ภาระกิจการถ่ายโอนจากสา..สุข สู่อบต.


ภาระกิจการถ่ายโอน

ปัจจุบันตามภาระกิจการถ่ายโอนจาก ก.สา....สุข ไปสู่อปท. ทั่วประเทศ ณ วันนี้มีเพียงแค่ 22 แห่ง ซึ่ง อบต.ปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นหนึ่งในยี่สิบสองแห่ง ซึ่งเพิ่งถ่ายโอนเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2550 นี้เอง และจากการที่ผมได้ลงไปฝึกปฏิบัติงาน พอที่เก็บมาแลกเปลี่ยนกันได้บ้างไม่มากก็นิดหนึ่งละคับ

การถ่ายโอนอำนาจสาธารณสุขสู่ อบต. ปากพูน

มุมมองของเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลและ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข

 

ก่อนการถ่ายโอน

หลังการถ่ายโอน

-หน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องจะดูแลโดยตรง อบต.เป็นหน่วยงานสนับสนุน  สายประสานงาน

 

- สถานีอนามัย ดำเนินงานเอง เขียนแผนงานและโครงการ มาขอสนับสนุนงบประมาณจากอบต.

-งานซ้ำซ้อน สถานีอนามัย และ อบต. ต่างปฏิบัติหน้าที่ของตัวเอง

-งบประมาณ ไม่สามารถจ่ายได้เต็มที่เนื่องจากติดกฎระเบียบ

-กฎระเบียบในการใช้จ่ายเงินบำรุงของสถานีอนามัย ใช้ภายใต้ระเบียบราชการ

-ความก้าวหน้าทางด้านอาชีพ เป็นตามระเบียบของราชการ

 

-ด้านสวัสดิการ ตามระเบียบราชการ การเบิกค่ารักษา เบิกจ่ายตรง และต้นสังกัด

 

 

-ภาระกิจงานของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย รายงานภายใต้ระบบงานกระทรวงสาธารณสุข

 

 

 

-หน่วยงาน อบต. เป็นผู้บริหารโดยตรงหน่วยงานสาธารณสุขเป็นหน่วยงานสนับสนุน สายประสานงาน

 

-อบต. สามารถกำหนดแผนการทำงานได้เอง  สามารถดำเนินการได้เองและทำงานได้อย่างรวดเร็วและเต็มที่

-ลดความซ้ำซ้อนสามารถบูรณาการงานด้วยกันได้ ทำงานได้เร็วขึ้น

-สามารถจ่ายงบประมาณได้อย่างเต็มที่ตามแผนงานโครงการ

-กฎระเบียบในการใช้จ่ายเงินบำรุงยังไม่มีระเบียบมารองรับที่ชัดเจน

-ความก้าวหน้าเหมือนเดิม เปลี่ยนสายบังคับบัญชา โอกาสสูงขึ้น เนื่องจากหัวหน้ากองมีระดับสูงขึ้น

-บุคคลที่ขึ้นทะเบียนเบิกจ่ายตรงแล้วจะเหมือนเดิมส่วนบุคคลที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนอยู่ในระหว่าการดำเนินการ สวัสดิการด้านอืนยังไม่ชัดเจนแต่จะไม่น้อยกว่าเดิม

-ภาระกิจงานของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย รายงานภายใต้ระบบงานองค์การบริหารส่วนตำบล และรายงานต่อ เครือข่ายบริการสุขภาพและ ระบบหลักประกันสุขภาพ

 

มุมมองของผู้รับบริการ

ก่อนการถ่ายโอน

หลังการถ่ายโอน

- ภารกิจด้านส่งเสริมสุขภาพจะประสานผู้นำชุมชนโดยตรงเช่น ผู้ใหญ่บ้าน

- ได้รับการแก้ไขปัญหาต่างๆ ช้า มีขั้นตอนมาก

- ภารกิจด้านสุขภาพอยู่ที่อบต. โดยตรง

- การตอบสนองต่อความต้องการรวดเร็วขึ้น ได้รับการสนับสนุนด้านสวัสดิการต่างๆ มากขึ้นเช่นรถรับส่งผู้ป่วย ทุนการศึกษาด้านสุขภาพมีมากขึ้น

 

การตัดสินใจในการถ่ายโอนอำนาจ

 

สถานีอนามัย

องค์การบริหารส่วนตำบล

1.       เพื่อพัฒนาสุขภาพของประชาชน

2.       การถ่ายโอนเป็นภารกิจที่ต้องทำเป็นไปตาม พรบ

3.       นำร่องในการถ่ายโอน เพื่อวางแบบแผนในการดำเนินงานให้แก่สถานีอนามัยต่อไป

4.       เพื่อการได้รับการสนับสนุนงบประมาณ และบุคลากร จากองค์การบริหารส่วนตำบลได้อย่างเต็มที่

5.       สามารถถ่ายโอนกลับได้เมื่อประสบปัญหา

6.       สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ด้อย กว่าเดิม ประชาชนได้รับผลประโยชน์มากขึ้น

7.       แนวคิดการดำเนินงานของผู้นำ และ แผนงานของอบต. ต่อการดำเนินงานด้านสาธารณสุข 

1. เพื่อพัฒนาสุขภาพประชาชน

2. ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ด้านสุขภาพว่าเป็นของทุกคน

3. การถ่ายโอนเป็นภารกิจที่ต้องทำเป็นไปตาม พรบ

4. นำร่องในการถ่ายโอน เพื่อเป็นต้นแบบในการถ่ายโอน

5. เพราะมีความพร้อมในการรับการถ่ายโอนสูง

6. เพื่อเป็นช่องทางในการบูรณาการงบ ประมาณร่วมกัน

7. เพื่อปลูกฝังให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ

 

 

มีอีกหลายประเด็น ได้ข่าวจากพี่ที่อยู่อบต.ล่าสุดว่าการถ่ายจะต้องดำเนินการให้ ภายใน 3 ปีนี้

สำหรับผมเองคิดว่า เห็นด้วยอย่างมากที่มีการถ่ายโอน แต่ให้ดูในเรื่องของวิสัยทัศน์ของผู้องค์กร (นายกอบต.) เป็นเรื่องสำคัญ เมื่อถึงวันนั้นสำหรับอบต.ที่ไม่มีความพร้อมจะเกิดอะไรขึ้น

หมายเลขบันทึก: 182931เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2008 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 12:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท