในตอนที่ 1 นี้ ผมจึงขอยกเอาเรื่องราวของการแสดงศิลปะท้องถิ่น เพลงอีแซวที่ผมได้นำคณะนักเพลงไปแสดงความสามารถบนเวทีการแสดง ได้ทำการบันทึกและเผยแพร่ทางสิ่งพิมพ์ตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่ผมได้หลักฐานจัดเก็บเอาไว้ (บางบทความก็ไม่ทันได้เก็บ) บางเอกสารก็เก่ามาก ๆ นานกว่า 25 ปี ล่วงมาแล้ว ถึงแม้ว่าจะเก่าแต่ก็ยังมีคุณค่าต่อการติดตามค้นหาร่องรอยของคนเล่นเพลงที่สร้างสรรค์ผลงานด้วยกลอดสด (ด้นสด) อย่างต่อเนื่องกันมาจนถึงในยุคปัจจุบัน ที่เด็ก ๆ ในวงสามารถรับการถ่ายทอดไปยังคนรุ่นใหม่จนมีความสามารถด้นกลอนสดได้อย่างฉับพลัน

                             

       

              

         

        

         

         

           

         

            

           

          

             

         

           

          

          จากประสบการณ์จริงทั้งหมดที่ผมนำมาเล่าในบล็อกเพลงอีแซวเป็นจำนวนมากทั้งภาพเรื่องราว เหตุการณ์จริงและที่มาของการสืบสานงานเพลงพื้นบ้านตรงนี้ ท่านผู้อ่านคงจะได้เห็นวิธีการปฏิบัติงานจากตัวครูถ่ายทอดสู่นักเรียนมายาวนานและกระทำอย่างต่อเนื่อง  ผมไม่แน่ใจว่าการทำงานของวงเพลงวงอื่น ๆ ตั้งเป้าหมายในการสืบสานเอาไว้อย่างไร เรามิอาจรู้ได้ แต่เท่าที่ได้สัมผัสมาตลอดระยะเวลาที่ผมทำงานด้านนี้  ผมมั่นใจว่า เด็ก ๆ ที่เราทำการฝึกปฏิบัติ ร้องรำเล่นเพลงพื้นบ้านกันเป็นจำนวนมาก น่าจะประมาณ 2,500-3,000 คนแล้ว ผู้ที่ให้การสนับสนุนได้ย้อนกลับมาดูร่องรอยการเดินทางของผลงานเหล่านั้นอีกหรือไม่ว่า คุ้มค่า เพียงใดแค่ไหน

 

          คณะเพลงพื้นบ้าน 1 วง เมื่อสิ้นคนที่เป็นผู้นำ (หมดหัวหน้าวง) คณะเพลงวงนั้นก็ยุบวงไปโดยปริยาย วงเพลงพื้นบ้าน 1 วงมีผู้ที่เป็นนักแสดงโดดเด่นเพียง 1-2 คน เมื่อคนเหล่านั้นเลิกราไป วงเพลงก็จำเป็นต้องหยุดรับงาน แต่ในความเปลี่ยนแปลงที่มีมาอย่างต่อเนื่องเป็นวงจรชีวิตของการทำงานนั้น วงเพลงอีแซว สายเลือดสุพรรณฯ โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1 ยังคงยืนหยัดอยู่บนถนนคนเพลงตลอดมา เป็นวงเพลงอีแซวนักเรียนที่มีผลงานการแสดงอย่างต่อเนื่อง ไม่มีช่วงขาดระยะ แต่มุมมองของผู้คนกลุ่มหนึ่งยังคงตั้งใจมองหรือคิดว่า นั่นไม่ใช่ของแท้ ทั้งที่คนกลุ่มนี้เล่นเพลงไม่เป็น ถึงจะเป็นเพลงก็หางแถว ในเมื่อคนไม่เป็นจริงมองไม่เห็นคุณค่า แล้วคนที่เป็นจริงของแท้จะทำตัวอย่างไร ในการที่จะที่จะรักษา สืบสาน งานเพลงพื้นบ้านที่เกิดจากจิตสำนึกอันแท้จริง

 

ชำเลือง  มณีวงษ์ : ผู้มีผลงานดีเด่น (ศิลปิน) ด้านเพลงพื้นบ้าน รางวัลราชมงคลสรรเสริญ ปี 2547

 

หมายเลขบันทึก: 185722เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2008 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ท่าน ผอ.ประจักษ์ ปานอินทร์

ขอบคุณมาก ครับ ที่เข้ามาเยี่ยมเยือน และให้กำลังใจอย่างต่อเนื่งเสมอมา เพียงแต่ผมอยากจะให้ท่านผู้ที่ติดตามเรื่องราวภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่าง ๆ ที่ผมเขียนลงใบหลาย ๆ บล็อกได้เห็นร่องรอยจากการบันทึกไว้ของสิ่งพิมพ์ซึ่งยังมีอีกมาก จะทยอยนำเอามาลงงให้

ขอมาให้กำลังใจคุณครูน่ะครับ

อย่าว่าแต่สิ่งพิมพ์เลย

รายการโทรทัศน์ ก็ออกมาแล้ว

555555++ เป็นกำลังใจให้คุณครูเสมอน่ะครับ

ขออนุญาติแนะนำหน่อยน่ะครับ ภาพที่คุณครูใส่เป็น jpeg โหลดช้า

ควรใช้ gif ลดขนาดลงซัก 350 px จะแจ๋วมากครับ

ครูบรรเจิด พุ่มพันธ์สน

  • ได้กำลังใจขึ้นมาอีกโขเลย ที่มีลูกศิษย์ยังเฝ้าเป็นห่วงครูอยู่เหมือนเดิม ขอให้ครูบรรเจิดมีความเจริญยิ่งขึ้นไปนะ
  • ในตอนต่อไปจะเป็นร่องรอยที่บันทึกลงใน นสพ. อีกตอน แล้วก็เป็นตอนทีครูไปออกอากาศวิทยุ และในตอนสุดท้ายจะเป็นร่องรอยที่ผ่านรายการโทรทัศน์ ประมาณ 70 กว่าครั้ง
  • ขอบคุณที่แนะนำ ครูลดขนาดภาพลงไปบ้างแล้ว แต่ยังเสียดายความคมชัด
  • มีผู้ผลิดเอกสารหลายราย ขอภาพไปทำปกหนังสือ แล้วเขาก็ส่งเอกสารกลับมาให้ครู  ได้ประโยชน์ต่อสังคมด้วย

ขอบคุณครับคุณครู ที่ให้พรผม

และเช่นกันน่ะครับขอใหคุณครูมีสุขภาพแข็งแรง ตลอดไปน่ะครับ

รออ่านเรื่องของครูต่อน่ะครับ

เรื่องของสุขภาพก็เป็นไปตามกาลเวลา เมื่ออายุมากตัวเลขเข้า กำลังวังชาก็ถดถอยลงไปบ้าง แต่ว่ายังมีลูกศิษย์อีหลายคนที่เป็นห่วงครู แบบครูบรรเจิด ทำให้มีกำลังใจสู้ต่อไป ครับ

ในตอนที่ครูนำเสนอร่องรอยผ่านสื่อโทรทัศน์ จะขึ้นภาพการแสดงสั่น ๆ เอาไว้ด้วย เพื่อเตือนความทรงจำว่า เราย่ำเดินบนถนนคนเพลงมานาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท