ที่ว่างของนักวิจัยตัวน้อยๆ -------> จากงานวิจัยระดับตติยภูมิ R2R


ทบทวน ทบทวน เพื่อมองที่ว่างสำหรับคนตัวน้อยๆ ที่จะยืนอยู่ได้อย่างมีความสุข ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่มีเงื่อนไข

 

จากรายงานการวิจัยที่ทาง สวรส. ส่งมาให้อ่านแบบภายใต้ข้อจำกัดของเรื่องเวลา และจำนวน paper ที่ผกผันกัน คือ จำนวน paper มากแต่เวลาในการอ่านน้อย ผู้อ่านก็ต้องยิ่งใช้ความตั้งใจในการอ่านมากยิ่งขึ้น

 

 

จากการอ่านงานวิจัย 125 + 20 เรื่องในกลุ่มที่ทาง สวรส. จัดเป็นกลุ่มระดับตติยภูมิ ประกอบด้วยตั้งแต่โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย เมื่ออ่านพบว่า แนวคิดของงานวิจัยนั้นสะท้อนอะไรให้เห็นหลายๆ อย่าง ความแตกต่างของงานวิจัยมีมากตั้งแต่นักวิจัยหน้าใหม่ ไปจนถึงนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญระดับรองศาสตราจารย์ ไปจนถึงงานวิจัยของผู้ที่มีการันตรีที่เป็นปริญญาโท-เอก...

 

ครั้งแรกข้าพเจ้าก็ค่อนข้างมึนงง ว่านี่เป็น R2R หรือเป็นเวที R อย่างเดียว (R = Researcher) ทำให้นึกถึงพี่แดงคนน้อยๆ หัวใจใหญ่แห่งโลกเล็กๆ R2R ของยโสธร หากว่าพี่แดงส่งงานวิจัยเข้ามา งานของพี่แดงอาจจะไม่เข้าข่าย เพราะงานของพี่แดงมีแต่หัวใจ แต่ขาดความเป็นวิชาการ ขาดระเบียบวิธีวิจัยที่เคร่งครัดและเป็นขั้นสูง

 

ข้าพเจ้ากลับมาทบทวนตนเอง ข้าพเจ้าหลงทางหรือเปล่า เพราะข้าพเจ้าจะบอกตนเองและทีมเสมอว่า ขอตั้งต้นเพียงแค่ว่า ปัญหาในงาน คือ อะไร และจะทำอะไร กระบวนการเป็นอย่าง ผลเป็นอย่างไร ... อย่าเพิ่งไปเคร่งเครียดกับระเบียบวิธีวิจัยมากนัก เอาแบบง่ายๆ เป็น Action Research หรือจะเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ไม่ต้องไปปวดหัวกับสถิติ หรือระเบียบวิธีวิจัยที่เข้าใจยาก

 

ทำเรื่องเล็ก ๆ แต่ยิ่งใหญ่ในหัวใจคนทำ 

 

ข้าพเจ้า...หวังว่า เวที R2R ที่นำการขับเคลื่อนโดย สวรส. นี่น่าจะเป็นเส้นทางได้สำหรับคนทำงานตัวน้อยแต่มีหัวใจอันยิ่งใหญ่ (เป็นเพียงความหวังส่วนตน แต่ความหวังนั้นก็มีความไม่แน่ใจแอบซ่อนอยู่ แต่ก็ยังอยากหวังอยู่แบบลึกและแบบกว้าง) เพราะเวทีสำหรับเขาเหล่านี้มีน้อยเหลือเกิน เพราะถูกเบียดไปด้วยความยิ่งใหญ่จากเงื่อนไขทางวิชาการและสังคม

 

นักวิจัยหรือผู้มีทักษะ ความชำนาญในการทำวิจัย ข้าพเจ้ามองว่า กลุ่มคนเหล่านี้มีโอกาสมากกว่า กลุ่มคนทำงานเล็ก ที่ไม่เคยรู้เรื่องวิจัยมาก่อน แต่อยากทำวิจัยเพื่อพัฒนาตนเอง เพื่อพัฒนางาน

 

ข้าพเจ้าครุ่นคิด (เอาเอง) ต่อไปว่า...

กระบวนท่าต่อไป ที่ข้าพเจ้าจะไปทำต่อ ใน R2R ที่บ้านของตนเองนั้นควรจะทำอย่างไรดี ควรจะเป็นไปแนวทางเดิมคือ เน้นใจ เน้นสุข หรือจะเน้นความวิชาการ แต่ข้าพเจ้าก็ไม่อยากบังเบียดจิตใจคนทำงานด้วยการยัดเยียดวิชาการที่มากไปให้เขาเหล่านั้น ข้าพเจ้ายังเชื่อมั่นในจุดเดิมว่า กระแสที่สวนทางกันระหว่าง ความสุข กับ ความเป็นวิชาการ จะทำอย่างไรให้เดินไปด้วยกันได้แบบไม่สวนทาง

 

คือ...

เรียนรู้ วิจัย วิจัย วิจัย  วิจัย... แต่เป็นการเรียนรู้อย่างมีความสุข

 

นี่คือ โจทย์ที่ข้าพเจ้าจะนำทางในการเดินทางต่อไป...

 

 

 .........................................................

 

 

 Note: ตอนนี้มีอะไรอยากทำมากมายเลย โทรหาคุณเอื้อ - พี่อุไร ชำนาญค้า รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล...ตั้งแต่เช้า

  • ผลพวงจากการตัดสินเป็นเพียงของแถม
  • แต่กำไร คือ ความสุขจากการที่ได้ทำ

หมายเลขบันทึก: 183618เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2008 12:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับคุณKa-Poom

            ปัญหาในงาน คือ อะไร และจะทำอะไร กระบวนการเป็นอย่าง ผลเป็นอย่างไร ...

             หลักการนี้น่าจะได้ผลดีสำหรับ R2R ครับ...จะหาอ่านตัวอย่างสมบูรณ์ได้ที่ไหนครับ...จะได้เป็นแนวทางให้เพื่อนร่วมอุดมการณ์อ่านบ้างครับ...

                                                        โชคดีครับผม

ตามมาอ่านบันทึกต่อจากบันทึกที่แล้ว...

เหมือนเดิมครับ...

เห็นด้วยและอยากให้มีพื่นที่นี่เยอะๆ ในทุก ๆ แวดวงครับ ไม่เฉพาะแวดวงการศึกษาและแวดวงสาธารณสุขครับผม...

ขอบคุณครับ...

กะปุ๋มถ่ายทอดบันทึกนี้ได้โดนใจมากๆค่ะ เพราะคิดเหมือนกะปุ๋มแต่ไม่รู้จะถ่ายทอดอย่างไร

เรามีความหวังเหมือนกันนะ กะปุ๋ม  "พื้นที่ของคนทำงานตัวน้อยๆ แต่มีหัวใจอันยิ่งใหญ่"

หลักการ “ปัญหาในงาน คือ อะไร และจะทำอะไร กระบวนการเป็นอย่าง ผลเป็นอย่างไร” น่าจะยังหลักใหญ่สำหรับ R2R นะ  เพียงแต่เติมวิชาการลงไปพอเป็นน้ำจิ้ม ให้เขารู้สึกว่าเป็นน้ำจิ้ม ที่ช่วยทำให้อาหารจานโปรดมีคุณค่ามากขึ้น ไม่ใช่ยาขมแต่อย่างใด

พูดง่าย แต่อาจทำไม่ง่าย  ขอเป็นกำลังใจให้กะปุ๋มและคนตัวน้อยหัวใจยิ่งใหญ่ของรพ.ยโสธรค่ะ

สวัสดีค่ะ กะปุ๋ม

  • .....เข้าใจความรู้สึกของคนตัวเล็ก...แต่หัวใจนางฟ้าเช่นกะปุ๋มดีค่ะ....
  • คนตัวเล็กที่เป็นผู้ปฏิบัติ....จำกัดทรัพยากรไปซะทุกอย่าง...ต่อให้ใจใฝ่อยากทำใจแทบขาด...จะถามใคร...?ไม่มีโอกาส....มันคล้ายกับบอกว่า...เลือกเกิดไม่ได้....
  • อยากให้มีเวทีสำหรับ"คนตัวเล็ก"โดยเฉพาะค่ะ...(คล้ายHA-ของอ.อนุวัฒน์)...ไม่ต้องประกวดก็ได้...ให้มันทำง่ายอย่างกะปุ๋มว่ามาน่ะแหละ...ขอเพียงมีคำแนะนำเพิ่มเติมทางวิชาการ วิจัย ให้เหมาะในงานของเขา  เอาง่ายๆที่เขาเข้าใจและทำได้ง่ายเติมกำลังใจ  และเห็นใจ  ...พาเขาหัดเดิน...และเข้าใจ"หัวใจ"ของเขาก็พอ...
  • ...คงไม่ต้องถึงกับให้เขาอาจหาญทยานแข่งกับมืออาชีพหรอกค่ะ...ให้เขาแข่งกับตัวเองโดยมีโค้ชก็พอ....เป้าหมายเพื่อพัฒนางานเค้า...อย่างมีหลักวิชา...หาใช่ต้องการเป็นนักวิจัยมืออาชีพไม่....

            ......ขอบคุณน้องกะปุ๋มเหลือเกิน...สำหรับทุกๆอย่างค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่กะปุ๋ม

มาทักทาย เหนื่อยไหมคะ

* เรื่องเล็ก ๆ แต่ยิ่งใหญ่ในหัวใจคนทำ”  

...

เป็นกำลังใจให้พี่ตลอดไปนะคะ

คิดถึง มีความสุขกับธรรมชาติค่ะ

มีแว้ป...หนึ่ง ของความคิดในส่วนที่ไม่ดีผลุดขึ้นมา...ว่า

"เราไม่ทำเราก็ไม่เดือดร้อน...เรามายุ่งวุ่นวายทำไม เราไม่ได้หวังสิ่งใดใดตอบแทน..."

แต่ความคิดนี้ผลุดขึ้นมาเพียงเสี้ยววินาที...ก็ดับไป

ก็ยังคงเจตนาเหมือนเดิมที่อยากจะช่วยเหลือและแบ่งปันกับคนทำงานคนอื่นๆ...ทั้งที่ไม่เป็นการเบียดเบียนตนเอง และไม่เบียดเบียนผู้อื่น ... ไม่ปรารถนาแม้แต่คำสรรเสริญใดใด...ทั้งสิ้น

หากว่า...มีใครเห็นว่าเรามี...ประโยน์พอทำการสิ่งใดได้ในทางที่ดี ก็จะพยายามให้ความร่วมมือ...

(^____^)

 

เข้าใจความรู้สึกของคุณกะปุ๋มดีค่ะ ในฐานะที่เป็นเลขาของกก.ประกวด คิดว่าเป็นครั้งแรกของสวรส.ที่จัดงาน เป็นบทเรียนว่าต้องเปิดเวทีให้คนตัวเล็กๆ มีความสำเร็จเล็กๆที่ภาคภูมิใจของตัวเองแยกออกจากผู้ที่เป็นผู้ชำนาญ เพราะเห็นผลงานมารวมกันแล้วก็อึ่งไปเหมือนกันค่ะ แต่กลุ่มทุติยภูมิและปฐมภูมิไม่ผิดหวังเลยค่ะ

องค์การอนามัยโลกให้คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก(31 พฤษภาคม) ว่า เยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมใจต้านภัยบุหรี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท