BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ว่าด้วยการแปล


ว่าด้วยการแปล

ตอนนี้บ้านเมืองมีประเด็นร้อนอยู่หลายเรื่อง  เรื่องหนึ่งคือการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ซึ่งการอ้างเหตุผลของกลุ่มนี้อาจจัดเป็นแบบการเมือง เพราะมุ่งหวังผลในอนาคต.... 

อีกเรื่องหนึ่งก็คือการโต้แย้งเรื่องการแปลภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทย ประเด็นนี้อาจจัดเป็นแบบพูดในศาลเพราะเป็นการอ้างถึงข้อเท็จจริงบางอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วเพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่าเป็นอย่างนั้น และอาจจัดเป็นแบบการเมืองด้วย เพราะมุ่งหวังผลในอนาคตเช่นกัน....

ประเด็นการใช้วาทศิลป์โดยการพิจารณาเนื้อหาทำนองนี้ ผู้เขียนเคยเล่าไว้บ้างแล้ว ผู้สนใจ คลิกที่นี้ บันทึกนี้จะมาชวนคุยเรื่องการแปลเท่านั้น...

...........

แม้จะเข้าใจกันโดยทั่วไปว่า การแปลก็คือการเปลี่ยนข้อความจากภาษาหนึ่งไปสู่ภาษาหนึ่งโดยให้มีความหมายคงเดิมหรือใกล้เคียงที่สุด... แต่ในทางปฏิบัตินั้น ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะผู้ฉลาดทางภาษาบางคนอาจเบี่ยงเบนอย่างจงใจให้ความหมายคลาดเคลื่อนหรือผิดแผกไปจากเดิมก็ได้ บางคนอาจไม่มีความชำนาญในภาษาหนึ่งภาษาใดพอ หรือบางคนอาจเข้าใจผิด เพราะเข้าไม่ถึงวัฒนธรรมในภาษานั้นๆ ก็ได้... 

เฉพาะประเด็นหลังนี้ เคยอ่านบทวิจารณ์ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าพบอุปกาชีวก แล้วพระพุทธเจ้าตรัสว่าทรงตรัสรู้เองโดยไม่มีใครสอน อุปกาชีวกก็ สั่นศรีษะ แล้วหลีกไป... เดิมที่เข้าใจกันว่า การที่อุปกาชีวกสั่นศรีษะแล้วหลีกไปนี้ หมายถึงการไม่ยอมรับหรือไม่เชื่อพระดำรัสของพระพุทธเจ้า... ต่อมา มีการตรวจพบว่าวัฒนธรรมของชาวชมพูทวีปบางท้องถิ่น การสั่นศรีษะ หมายถึง การยอมรับหรือการเชื่อ... กรณีนี้ นับว่าเป็นปัญหาเพราะผู้แปลเข้าไม่ถึงวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา

กรณีว่าไม่มีความชำนาญในบางภาษานั้น ยกตัวอย่างผู้เขียนเอง ตอนแรกทำวิทยานิพนธ์นั้น ผู้เขียนไปเจอว่า คำว่า Duty เป็นไวพจน์กับคำว่า Obligation  ทำให้สงสัยยิ่งนักว่า หน้าที่ (duty) กับ  ข้อผูกพัน (obligation) จะใช้แทนกันได้อย่างไร เพราะในภาษาไทยต่างกันไปเลย  จำเป็นจึงต้องค้น...

ค้นๆ ไปจนเจอว่ารากศัพท์ของคำว่า  duty นี้ แปลว่า สิ่งที่ต้องชดใช้  หรือ หนี้สิน  ก็ได้ โดยคำนี้มีพื้นฐานมาว่า มนุษย์เป็นผู้ถูกสร้าง ในขณะที่พระเจ้าเป็นผู้สร้าง... ดังนั้น พระเจ้าคล้ายๆ กับเจ้าหนี้ในฐานะเป็นพระผู้สร้าง  ส่วนมนุษย์จึงคล้ายๆ กับลูกหนี้ในฐานะที่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา และการดำเนินชีวิตของมนุษย์ตามโองการพระเจ้านี้เองเรียกว่า duty เพื่อเป็นการชดใช้หนี้สินต่อพระเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องกระทำ... และนี้คือ duty ที่แปลกันว่า สิ่งที่ต้องกระทำ ซึ่งตรงกับ หน้าที่ ในภาษาไทย

เมื่อมาถึง obligation ที่แปลกันว่า ข้อผูกพัน , พันธะ หรือ พัทธกิจ ในภาษาไทยนั้น... ความหมายเดิมก็คือความผูกพันหรือเชื่อมโยงกันระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ในฐานะผู้สร้างกับผู้ถูกสร้าง โดยอธิบายทำนองเดียวกับคำว่า duty... ดังนั้น ในภาษาอังกฤษหรือภาษาตะวันตกอื่นๆ ที่มีรากฐานมาจากนี้ สองคำนี้จึงเป็นคำที่ใช้แทนกันได้....

...........

 ส่วนกรณีที่ผู้ฉลาดทางภาษาแปลและขยายความเบี่ยงเบนไปตามวัตถุประสงค์ของตนเองนั้น อาจเห็นได้ชัดเจนจากประเด็นร้อนทางการเมืองขณะนี้... ผู้เขียนไม่ยืนยันหรือคัดค้านว่าใครผิดหรือถูก เพราะมิใช่ผู้เชี่ยวชาญ...

อย่างไรก็ตาม สำหรับนักแปลทั้งหลาย แปลผิดแปลถูกนั้น ไม่ว่ากัน ! เพราะขึ้นอยู่กับภูมิรู้และความถนัดชำนาญของแต่ละคน... แต่เมื่อแปลแล้วขยายความไปตามที่แปลมา นักแปลย่อมรู้สำนึกด้วยตัวของตนเองว่า ตนเองได้แปลและขยายความเบี่ยงเบนเพื่อมุ่งหวังผลทางการเมืองหรือไม่ ? อย่างไร ?

อนึ่ง ผู้ที่มิใช่นักแปลเพราะเข้าไม่ถึงภาษาอังกฤษ ก็ได้แต่เพียงฟังและอ่านของบรรดานักแปลนักตีความทั้งหลายเท่านั้น... ผู้เขียนมีข้อคิดที่นักตรรกศาสตร์มักจะพูดเล่นอยู่เสมอมาฝากว่า...

  • ความจริงต้องมีเหตุผล แต่เหตุผลมิใช่ความจริง

 

หมายเลขบันทึก: 184848เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2008 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

นมัสการค่ะ

อ่านแล้ว เข้าใจค่ะ

กราบ3หน

นมัสการครับพระอาจารย์

     ได้แต่หวังครับว่าคนการเมืองรุ่นใหม่ทุกคน ในอีกสิบยี่สิบปีข้างหน้า

 จะมีพื้นฐานทางจิตใจดีขึ้น...แต่ต้องเกิดจากการปูพื้นฐานให้คนรุ่นเด็ก

ตอนนี้ ไม่ใช่รอไปบอกตอนคำขวัญวันเด็กที่เขียนให้เด็กท่องจำ

เพื่อแลกของขวัญ (เป็นสำนวนไพเราะแต่ี่เด็กไม่ค่อยเข้าใจ..)

และเด็กจะลืมในอีกหนึ่งอาทิตย์ให้หลัง

                        กราบขออภัยที่รบกวนพระอาจารย์ครับ

                                                     รพี กวีข้างถนน

นมัสการหลวงพี่

  • เจอบ่อยๆ ที่แปลศัพท์ผิดเพราะคิดว่ารู้ แต่เผอิญว่าคำนั้นมีหลายความหมาย
  • เรื่องสั่นศีรษะ หรือส่ายหน้า ถ้าปัจจุบันแปลว่า ไม่ไหว ไม่เอาไหน แต่เคยอ่านเจอเรื่องเก่าๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อยุธยา ส่ายหน้า หมายถึง ยอมรับ, น่าทึ่ง เหมือนกันครับ
  • นักภาษาพูดไว้บ่อยๆ ว่า แปล ก็คือ แปลง หมายความว่า อย่างไรเสียก็เพี้ยน ว่าแต่จะเพี้ยนมากเพี้ยนน้อยเท่านั้นเอง, แต่ถ้าเจตนาให้เพี้ยน ก็อีกเรื่องหนึ่ง ;)

P

ธ.วั ช ชั ย

 

บางครั้งการอ้างเหตุผลในการแปลก็เป็นเพียง Rationalization คือ สร้างเหตุผลเพื่อสนับสนุนความมุ่งหมายบางอย่างเท่านั้น มิใช่เหตุผลเพื่อเหตุผล...

เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท