ผู้นำ 4 ทิศ ใน G2K


เพราะมนุษย์เกิดมาไม่สมบูรณ์พร้อม มนุษย์จึงเกิดคำถาม ที่ทำให้มนุษย์ขับเคลื่อนและพัฒนาต่อไปได้ เหมือนแก้วน้ำที่ยังไม่เต็ม ยังสามารถเติมน้ำลงไปได้อีก ถ้ามนุษย์เป็นแก้วที่เต็มแล้ว จะเป็นอย่างไร ? ...

 

ได้ยินผู้คนกล่าวถึง กิจกรรมผู้นำ 4 ทิศ (กระทิง หนู อินทรีย์ หมี) มากขึ้นเรื่อย ๆ เลยอยากทราบว่า มันคือ อะไร ? ทดลองค้นใน G2K ดู ได้ดังนี้ครับ

 

P อ.หนึ่ง
มหาวิทยาลัยนเรศวร
อีเมลติดต่อ

กล่าวไว้ใน กิจกรรมการจัดการความรู้ ชาวห้องสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวร  ว่า

...หมอพิชิต ก็ให้พวกเราเข้ากลุ่มตามลักษณะนิสิยการทำงาน คือแบ่งออกเป็นทิศ

         ทิศเหนือ เป็นกระทิง คนที่ทำงานที่มีนิสัยแบบนี้ จะมุ่งเอาเป้าหมายของงานเป็นที่ตั้ง คือมุ่งแต่ความสำเร็จ ไม่สนใจเพื่อนร่วมงานว่าจะมีความรู้สึกอย่างไร ดังนั้นบางครั้งผู้ร่วมงานก็จะโดนกระทิงขวิดเอาบ้าง (ผมเห็นวันเพ็ญเลือกเข้ากลุ่มนี้)

          ทิศใต้ เป็นหนู คนที่ทำงานแบบหนู จะเป็นคนที่แคร์ความรู้สึกของคน ของเพื่อนร่วมงาน เป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี คนเป็นหนูทำงานนะ แต่ก็จะสนใจชีวิตของเพื่อนร่วมงานด้วย จะตัดสินใจแต่ละเรื่องต้องถามคนโน้น ถามคนนี้ จนรู้สึกว่าบางคนที่ทำงานเหมือนหนูดูเหมือนเป็นคนไม่กล้าตัดสินใจ (คนในห้องสมุดส่วนใหญ่ร้อยละ 70 เข้ากลุ่มนี้)

        ทิศตะวันออก (E) เป็นหมี คนที่ทำงานแบบหมี จะเป็นคนอยู่ในกรอบในระเบียบ ชอบที่จะทำงานตามระบบตามระเบียบ (พี่เนตร พี่ดารณี แมว เลือกเข้ากลุ่มนี้)

          ส่วนทิศตะวันตก (W)  เป็นนกอินทรี ผู้บริหารแบบนกอินทรี จะเห็นภาพกว้างเพราะบินสูง จะเห็นภาพรวมของงานทั้งหมด ชอบที่จะคิด ชอบวางแผน แต่ผู้บริหารแบบนกอินทรี ก็จะบินมาก แล้วก็สั่งๆๆ แล้วก็บินไป ดังนั้นผู้บริหารแบบนกอินทรี ดูเหมือนเค้าจะเป็นคนชอบคิด ชอบสั่ง มากกว่าชอบลงมือทำ (ผมกับพี่อ๋า เลือกเข้ากลุ่มนี้)

           แล้วหมอก็ให้พวกเราคิดร่วมกัน ว่าจะให้ กระทิง หนู หมี และอินทรีทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขได้อย่างไร

...

P Phoenix
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อีเมลติดต่อ

กล่าวไว้ใน บันทึกที่ 100 มหัศจรรย์สังสรรค์สนทนา (11): ผู้นำสี่ทิศ ว่า

...

ทิศเหนือ กระทิง ธาตุไฟ

เราอาจจะคุ้นเคยกับผู้นำธาตุไฟนี้ คนที่มี determination ความมุ่งมั่น ตั้งใจ และเด็ดขาดในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงให้ได้ เปรียบเสมือนกระ ทิง เมื่อมองเห็น วางเป้า เรียบร้อย ก็ก้มศีรษะวิ่งตะลุยเข้าชน ไม่มีอ้อมค้อม ไม่มีถอย ไม่ต้องลังเลคิดอะไรต่อไปมากมาย เป็นคนที่ไม่ค่อยจะยอม ไม่ออมชอม ใช้คนไม่ลังเล ตัดสินใจแน่นอน พลังงานล้นเหลือ เหลือเฟือ แผ่ซ่านให้คนรอบข้าง

อุปนิสัยนี้ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เดินๆ วิ่งๆไป จะเกิด casualties ระหว่างทาง เป็นผู้นำที่ลูกน้อง "เกรง" มากกว่า "รัก" จะทำงานใหญ่ มันก็จะต้องมี acceptable corpse ระหว่างทางกันบ้างสิ

ถ้าทีมแข็งแกร่ง บวกผู้นำธาตุกระทิง ก็จะวิ่งโลด KPI ทะลุแล้วทะลุอีก ไม่เคยประสบปัญหาพลังงาน แต่อาจจะมีปัญหาเรื่อง harmony ของคนแทน ถ้าคนที่ชอบการลงแส้ ทำงาน under-pressure ก็คงจะเป้นขุนพลที่ดีของกระทิงได้แนบเนียน

ทิศใต้ หนู ธาตุน้ำ

ทิศตรงกันข้ามกับกระทิง เป็นอะไรที่ค่อนข้างจะ "ตรงกันข้าม" ทีเดียว หนูเป็น rodent ชอบอยู่ในรู หนูธาตุน้ำ ก็จะมีความไหลลื่น ล่องลอย หนูจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องอารมณ์ ความรู้สึก ทั้ง sensitive เป็นพิเศษ เน้นการดูแลเอาใจใส่

ลูกน้องจะมีความสนิทสนม ไว้ใจ และ "รัก" ผู้นำหนูธาตุน้ำ เพราะใจอารี ไม่ค่อยมี demanding มาก เน้น harmony ในการทำงาน ความปรองดองและสันติเป็น virtue ใน office ของหนู หนูจะไม่ค่อยมี demanding มาก ไม่ค่อยจะขอโน่น ขอนี่ ที่จริงการเอ่ยปากขอโน่น ขอนี่ เป็นอะไรที่หนูจะตื่นเต้นมากๆ และน้อยครั้งจะหักใจทำจนสำเร็จ ต้องตั้งท่า ตั้งทางเป็นเวลานาน ไม่ชอบ confrontation

ผู้นำหนูจะไม่ค่อยลงแส้ เฆี่ยนลูกน้อง ตรงกันข้ามจะเต็มไปด้วยมธุรสวาจา ความเห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่ดูแล ต้องระวังการเข้าใจผิด (หรือ "ถูก") ว่าเป็นผู้นำที่แหย ถ้าผู้นำหนูที่แข็งแกร่ง มีความมั่นใจในตนเอง ก็อาจจะออกกลายเป็นผู้นำที่อบอุ่น มีรังสีความเป็นมิตรแผ่ซ่านออกมา

ทิศตะวันออก อินทรีย์ ธาตุลม

พญาอินทรีย์บินอยู่เหนือฟากฟ้า ภาษิตจีนมีว่า "มังกรเทพยดาไร้ร่องรอย เห็นหางมิเห็นหัว" เป็นจอมออกแบบโครงการ เจ้าความคิด คิดเร็ว ทำเร็ว เพราะความเป็นธาตุลม และก็ทำให้เป็นธาตุที่จับต้องยาก เป็นนามธรรม มองเห็นความเชื่อมโยงที่คนอื่นมองไม่เห็น ด้วยความที่บินสูง บินไกล จึงสามารถมองเห็น ความเชื่อมโยงระยะห่าง ได้อย่างมาก ตรงนี้เองบางคนให้เป็นเหตุผลว่าทำไมจึงมี vision มี mission ที่กว้างไกลมาก เพราะการบินอยู่บนที่สูง ก็จะมองเห็นความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งที่ได้ดียิ่งขึ้น

อินทรีย์อาจจะไม่ค่อยชอบ landing ลงมาที่พื้นบ่อยนัก แต่ก็จำเป็นต้องลงมาเติมน้ำมัน เติมน้ำท่าให้พร้อม ที่แน่ๆก็คือทั้งเผ่ายังไม่คิดว่าการย้ายภูมิลำเนาจะเป็นอะไรที่ใกล้ตัวเท่าไร (how much they are so wrong!!) การที่ไม่ชอบลง landing ก็เพราะ อินทรีย์จะชอบอยู่ในที่ที่ inspire ผู้คน อยู่ในที่ที่มองเห็นความสัมพันธ์ของตนเอง ของสิ่งที่ได้ทำ ค่อยๆปรากฏผลสะท้อนต่อผู้อื่น ต่อคนรอบข้าง ต่อ ฯลฯ

ตรงนี้เองผู้นำอินทรีย์อาจจะดูห่างเหินจากลูกน้อง เพราะแกบินลงมาเกาะๆ สั่งๆ แล้วก็ วูบ! ไปอีกแล้ว ไปดูแลที่อื่นๆ ดูๆบางคนอาจจะคิดว่าจับจด แต่เนื่องจากการมองไกลและเห็นความเชื่อมโยง แกก็จะเห็นความจำเป็นที่ต้องไปสาวตรงโน้น ดึงตรงนั้น ไปพร้อมๆกับตรงนี้ด้วย เพราะมัน เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน

ถ้าจะเปรียบเทียบก็นึกถึงภาพ mosaic ดูนะครับ คนที่อาศัยอยู่ใน 1 cube นั้น จะไม่ทราบว่าที่แท้จริง ตนเองเป็นแค่ 1  pixel ของ "ภาพรวม" แต่คนที่มองมาจากที่ไกลๆ ก็จะเห็นได้ว่าที่จริงพื้นที่ตรงนี้ก็คือ "สิว" เม็ดหนึ่งของใบหน้าของโลก จะจัดการสิว ก็อาจจะต้องไปดูแลสุขภาพที่อื่นที่สำคัญกว่าก่อน หรือพร้อมๆกันก็ได้

ทิศตะวันตก หมี ธาตุดิน

ครับ ผู้นำ ผู้ปฏิบัติที่แท้จริง หมีจะเป็นผู้จัดการที่มีประสิทธิภาพ จะใช้คำว่า "BY THE BOOK" มาบรรยายก็ได้ หมีจะไม่ชอบความเปลี่ยนแปลงวูบวาบแบบอินทรีย์ (ดังนั้นจึงอยู่ทิศตรงกันข้ามกัน) จะเน้นที่ รายละเอียด รายละเอียด รายละเอียด เป็น micromanagement ชนิด step by step, person to person, bit by bit มีความคงเส้นคงวาสูงมาก ลูกน้องที่เข้าใจจะทำงานด้วยได้อย่างมี preditability สูงมาก ตรงต่อเวลา ตรงต่อ schedule และตรงต่อ protocol

ข้อเสียของหมีก็แฝงอยู่จุดแข็งของตนเองได้ เพราะหมีขาดความ flexible และมีแนวโน้มจะใช้ เทปม้วนเก่า ซึ่งตกอยู่ใน mode ปกป้องของฐานความคิดได้ค่อนข้างมาก งานอะไรที่เป็น routine หมีจะทำได้อย่างสมบูรณ์แบบ ถี่ถ้วน แต่ถ้าเริ่มมี "สถานการณ์" มาต้อง solve ก็ยัง OK ตราบใดที่มี protocol รองรับ แต่ถ้าเป็นอะไรที่ "สด" มากๆ จะเริ่มติด และ frustrated ทันที

 

(จะกลับมาก ถอดความรู้ กู่สร้างสรรค์ ต่อครับ)

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ผู้นำ 4 ทิศ
หมายเลขบันทึก: 184213เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2008 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อืมมม...!

น่าสนใจนะครับ

แล้วจะติดตาม

โรงเรียนพ่อแม่

วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๐

วิศิษฐ์   เช้าวันนี้เราจะเริ่มจากที่มาที่ไปของการจัดครั้งนี้ และขอถือโอกาสสอบถามความต้องการของพวกเราที่มารวมทั้งความคาดหวัง ความต้องการ เพราะเมื่อเรามองโจทย์ชัดเท่าไร เราก็อาจจะได้คำตอบที่ตรงและชัดเท่านั้น มั๊ง? อยากจะเริ่มต้นโดยคนท้องที่บอกกล่าวบอกเล่าเก้าสิบว่าเป็นมาอย่างไร โรงเรียนพ่อแม่นครสวรรค์ สองคนให้สบตากันว่าใครจะพูดก่อน

ครูณา   สวัสดีคะ โรงเรียนพ่อแม่มีความเป็นมาได้อย่างไร เมื่อสามเดือนก่อนเราได้จัดครั้งที่ ๑ ขึ้น คือครั้งที่ ๑ เริ่มต้นจากตัวเราเองได้รู้จักสุนทรียสนทนา และได้พบว่าวิธีนี้แหละที่เราสามารถพูดคุยกับพ่อแม่ แล้วอาจจะเข้าใจความเป็นเด็กได้มากขึ้น เพราะเราทำโรงเรียนมาทั้งหมด ๑๐ ปี บางครั้งเราเห็นพ่อแม่บางคนเครียดๆ ก็พยายามที่จะพูดคุยว่า จริงๆ แล้วเด็กเขาเป็นอย่างไร ฝ่ายพ่อแม่ก็จะรู้สึกไม่เข้าใจว่า เขากำลังสร้างวินัยแก่ลูก เราก็อธิบายต่อไม่ได้ จนเมื่อมาพบสุนทรียสนทนา นั่นคือจริงๆ แล้วเราไม่ต้องให้พ่อแม่เข้าใจลูกเท่าไรหรอก แต่พ่อแม่ต้องเข้าใจตัวเองก่อน แล้วเดี๋ยวสักพักหนึ่งจะเริ่มเข้าใจลูก ก็เลยคิดว่ากระบวนการสุนทรียสนทนานี้จะเป็นกระบวนการที่ทำให้พ่อแม่อยู่กับลูกได้จิตตื่นรู้ จึงเกิดโรงเรียนพ่อแม่ครั้งที่ ๑ ขึ้นมา แล้วก็พบว่าหลายๆ คนที่เข้าร่วมรู้สึกผ่อนคลายได้มากกับการที่จะอยู่กับลูก หลายคนบอกว่าเมื่อก่อนอยู่กับลูกแล้ว… อย่างที่กานบอก…ลูกเป็นนางฟ้า อย่างไรเล่า ใครบอก ทุกวันกว่าจะผ่านพ้นไปแต่ละวัน  พอลูกหลับแล้วรู้สึก… เฮ้อ หลับซะที เมื่อเขาได้เข้ากระบวนการแล้วเขาเห็นว่า เขาเห็นลูกน่ารักขึ้น ใช่ เรากลับไปแล้วเราพบว่า ใช่ วันนี้เราเริ่มเห็นลูกน่ารักขึ้น เห็นเทวดาตัวน้อยๆ เห็นความเป็นนางฟ้าของพวกเขา อย่างไรเสีย ก็เลยคิดว่าโรงเรียนพ่อแม่จะต้องอยู่ในนครสวรรค์ให้นานที่สุด ก็เลยเกิดครั้งที่สองขึ้น
 
พยาบาลวิชาชีพ คุณจือ   สำหรับมุมมองตัวเอง ก็เริ่มต้นจากว่า โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จัดสุนทรียสนทนา เราไปจัดกันที่ทรัพย์ไพรวัลย์ พิษณุโลก หลายๆ คนพอเข้าแล้วรู้สึกว่าเราได้อะไรที่ไปใช้กับตัวเองมาก ในงาน หลายๆ คน เวลาเข้าแล้ว ก็รู้สึกว่า ได้อะไรขึ้นมาเยอะ ทั้งตัวเองและหน่วยงาน หลาย ๆ คนก็เรียกร้องว่าแล้วทำไมสามีเรา เราก็อยากให้เข้าอย่างนี้ และอยากเอาไปใช้กับลูก แล้วพอไปเป็นอาสาสมัครที่รพ.สมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่าน ได้เห็นหลายอย่าง ที่ปัวเขาทำ ทั้งอำเภอเลย ในเรื่องของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็จะมีระดับทหาร ตำรวจ ครู ข้าราชการ เรามองว่าตรงนั้นมีพลังที่ยิ่งใหญ่ อยากให้นครสวรรค์ของเราก่อเกิดกลุ่มเหล่านี้ขึ้น มาทำร่วมกัน และมาได้ฟังเรื่องของน้องยิ่ง ที่อาจารย์วิศิษฐ์ได้เล่าให้ฟังจากจดหมายน้องยิ่ง เรานึกถึงว่าถ้าลูกเราล่ะ ลูกหลานของพวกเราชาวนครสวรรค์ อยากให้พวกเขาได้ค้นหาตัวเอง ได้เห็นศักยภาพตัวเอง ตรงนี้ แต่ว่าจุดเริ่มต้น พ่อแม่ต้องเข้าใจ เราจึงคิดกันว่าน่าจะทำในเรื่องของโรงเรียนพ่อแม่นี้ขึ้นมา  ทั้งยังมองอีกอย่างหนึ่งว่า แล้วกลุ่มต่างๆ ที่เราจะสานต่อกันที่นครสวรรค์..บางทีเราขับเคลื่อนแค่องค์กรเดียว โรงพยาบาล หรือว่ากลุ่มเล็กๆ ไม่น่าจะพอ คิดว่าควรให้มีการเติบโตมากขึ้น ดอกไม้หลายๆ ดอก ก็มาคิดว่า นครสวรรค์น่าจะทำอะไรกันบ้าง ก็เป็นจุดที่ว่า ได้ไปคุยกันที่ตึกมดของครูณา หลังจากเกิดโรงเรียนพ่อแม่รอบแรกแล้ว ก็มองว่า เราน่าจะทำเป็นเครือข่ายกันมากขึ้น ดึงหลายๆ หน่วยงานเข้ามาร่วมกัน จากที่ตัวเองมีประสบการณ์ดึงอาจารย์มาทำศูนย์วัดช่อง ก็เป็นอาสาสมัคร อสม. แล้วก็มีตัวแทนของเจ้าหน้าที่เทศบาล มีคุณหมอวงษ์สวัสดิ์ จากสปสช. แล้วก็หน่วยอื่น ๆ เราต้องการ คนที่ดูแลเขตเทศบาลด้วยกัน ได้มาร่วมกันทำงาน ได้เห็นภาพ แล้วก็นำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ ไปเบิกบานไปแตกหน่อ กันต่อ..ตรงนี้เป็นอีกจุดหนึ่ง เรื่องของพ่อแม่มีความสำคัญ ก็เลยมองว่า  เด็กหรือผู้คนในสังคม ที่บางทีเราอาจจะมองข้ามไป เราทำงานกับเด็กในชุมชนอยู่ เราก็อยากเอาส่วนนี้ไปใช้กับเด็กในชุมชน และก็มองว่า เอ แล้วลูกหลานเราอีกล่ะ เราก็มองว่า ก้าวต่อไปเป็นเรื่องของลูกหลานของเรา แต่เอาพ่อแม่เป็นจุดเริ่มต้น ถ้าเราเปลี่ยนแนวคิดของพวกเราที่เป็นพ่อแม่ได้ มุมมองใหม่ ทัศนะใหม่ เราก็มองลูกเราใหม่ มองผู้คนในชุมชนใหม่ ก็น่าจะสานต่อเรื่องต่อ ๆ ไปได้ดี แค่นี้ค่ะ

วิศิษฐ์ สามวันนี้ก็จะเป็นความรู้ที่ไม่ใช่เป็นแค่ความคิดและทฤษฎี วิธีของการเรียนรู้ร่วมกัน ก็จะผ่านกิจกรรมด้วย กิจกรรมก็อาจจะแตกต่างออกไปจากที่พวกเราเคยพบเคยเจอกัน สำหรับคนที่ไม่เคยเข้าเลย สำหรับคนที่เคยเข้ามาก็อาจจะได้เคยสัมผัสแล้ว เวลานี้ในสังคมส่วนใหญ่มีเรื่องราวคล้ายๆ กันเกิดขึ้น คือการสื่อสารกับลูก เวลานี้ เหมือนกับว่าพ่อแม่ก็ยุ่ง มีภารกิจ ไม่มีเวลา ตอนเด็กๆ ลูกเราก็ดูเรียบร้อยน่ารัก พอโตขึ้นเรารู้สึกว่าทำไมลูกดื้อ เราจะสืบค้นเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ว่า ทำอย่างไรลูกเราจึงจะเติบโต มีพลังชีวิต มีความมั่นคงภายใน มีความสามารถจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกได้ ที่เขาเรียกกันว่าอีคิว ทำอย่างไรเขาจะสัมพันธ์กับคนอื่นอย่างไม่มีปัญหา สัมพันธ์กับผู้ใหญ่อย่างไม่มีปัญหา สัมพันธ์กับเด็กด้วยกันอย่างไม่มีปัญหา

โรงเรียนเป็นทั้งหมดหรือเปล่า? ในความคิดของสมัยนี้ เรามีสังคมที่ใหญ่โตและสลับซับซ้อน เราแบ่งหน้าที่กัน ถ้าเราเป็นหมอ เป็นวิศวะ เป็นสถาปนิก เป็นพ่อค้า เราก็เอาลูกไปฝากไว้กับโรงเรียน เพราะพวกนั้นเขาเป็นนักการศึกษา จบแล้ว เราก็ทำมาหากินไปเอาเงินมาเพื่อให้ลูกได้เรียน จบ หน้าที่เราจบแล้ว แต่จริงๆ ยังไม่จบ ตอนนี้มันไม่จบ โรงเรียนให้ความมั่นคงภายในแก่เด็กได้ไหม ข้อนี้คงเป็นคำถามปลายเปิด คงไม่ไปสรุปว่า ไม่ได้ แต่เราต้องเข้าไปสัมผัสว่า โรงเรียนให้ความมั่นคงภายในแก่เด็กได้ไหม ลูกหลานของเรามีความมุ่งมั่นไหม ถ้าพูดภาษาโบราณ คนที่มีความมุ่งมั่นเขาก็ว่า เหยียบขี้ไก่ฝ่อ คนที่ไม่มุ่งมั่นก็คือคนที่เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ทำอะไรจับจรดไม่มุ่งมั่น ไม่จริงจัง โรงเรียนให้สิ่งเหล่านี้ได้ไหม เด็กสมัยนี้มีแนวโน้มที่จะจัดการกับอารมณ์ตัวเองได้น้อยลงหรือเปล่า ความหงุดหงิด ความอยากจะได้อะไร เขาจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกนั้นๆ อย่างไร โตขึ้นมาเป็นวัยรุ่นเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะเป็นเรื่องราวของสามวันนี้
เรื่องของลูกในทางกาย ใจ ความคิด ตอนเขาเล็กๆ ลูกเป็นหนึ่งเดียวกับเรา มีพี่สาวของผมคนหนึ่ง พี่สาวคนโตก็บอกว่า เอ่อ เด็กเนี่ย เล็กๆ มันน่ารัก พอพ้นวัยหนึ่งเขาไม่ชอบแล้วไม่อยากเลี้ยงแล้ว จะมีเด็กวัยหนึ่งที่เดินตามเราต้อยๆ เป็นหนึ่งเดียวกับเรา เขาไม่แยกจากตัวเรา อันนี้ในทางจิตวิทยาก็คือว่าเด็กกับแม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เขายังไม่แยกตัวเองออกไป แต่เขาจะค่อยๆ แยก แล้วการแยกของเด็กนี้ เราจะรับมือได้ไหม เรารู้ไหมว่าเขากำลังจะแยกจากเราไป เพื่อเข้มแข็งขึ้น เพื่อเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เพื่อมีความงามสง่า ถ้าเราไม่เข้าใจ เราจะรู้สึกว่า เด็กเกเร และเกเรแต่ละวัยเขาจะเกเรมากขึ้นนะ แต่ถ้าเราเข้าใจว่าความเกเรตรงนี้คือความเป็นตัวของตัวเอง เราจะรับมือได้อย่างนิ่มนวลและเขาจะเข้มแข็งขึ้น ไม่ใช่อ่อนแอลง แต่จะเข้มแข็งขึ้น เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาของตัวเองได้ บางทีเรารักลูกมาก เราดูแลเขาทุกสิ่งทุกอย่าง และพ่อแม่บางคนไปเลือกอะไรต่ออะไรให้ลูกด้วย เลือกจนกระทั่งเขาไม่มีพื้นที่ที่เขาจะเลือกเอง

(ต่อ)

ในการทดลองนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก ทดลอง เอาแมวเกิดใหม่สองตัวมาผูกให้หลังชนกัน ก็จะมีแมวตัวหนึ่งที่เดินแบกแมวตัวหนึ่งไป ทำอย่างนี้อยู่สองสามวัน แมวนี้แข็งแรงมากจนแบกอีกตัวหนึ่งได้ ไม่เหมือนลูกคน ลูกคนยังไม่แข็งแรงขนาดนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร พอสองสามวันแก้เชือกสิ่งที่เกิดขึ้นคือ แมวตัวที่เดินสัมผัสพื้นดินก็เป็นแมวที่เติบโตตามปกติ ส่วนแมวตัวที่ถูกแบก ฟังชั่นทางร่างกายของมัน การมองเห็นของมันไม่ปกติ บางตัวตาบอดตาใส เห็นแต่ไม่เห็น หรือการมองเห็นมีปัญหา มีปัญหาในการดำรงชีวิต คือแมวตัวล่างได้เหยียบลงสู่พื้นดิน ได้ลองผิดลองถูก ได้เข้าไปกระทำการกับสิ่งที่เห็น ได้นำพาตัวเองไปสัมผัสสิ่งที่เห็น คือแมวได้ลงไม้ลงมือ ได้เชื่อมโยงการกระทำเข้ากับการรับรู้ อันนี้เกิดกับแมวตัวล่างทำ แต่แมวตัวบนไม่ใช่เลย
เราเลี้ยงลูกแบบแมวตัวล่างหรือแมวตัวบน มีคำศัพท์อยู่คำศัพท์หนึ่งในกระบวนการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิต เป็นความรู้ของกระบวนทัศน์ใหม่ บอกว่าสิ่งมีชีวิตทุกระดับ แม้กระทั่งเซลล์เดียว เซลล์เดียวแบบโบราณอย่างแบคทีเรีย สิ่งมีชีวิตทุกชนิดทุกระดับเป็นองค์กรจัดการตัวเอง องค์กรจัดการตัวเองแปลว่าเป็นหน่วยที่เขาจัดการตัวเองได้ แต่วิธีเลี้ยงลูกของเรากลับเป็นแบบ “แม่จัดให้ พ่อจัดให้” บางเรื่องอาจจะต้องจัดให้ เมื่อพวกเขายังไม่มีความสามารถ แต่ดูเหมือนว่าเราจะจัดให้มากไปหรือเปล่า พอจัดให้มากไป แมวชักจะขาไม่ติดพื้น และเขาจะหงุดหงิดมาก เขาจะสูญเสียอะไรบางอย่างไป ในชีวิตของเขา มากมาย อันนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง แต่ว่ากระบวนการเรียนรู้ของเรา ที่กำลังจะนำพาทำกัน ก็จะนำพาสิ่งเหล่านี้มาให้เห็นได้ชัดขึ้น และเราจะหาวิธีการร่วมกันด้วยว่าอ้าว ถ้าอย่างนั้น ถ้าไม่ทำในวิธีแบบเดิมๆ แล้วจะทำอย่างไร 
เวลาเราเกี่ยวข้องกับ หรือทำงานกับเด็ก เราจะทำงานกับพวกเขาในสามระดับด้วยกัน อยู่รอด อยู่ร่วม และอยู่อย่างมีความหมาย
ในระดับของการอยู่รอด คือความเป็นองค์กรจัดการตัวเอง พูดไปแล้ว ระดับอยู่ร่วมจะมีความผูกพันระหว่างแม่กับลูก พ่อแม่ลูก โดยเฉพาะแม่จะมีความผูกพันกับลูกมาก เพราะใกล้ชิดมาก ศัพท์ทางด้านกระบวนการเรียนรู้คือ Bonding ภาพที่ผมเห็นก็คือสิงโตเลี้ยงลูก ลูกน้อยๆ ของเขาก็จะไปเล่นอะไรซุกซนมาก แต่ทุกครั้งที่ลูกสิงโตเจอสิ่งใหม่ เขาจะหันมามองแม่สิงโตเพื่อจะขอฉันทานุมัติว่า มันปลอดภัยหรือเปล่า อันนี้คือ Bonding ลองสังเกตดูเด็กเล็กๆ เวลาจะทำอะไรที่แปลกใหม่ไป เขาจะหันมามองพ่อแม่นิดหนึ่ง ดูว่าพ่อแม่โอเคมั๊ย อันนี้คือ Bonding ความผูกพัน Bonding แบบไหน จึงจะทำให้เขาได้เรียนรู้และเติบโต อันนี้ก็จะเป็นรายละเอียดที่เราจะพูดคุยกัน เรียนรู้ร่วมกัน
เขาจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกของเขาได้ดีไหม เขาเป็นคนเงียบจนน่ากลัวหรือเปล่า ผมมีพี่ชายคนหนึ่ง และมีหลานชายคนโตซึ่งตอนนี้โอเคแล้ว ตอนเด็กๆ หลานชายเป็นคนเงียบมาก พ่อก็กลัว เงียบเนี่ย พอดีเขาไปคิดว่า ตอนเด็กๆ หลานเงียบเหมือนผม เพราะตอนเด็กๆ ผมจะเงียบ และผมก็มีประวัติความเป็นมาน่าตกใจนิดหน่อยสำหรับสังคมโดยทั่วไป เพราะว่าตอนอายุ ๑๙ ปี ผมเลิกเรียนในมหาวิทยาลัย และก็ออกจากบ้าน ทีนี้พี่ชายคนนี้ก็กลัวว่า ลูกเขาจะเป็นแบบนี้ เพราะว่าเงียบมาก เขาไม่รู้จะสื่อสารกับลูกยังไง ลูกอยู่ในบ้าน ไม่รู้จะสื่อสารกับลูกยังไงก็กลัว ผมก็สนิทกับหลานคนนี้ เวลานี้หลานคนนี้ก็เป็นกระบวนกรหลักคนหนึ่ง
มีเรื่องเล่าอยู่กรณีหนึ่ง นักจิตวิทยาคนหนึ่ง ดร.ทางจิตวิทยาคนหนึ่ง อายุ ๖๐ ปี มีลูกวัย ๒๘ ปี ทะเลาะกันทุกวัน ทุกๆ เช้าที่บ้าน ทะเลาะกันรุนแรง ด้วยถ้อยคำรุนแรงมาก ทีนี้ฝรั่งเขาจะไปทำจิตบำบัด  ถ้าเป็นคนไทยอาจจะไปหาหมอดู เป็นนักจิตบำบัดที่มีชื่อ เขาเขียนหนังสือ ผมบังเอิญได้ไปอ่าน เขาชื่อ บลู เจน ทัล เขาก็เขียนเล่าว่าเขาบำบัดคนนี้อย่างไร ทำไมเขาถึงมีปัญหากับลูก คือดร.คนนี้จะคิดทุกอย่างเป็นตัวบทเป็นตัวทฤษฏีหมดเลย เขาเองไม่ยอมรับอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง และเลยไม่อาจยอมรับอารมณ์ความรู้สึกของลูก เพราะชีวิตเขาไม่มีเรื่องอารมณ์ความรู้สึก จะพยายามไม่มี จริงๆ มนุษย์เราไม่มีจริงหรือเปล่า ไม่จริงหรอกครับ มันต้องมี แต่เขาไม่มี สิ่งที่นักจิตบำบัดคนนี้บอกว่า เขาไม่ได้ยินเสียงของตัวเอง เขามีแต่ตัวบททฤษฎีเขาอธิบายอะไรได้หมด เราเคยเจอไหมครับ บางคนอธิบายอะไรได้หมดเลย แต่เขาดูแลอารมณ์ตัวเองไม่ได้

เมื่อกี้คุยกันตอนเตรียมงาน น้องบอกว่าพ่อแม่กลัว ทุกวันนี้พ่อแม่กลัวมากเรื่องลูก ๆ ความกลัวมาจากไหน คือเราคุ้นเคยกับการฟังเสียงของสังคม ความกลัวมันลอยอยู่ในอากาศ ลอยอยู่ในสังคม และสังคมก็คือตัวเราด้วยนะ ไม่ใช่สังคมคือสังคม  และตัวเราคือตัวเรา สังคมกับตัวเราก็เป็นอันเดียวกันด้วย ถามว่าเรามีความคิดเป็นของตัวเองไหม หรือในความคิดทั้งหมด สังคมเขาคิดกันแบบนี้ เวลาเราจะได้ยินเหตุผลเราก็จะได้ยินเหตุผลประมาณว่า สังคมเขาก็ทำกันแบบนี้ ฉันก็ทำแบบนี้ แต่ตอนนี้ สิ่งที่สังคมทำกันและฉันก็ทำแบบนี้นี่มันเกิดเป็นปัญหาขึ้นมา เช่นเวลานี้นี่ มีหลายบ้านก็คือว่า เวลาลูกไม่ได้อะไรอย่างที่อยากได้ ในห้างสรรพสินค้า ในร้านขายของ ลูกก็จะไปนอนดิ้นร้องกรี๊ดขึ้นมา อันนี้เป็นกรณีของลูกเล็ก โตขึ้นก็อาจจะมีวิธีกรี๊ดอีกแบบหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับไปนอนดิ้น เราก็ซื้อให้เพราะเราไม่มีเวลา คือทั้งพ่อและแม่ทำงานหนักไม่มีเวลา เวลามีปัญหา เราก็ใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยการซื้อให้ ๆ ๆ ๆ

ผมเคยเจอพ่อแม่รวยเป็นพันล้าน ลูกคนโตไปติดยาเพราะทั้งหมดซื้อให้ ๆ ๆ และลูกก็หงุดหงิดมาก กลับมาส่งไปเรียนเมืองนอก โรงเรียนอย่างดีเลย คิดว่าลูกจะรอดปลอดภัย ลูกไม่ยอมเรียนหนังสือ พอกลับเมืองไทยบอกไม่อยากจะกลับไปเพราะเมืองไทยเขามีเพื่อนของเขา และเขาไปหายาได้ และลูกบอกว่าให้พ่อเปลี่ยนรถ เขาไม่ชอบรถคันนี้ ให้พ่อเปลี่ยนรถ เขาจะเอารถมันส์ๆ ขับเร็วๆ พ่อไม่ยอม เขาก็เอารถคันเดิมไปขับชนเละเลย และติดยาชนิดที่ว่าจะต้องอยู่ในสถานบำบัดแบบ forever แม่ไม่กล้าเอาออกมา และแม่ก็ไม่กล้าปรึกษาหารือใครมากด้วย เพราะกลัวสังคมจะประณาม

เดี๋ยวนี้ชีวิตมันยากขึ้นไปอีก เราจะเรียนรู้อย่างไร ที่จะให้ลูกของเรา เขารู้จักอารมณ์ตัวเอง ดูแลอารมณ์ตัวเองได้ นำพาอารมณ์ตัวเองมาให้เป็นบวกได้ ให้เป็นพลัง ไม่ใช่เป็นอุปสรรค  ในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของสมอง อารมณ์ความรู้สึกเป็นพลังงานที่มีประโยชน์ ใช้งานได้ แต่เราไม่ค่อยได้ใช้ โรงเรียนก็ไม่ได้เอาสิ่งนี้มาใช้ โรงเรียนไม่ได้นำอารมณ์ความรู้สึกมาใช้ เด็กเก่งในโรงเรียนเป็นอย่างไร พ่อแม่ในที่นี้เป็นคนเก่ง เด็กเก่งอยู่ในโรงเรียนก็เบื่อ ฝ่ายเด็กไม่เก่งก็จะแย่กว่าเด็กเบื่อ เขาจะรู้สึกตัวเองล้มเหลวตลอดชีวิต เขาล้มเหลวกับโรงเรียนก็พอแล้ว แต่เขารู้สึกเลยว่าเขาล้มเหลวตลอดชีวิต จำเป็นไหมที่ลูกเราจะต้องรู้สึกล้มเหลวตลอดชีวิต หรือรู้สึกเบื่อ เบื่อหน่าย ทำอย่างไรให้ชีวิตมีพลัง มีชีวิตชีวา ลองดูแววตาเด็กสิ ในกระบวนการเรียนรู้แบบนี้จะเชื้อเชิญพวกเรา ให้กลับไปเป็นเด็ก เด็กมีอะไรบางอย่างที่น่าสนใจนะครับ ในเด็กเองคุณสมบัติอันนี้ก็จะหายไป เวลาเราเล่านิทานก่อนนอน ลองดูสายตาเขา ตอนที่ยังไม่หลับ ตาเขา เขาจะรู้สึกทึ่ง ภาษาอังกฤษจะเป็น wonder ทึ่ง ตอนผมเป็นเด็กเล็กๆ ผมเจอลูกแก้วซึ่งมีสีอยู่ข้างไหน โอโฮ้ อะไรมันสวยอย่างนี้ เด็กผู้หญิงอาจจะชอบยางลบที่มีกลิ่นหอม ครั้งแรกที่เราเห็นมัน โรงเรียนช่วยไหม โรงเรียนช่วยให้เด็กรักษาความทึ่ง wonder อยากเรียนรู้

ผมช่วยเพื่อนๆ ผู้ปกครอง ตั้งโรงเรียนมอนเตสเซอรี่ที่เชียงราย ภาระกิจของเราคือรักษาความรักในการเรียนรู้ไว้ตลอดชีวิต Love for Life-Long Learning คือรักษาความรักที่จะเรียนรู้ไว้ตลอดชีวิต ความทึ่ง ลองดูแววตาของคนที่ทึ่ง แล้วลองดูแววตาของลูกเราที่ความทึ่ง มันค่อยๆ ถูกกลบเกลื่อนลบเลือนหายไปกลายไปเป็นแววตาที่พร่ามัว ไร้พลัง ไร้ความตื่นตัว ไร้ความทึ่ง สิ่งเหล่านี้หายไปได้อย่างไร พลังชีวิตเหือดหายไปได้อย่างไร
ผมอยากเชื้อเชิญพวกเราในสามวันนี้ ให้กลับมาเป็นเด็ก อีกสักครั้งหนึ่ง ในความทึ่งลองสัมผัสกับกระบวนการทั้งหมด กับการเรียนรู้ทั้งหมดเหมือนกับว่าเราไม่เคยพบเลยในชีวิต ให้มาเจอผู้คนเหมือนกับว่าเรามาพบกันครั้งแรก คนที่รู้จักกันมาแล้ว เราลองมาดูกันใหม่อีกครั้งหนึ่ง เราเอาความเป็นตัวเขาในอดีตทิ้งไป แล้วมามองใหม่ เราอยากจะเห็นความใหม่สดในตัวคนทุกคน ตื่นรู้ ตื่นตัว อยู่กับมันเหมือนกับสิ่งแรกเหมือนกับรักแรก เหมือนกับสิ่งมหัศจรรย์สิ่งแรกที่เข้ามาในชีวิต

ธนัญธร   

สามวันนี้อยากชวนให้เราผ่อนคลายเยอะๆ นะคะ ตื่นตัวและก็ wonder กับทุกอย่าง ทำตัวให้ทึ่งกับทุกอย่าง มีอย่างหนึ่งที่เราจะพูดบ่อยมากก็คือเราพยายามจะฝึกฝนลูก อยากให้ลูกมีวินัย มีระบบมีระเบียบ อยากให้ลูกรู้จักคิด ทำไมเขาไม่รู้จักคิดเรื่องนี้นะ เราก็พยายามจะฝึกทุกอย่าง แต่บางทีโดยด้วยการเข้มงวดกวดขัน กวดขันมากๆ ก็เริ่มมีอารมณ์ ก็จะเริ่มแว้ด บางทีเราก็รู้สึกแย่กับตัวเองด้วย ทำไมวันนี้เราดุลูกแรงจังเลย ถ้าพ่อแม่มีปัญหากันเอง พ่ออาจจะผสมโรง ว่าแม่แกเป็นยักษ์ เราก็จะรู้สึกแย่กับตัวเอง บางทีพ่อแว้ด  เราก็ว่าพ่อเหมือนยักษ์ บรรยากาศในบ้านย่ำแย่ลง ที่สำคัญ ลูกก็ไม่ชอบ เด็กพลอยรู้สึกแย่

อันนี้เราพบว่าพ่อแม่ไม่ได้ฝึกตัวเอง เวลาเราอยากให้ลูกมีวินัย ขณะที่พ่อแม่ไม่มีวินัย ยิ่งเราพยายามเข้มงวดเท่าไร เราเข้มงวดกับลูกแต่เราลืมเข้มงวดกับตัวเอง ไม่ได้หมายความว่าเราต้องเป็นคนที่สมบูรณ์แบบสำหรับลูก ที่อยากให้ลูกมีวินัยอย่างสมบูรณ์แบบ  แต่มันเหมือนกับว่า เรากำลังเรียกร้องสิ่งที่ตัวเองไม่เป็น เราเองก็ยังทำไม่ได้ มันก็สะท้อนให้เห็นว่า บางทีอยากให้ลูกเป็นอย่างไร เราอาจจะต้องกลับมาทำงาน กลับมาดูที่ตัวเอง พื้นที่ของโรงเรียนพ่อแม่ เป็นเวลาที่ ไม่ใช่ช่วงเวลาที่เราจะย้อนกลับไปเป็นนักเรียนอีกครั้ง แต่เป็นช่วงเวลาที่เราได้กลับมาดูแลตัวเอง ดูแลโลกภายในของเราเอง ถือโอกาส มาดูแลโลกภายในของเราเองให้ดี ถ้าเราอยากให้โลกภายในของลูกเราเข้มแข็ง อันนี้เป็นเรื่องเชิญชวนให้ทดลอง จะจริงหรือเปล่า ให้เราลองดูว่าถ้าเราเปลี่ยนแปลงตัวเราเองได้ ลูกเราจะเปลี่ยนไหม

เมื่อเช้าตอนเตรียมงานคุยกันเยอะมาก เราคุยกันเรื่องความกลัวเยอะมาก ความกลัวของพ่อแม่ น้องเชื่อเลยว่า อย่างที่อาจารย์วิศิษฐ์บอก ว่ามันมีเสียงของสังคมแทรกอยู่ในตัวเราเยอะมาก กลัวเขาจะคิดยังไง ชาวบ้านจะว่ายังไง เพื่อนฉันจะมองยังไง ลูกฉันเรียนได้เท่านี้ เรามีเสียงพวกนี้แทรกอยู่ในตัวเราตลอดเวลา แม้กระทั่งกับตัวเราเอง ไม่ต้องกับลูกนะ วันนี้เราจะแต่งตัวอย่างไรเดี๋ยวคนมองไม่ดี คนจะคิดอย่างไรถ้าเราทำตัวแบบนี้ เสียงเหล่านี้จะมีแทรกเข้ามาตลอดเวลา มันก็กลายเป็นกำแพงครอบลูกเราอยู่ เราระมัดระวังมาก ลูกเรามีพื้นที่ของการเรียนรู้น้อยลงๆ

มีญาติอยู่คนหนึ่ง เขากลัวมาก คือเขารู้สึกว่าตอนนี้สังคมมันเลวร้ายมากเลย ฉะนั้นไม่อยากให้ลูกไปปฏิสัมพันธ์กับสังคมภายนอก แม้กระทั่งรู้สึกว่าข้างบ้านเลวร้ายมากเลย บ้านนั้นเขามีเด็กพูดไม่เพราะ เขาก็ไม่อยากให้ลูกเขาไปเล่นกับเด็กที่พูดไม่เพราะ เขาก็เลยพยายามล็อครั้วเข้าออก บ้านนี้จะต้องไขกุญแจรั้วตลอดเวลา บ้านนี้ต้องไขกุญแจถึงสามดอกเวลาจะเข้า-ออก บางทีก็ดูเหมือนระมัดระวัง เป็นการตระเตรียมที่ดี ระวังภัยไว้ก่อน แต่อีกนัยหนึ่ง พื้นที่ของลูกเขาก็เล็กลงมากๆ เลย เด็กกลับมาจากโรงเรียนก็มีพื้นที่อยู่แค่ในบ้านเท่านั้น ไปไหนไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้ ออกไปไหนไม่ได้ เล่นกับเพื่อนข้างบ้าน ก็เล่นไม่ได้ เด็กก็ต้องนั่งดูทีวี มีชีวิตก็คือไปโรงเรียน กลับมาทำการบ้าน และก็ดูทีวี คิดอะไรไม่ออก คิดได้แต่แบบทีวี แม่กับพ่อก็เริ่มรำคาญ ทำไมลูกเราซื่อบื้อคิดได้เท่านี้  และเขาก็มีชีวิตอยู่แค่ในครอบครัวเล็กๆ

แต่มีวันหนึ่งลูกคนโตเริ่มเป็นสาว ต่อให้เราล็อคสามชั้นห้าชั้นก็เอาไม่อยู่ มันก็ยังมีโลกอื่นที่เขาออกไปเห็นอีก เช่น บางทีก็อยากไปเดินห้าง พ่อแม่ก็พาไปเดินห้าง เป็นต้น วันๆ เด็กคิดว่าฉันจะออกจากบ้านได้อย่างไร เด็กผู้หญิงคนนั้นวันๆ คิดแต่ว่าฉันจะออกไปจากบ้านได้ยังไง  ฉันจะไปจากแม่คนนี้ เพราะพื้นที่มันมีจำกัดเหลือเกิน ยิ่งช่วงวัยที่มันอยากท้าทายกับชีวิต อยากลงมือทำ เหมือนกับเราเวลาเลี้ยงลูกแล้ว เราลืมมองมาที่ตัวเอง เรามีช่วงขณะที่อยากพิสูจน์ตัวเองเยอะมาก แม้กระทั่งปัจจุบัน ต่อให้อายุเยอะแค่ไหน เราก็ยังมีช่วงเวลาที่อยากจะพิสูจน์ตัวเอง ว่าเราสามารถทำได้ ฉันไม่ได้เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่ใช่ไม่มีศักยภาพ เรายังทำได้อยู่ เรามีช่วงขณะที่อยากจะพิสูจน์ตัวเอง เด็กก็เช่นกัน สามวันนี้ อาจจะไม่ใช่ทั้งหมดที่เปลี่ยนแปลงบ้านเรา ให้กลายเป็นบ้านหรรษา หรือตัวเรากลายเป็นพ่อที่ประเสริฐ แม่ที่ดีเลิศ แต่มีความเชื่อว่า ถ้าเราตื่นตัวเปิดดวงตาให้รู้สึกทึ่งกับสิ่งทั้งหลายทั้งปวง เหมือนกับเด็กที่กำลังเรียนรู้ สามวันนี้เป็นสามวันที่มีค่ามากที่จะเปิดหัวใจของเรา ให้กลับไปทำงานกับบ้านของเรา

ไม่มีใครเข้าไปไขบ้านเราได้ดีเท่ากับตัวเราเอง ไม่มีใครเอากุญแจไปปลดล็อกคนข้างนอก ต่อให้โจรไปปลดล็อคบ้านเรา เขาไม่รู้กลอนทั้งหมดในบ้านเท่ากับตัวเราเอง เพราะฉะนั้น เราคือคนที่จะเป็นคนไขประตู  เปิดพื้นที่ให้ลูกเรากว้างขึ้น ถ้าสังคมมันแย่ก็เข้ามาดูแลสังคม ยิ่งถ้าสังคมมันแย่ต้องสอนให้ลูกเราแกร่ง ให้พร้อมที่จะอยู่กับสังคมที่แย่ อย่างมีความสุขและปลอดภัย ถ้าวันนี้พ่อกับแม่ทำงานด้วยความทุกข์เหลือเกิน ชีวิตมันยากมาก แก่งแย่งแข่งขัน ทำไมเราพยายามถีบและเสือกไสให้ลูกเราไปอยู่กับความทุกข์เหล่านั้นด้วยล่ะ

 

หลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ในขั้นปฏิบัติย่อมต่างจากหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่แบบเริ่มต้น หรือพื้นฐานออกไปมากทีเดียว
 หนึ่ง ความแตกต่างเบื้องต้นระหว่างหลักสูตรพื้นฐานกับหลักสูตรขั้นปฏิบัติ
    เนื่องด้วยข้อจำกัดของเวลา หลักสูตรพ่อแม่พื้นฐานจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการให้พ่อแม่ได้สัมผัสข้อกำจัดในการเลี้ยงลูกที่ผ่านมา และเริ่มมีวิถีทางใหม่ ในการดูแล หล่อเลี้ยงการเติบโตของลูก ที่ต้องเติบโตทั้งร่างกาย เจตจำนง ความมุ่งมั่น อารมณ์ความรู้สึก ความคิด ตลอดจนการเติบโตทางจิตใจ หรือจิตวิญญาณ
   แต่เนื่องด้วยการสะสมมาในเรื่องการเลี้ยงลูกที่ผิดพลาดและผิดทิศทางนั้น ใช้เวลาสั่งสมมานาน และการสะสมเริ่มมาแต่เมื่อเราพ่อและแม่ยังไม่รู้ความ มันจึงลงไปนอนเนื่องอยู่ในจิตใต้สำนึก โดยที่เราไม่รู้ตัว และยากแก่การเยียวยาแก้ไข การจะเข้าไปแก้ไขได้ต้องอาศัยกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ลงลึกเข้าไปในจิตใต้สำนึกได้ ต้องผ่านประสบการณ์ตรง ไม่ว่าจะเป็นละครสวมบทบาทก็ดี และกิจกรรมในวอยซ์ไดอะล็อคระดับลึกก็ดี (วอยซ์ไดอะล็อคคือการสนทนากับส่วนต่าง ๆ ในตัวเรา ส่วนต่าง ๆ ของจิตใจเรา ที่เป็นเราด้วย เพื่อคลี่คลายศักยภาพอันเต็มบริบูรณ์ของเราออกมา)
สอง องค์ประกอบของหลักสูตร
    เนื่องด้วยหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่เป็นหลักสูตรแบบการเรียนรู้กระบวนทัศน์ จึงจะเป็นหลักสูตรที่ต่างจากหลักสูตรในระบบโรงเรียนโดยทั่วไป กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้จะเป็นศิลปะไม่น้อยไปกว่า ความเป็นศาสตร์ และจะสอดคล้องไปกับผู้เรียน และบริบทหรือสิ่งแวดล้อม ความเป็นมาของผู้เรียน มากกว่า หลักสูตรมาตรฐานอันแข็งทื่อ ดังนั้นจึง จะไม่มีกำหนดการอย่างตายตัว หากเพียงมีรายการองค์ความรู้ เป็นองค์ประกอบหลัก ๆ ของหลักสูตร ส่วนการเชื่อมร้อย ลำเลียง นำพากิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้ จะเป็นหน้าที่ของกระบวนกรหลัก จะร้อยเรียงเชื่อมโยง องค์ความรู้ต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตัวกระบวนกรหลักเอง อย่างเหมาะสมกับผู้เรียนรู้ บริบทของผู้เรียนรู้ องค์ประกอบอันหลากหลายอันเกิดจากความเป็นไป ณ ขณะนั้น ๆ ของกิจกรรมการเรียนรู้ อันเป็นศิลปะชั้นสูงของกระบวนการเรียนรู้แบบจิตวิวัฒน์
 
แต่สิ่งที่จับต้องได้ในทางศาสตร์ อาจจะก่อประกอบเป็นองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ดังนี้
องค์ความรู้ที่หนึ่ง ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ในปัญญาสามฐาน ที่มี เจตจำนง อารมณ์ความรู้สึก และความคิด ในมิติด้านต่าง ๆ ของชีวิต การเติบโตของบุตรธิดา และแบบฝึกหัดที่จะนำพาไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริง ตลอดจนการนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างต่อเนื่อง ในการเลี้ยงลูกของพ่อแม่แต่ละคน
องค์ความรู้ที่สอง วินัยจากภายใน และการเป็นองค์กรจัดการตัวเองของเด็ก ๆ แยกแยะองค์ความรู้ที่หนึ่ง มาสู่การปฏิบัติที่ลุ่มลึกยิ่งขึ้น คือ การพัฒนาเจตจำนง แรงบันดาลใจ ความมุ่งมั่นในชีวิตการงานของเด็ก สำหรับเด็กเล็กไปจนถึงวัยรุ่นและเด็กโต 
ความหมายของการเป็นองค์กรจัดการตัวเอง ความเข้าใจผ่านประสบการณ์และการปฏิบัติที่เป็นไปได้จริง วิถีแห่งการพูดและฟัง ตลอดจนการจัดการที่เหมาะสมกับปัญหาวินัยต่าง ๆ เพื่อก่อเกิดความเป็นองค์กรจัดการตัวเองของเด็กจริง ๆ จัง ๆ ละครสวมบทบาท เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริง
การออกแบบพื้นที่แห่งความเป็นองค์กรจัดการตัวเองของเด็กและจัดทำแผนที่การเรียนรู้เรื่องวินัยของเด็ก ๆ
 
องค์ความรู้ที่สาม ปัญญาอารมณ์หรืออีคิว อิทธิพลสังคมสมัยใหม่ ที่เรารับมาทางโลกตะวันตก เราได้เริ่มปฏิเสธการรับรู้อารมณ์และเข้าใจอารมณ์ เราไม่รู้ว่า ทำไมต้องมีอารมณ์ อารมณ์ทำงานอย่างไร ในสมอง มีส่วนอย่างไรในการสร้างสรรค์ปัญญา ทำไม เราจึงเรียกอีคิวว่า ปัญญาอารมณ์?
    เราจะรับรู้อารมณ์ในลูก ๆ ของเราได้อย่างไร? มันมีผลดีอย่างไร ถ้าลูกของเราเติบโตขึ้นมาด้วยปัญญาอารมณ์ที่เติบโต เราจะทำอย่างไร ลูกของเราจึงจะมีพื้นที่ที่จะพัฒนาปัญญาอารมณ์ขึ้นมาได้
องค์ความรู้ที่สี่ การดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย เมื่อความหมายร้อยเชื่อมแผนที่ไปสู่ขุมทรัพย์แห่งการเรียนรู้ของเด็ก การหล่อเลี้ยง ความรักในการเรียนรู้ไว้ได้ตลอดชีวิตหนึ่งของเด็ก ๆ
องค์ความรู้ที่ห้า ความรู้เรื่องสมอง ที่ทำให้เราเข้าใจการเสพติดบริโภคนิยม เรียนรู้กลไกการทำงานของสมอง ที่ทำให้เราเสพติดในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เรารู้วิธีที่จะป้องกันการเสพติด เช่นเสพติดเกม โทรทัศน์และวิถีชีวิตที่ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ
องค์ความรู้ที่หก การซักซ้อมทางจินตนาการ (mental rehearsal) เพื่อสร้างวงจรสมองใหม่ เพื่อสร้างพฤติกรรมใหม่ตัวตนใหม่ ทั้งของพ่อแม่และลูก โดยเริ่มจากพ่อแม่ก่อน องค์ความรู้นี้ เป็นความรู้ความเข้าใจในการทำงานของสมองส่วนหน้า หรือตาที่สาม ในงานวิจัยล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์ต่าง ๆในระดับโลก เราสามารถนำองค์ความรู้เหล่านี้ มาแก้ปัญหาอาการเสพติดต่าง ๆ ตั้งแต่เล็กไปถึงใหญ่ รวมถึงการสร้างพฤติกรรม และนิสัยใหม่ ๆ อันพึงประสงค์ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐาน ที่อาจสร้างตัวตนใหม่ขึ้นมาได้
องค์ความรู้ที่เจ็ด วอยซ์ไดอะล็อคระดับลึก ที่ใดมีแสงสว่างที่นั่นย่อมก่อให้เกิดเงา นี่เป็นจุดเริ่มต้นของวอยซ์ไดอะล็อค หรือการสนทนากับเสียงภายในของเรา คนที่ผ่านหลักสูตรพื้นฐานมาแล้ว คงได้สัมผัสกับวอยซ์ไดอะล็อคมาบ้างแล้ว แต่นั่นเป็นเพียง เศษหนึ่งส่วนร้อยขององค์ความรู้ หรือวิถีปฏิบัติที่จะก่อเกิดผลในด้านบวกกับท่าน ชีวิตท่านและการเรียนลูกของท่าน แต่หลายคนก็ได้เห็นศักยภาพของวอยซ์ไดอะล็อคที่เรานำกลับไปทำการบ้านกับตัวของเราเอง
แต่ในครั้งนี้ เราจะนำเสนอหลักสูตรวอยซ์ไดอะล็อคระดับกลาง ที่เราจะได้เห็นกลวิธีการเก็บไพ่อย่างชัดเจนขึ้น มากกว่าหลักสูตรเบื้องต้น เราจะได้เรียนรู้ถึงตัวตนบางตัวที่จะนำพาเราให้เราสามารถเก็บไพ่ หรือศักยภาพที่ซ่อนเร้น ของเราได้อย่างเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น
องค์ความรู้ที่แปด เมื่อสามเอสเสริมแรง คือ สภาวะจิต ระดับจิตร่วม และการทำงานกับเงา เพื่อสร้างโลกใบใหม่ เข้าใจการดำเนินไปสู่จิตวิวัฒน์เต็มรูปแบบกับสามเอสของ เคน วิลเบอร์ ทบทวนเรื่องราวที่เราได้เรียนเรื่องสภาวะจิตจากหลักสูตรเบื้องต้น เชื่อมต่อมันเข้ากับการทำงานกับเงาหรือวอยซ์ไดอะล็อค ดูว่ามันจะเสริมส่งกันและกันได้อย่างไร
    นอกจากนี้ เราจะเข้ามาดูมิติของระดับจิตร่วม ว่าเราจะสร้างสรรค์ชุมชนขึ้นมารองรับ ความดีงามที่กำลังจะก่อเกิดเหล่านี้ได้อย่างไร ทำอย่างไร การเรียนรู้ในสี่วันของเราจะสามารถได้รับการหล่อเลี้ยงให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป
องค์ความรู้ที่เก้า บทเรียนการ "การศึกษาเพื่อความเป็นไท" ของอดัม เคิร์ล เพื่อความเข้าใจในการจัดที่ทางการศึกษาให้ลูก ๆ อดัม เคิร์ล ถอดความเข้าใจในระบบการศึกษาอย่างถึงราก หากเราเข้าใจการศึกษาอย่างถ่องแท้ เราอาจสามารถเลือกระบบการศึกษา หรือ เลือกสถาบันการศึกษาที่เหมาะสมให้แก่ลูกของเราได้

ดูจะเข้าข้างนกอินทรีย์เป็นพิเศษนะคะ ผู้นำแบบนกอินทรีย์ส่วนใหญ่ ถ้าไม่เรียนรู้พฤติกรรมของสัตว์อื่นๆอีก 3 ชนิดก็คือนักบินหวืดดีๆนั่นแหละค่ะ เพราะว่าดีแต่คิด วางแผนไม่ลงมือทำเลยไม่รู้ปัญหาที่แท้จริงของงาน ก็คือสั่งอย่างเดียว แต่ให้ทำเองไปไม่รอด ง่ายๆคือทำงานไม่เป็นชิ้นเป็นอันนั้นแหละ ได้แต่คิดๆสั่งๆ ท่าดีทีเหลวอะไรประมาณนี้ค่ะ ปรับปรุงตัวนะ ผู้นำแบบนี้ลูกน้องอาจจะไม่เกรง และไม่รัก เพราะไม่เก่งแถมไม่ลงมาทำจริงกับลูกน้องอีกต่างหาก พักค่ะ พักก่อน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท