หลัก 10 ประการเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลกของท่านมหาตมะคานธี (2)


เอาคำคมของท่านมหาตมะ คานธีจาก Gandhi’s Top 10 Fundamentals for Changing the World มาฝากต่อจากบันทึกที่แล้วค่ะ

4. หากไม่ลงมือทำก็ไม่เกิดอะไรขึ้น

การลงมือฝึกฝนเพียงน้อยนิด มีค่าหนักหนากว่าการท่องบ่นมากมาย

หากไม่ลงมือปฏิบัติ ก็จะไม่เห็นผลอะไร หากแต่การลงมือกระทำอาจจะยากลำบาก จะมีแรงต้านมากมายจากภายใน จึงทำให้คุณชอบที่จะพูดหรืออ่านและศึกษาไม่รู้จบมากกว่า ดังที่ท่านคานธีกล่าวไว้ แล้วก็รู้สึกว่าตัวเองก้าวไปข้างหน้า แต่มีผลงานออกมาในชีวิตจริงน้อยมากหรือไม่มีเลย

ดังนั้น เพื่อให้ไปถึงที่ที่คุณคาดหวังและเพื่อให้เข้าใจตนเองและโลกอย่างแท้จริง คุณต้องลงมือทำ หนังสือให้ได้แต่ความรู้ คุณต้องลงมือปฏิบัติและแปลงความรู้นั้นให้เกิดผลและความรู้แจ้ง

5. เอาใจใส่กับปัจจุบัน

ฉันไม่ต้องการเห็นอนาคต ฉันสนใจการดูแลปัจจุบัน พระเจ้าไม่ได้ให้อำนาจฉันในการควบคุมเวลาถัดๆไป

ฉันพบว่าวิธีที่ดีที่สุดที่จะเอาชนะแรงต้านภายในที่คอยยับยั้งไม่ให้เราลงมือทำสิ่งใด ก็คือการจดจ่อรับรู้กับปัจจุบันให้มากที่สุด

เหตุผลนั่นหรือ เมื่อคุณอยู่กับปัจจุบัน คุณก็จะไม่ต้องกังวลกับเวลาถัดไปซึ่งยังไงคุณก็ควบคุมไม่ได้อยู่ดี แล้วแรงต้านที่ยับยั้งการลงมือทำของเราที่มาจากการจินตนาการถึงผลลบที่จะตามมา หรืออดีตที่ล้มเหลวก็จะลดกำลังลง จึงทำให้ง่ายขึ้นทั้งต่อการลงมือทำจริงและทำให้เราเอาใจใส่กับปัจจุบันและทำอะไรๆได้ดีขึ้น

หมายเลขบันทึก: 182562เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2008 01:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตอนนี้ ต้องท่องไว้แล้วค่ะ ปัจจุบันๆๆๆ

หลัก 10 ประการเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลกของท่านมหาตมะคานธี
1. เปลี่ยนตนเอง

2. คุณคือผู้ควบคุม
3. ให้อภัยและปล่อยวาง
4. หากไม่ลงมือทำก็ไม่เกิดอะไรขึ้น
5. เอาใจใส่กับปัจจุบัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท