ประเมินความพร้อมก่อนที่จะขอรับการตรวจขั้นที่ ๕


ครูที่เป็น ผบ.ลส.จะขอรับการตรวจขั้นที่ ๕ เพื่อขอรับเครื่องหมายวูดแบดจ์ ลองประเมินตนเองก่อนว่ามีความพร้อมด้านต่าง ๆ เหล่านี้หรือไม่ ถ้าไม่มีก็ควรจะได้พัฒนาตนเองขึ้นให้มีในกองลูกเสือโรงเรียน

ครูที่เป็น ผบ.ลส.จะขอรับการตรวจขั้นที่ ๕ เพื่อขอรับเครื่องหมายวูดแบดจ์ ก่อนที่จะเชิญผ้ทรงคุณวุฒิมาประเมินจริง  ลองประเมินตนเองก่อนว่ามีความพร้อมด้านต่าง ๆ เหล่านี้หรือไม่ ถ้าไม่มีก็ควรจะได้พัฒนาตนเองขึ้นให้มีในกองลูกเสือโรงเรียน

แบบประเมินผล  ความพร้อมของกองลูกเสือโรงเรียน  เพื่อขอรับการตรวจขั้นที่ 5

คำชี้แจง   ให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ  หรือผู้บริหารโรงเรียน  ประเมินผลด้วยการทำ เครื่องหมาย ü

   ท้ายข้อความที่ตรงกับ  มี หรือ ไม่มี

ที่

รายละเอียดที่ประเมิน

มี

ไม่มี

1

สมัครเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือแล้ว( ลส.13 )

 

 

2

จัดการเรียนรู้ตามพิธีการลูกเสือ  5 ขั้นตามประเภทของลูกเสือที่ขอตรวจ

 

 

3

มีแผนการสอนต่อเนื่อง  เป็นปัจจุบัน สอนมาแล้ว 4 เดือน ตามหลักสูตร

 

 

4

ฝึกระเบียบแถว ให้กับลูกเสือ (เฉพาะลูกเสือสำรอง)

 

 

5

ฝึกพิธีสวนสนามทั้งลูกเสือสามัญ/สามัญรุ่นใหญ่และผู้บังคับบัญชา

 

 

6

มีหลักฐานบันทึกการประชุมนายหมู่ลูกเสืออย่างต่อเนื่อง  ( ทั้งลูกเสือสามัญ/สามัญรุ่นใหญ่ ) 

 

 

7

การใช้ไม้ถือของผู้บังคับบัญชาและการใช้อาวุธ (ไม้พลอง-ไม้ง่าม )

ของลูกเสือ  สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องและดูเป็นธรรมชาติ คล่องแคล่ว

 

 

8

เตรียมเอกสารงานด้านธุรการ  จัดทำให้เป็นปัจจุบัน

 

 

9

จัดทำ  ลส.6,ลส.7,ลส.8 ( ทะเบียนกองลูกเสือแต่ละประเภท )  

 

 

10

จัดทำ  ลส.2(ใบสมัครขอเป็นผู้กำกับ) ลส.3 (ใบสมัครเข้าเป็นลูกเสือ)

 

 

11

จัดให้มี  ลส.11(ใบตั้งกลุ่ม) ลส. 12( ใบตั้งกอง ) และลส.13 (ใบแต่งตั้งผู้บังคับบัญชา)

 

 

12

จัดทำ  ลส.19(ใบเสร็จรับเงิน) เป็นปัจจุบัน

 

 

13

จัดทำ ห้องลูกเสือ  และ  ห้องประชุมนายหมู่

 

 

14

จัดทำ  สื่อการสอน หีบอุปกรณ์  อุปกรณ์ฝึกภาคสนาม

 

 

15

จัดหา หนังสือ คู่มือต่าง ๆ และเอกสารที่ใช้ในการศึกษา

 

 

16

จัดทำธงประจำกอง ธงประจำหมู่ เสาธงลอย และธงชาติ

 

 

17

จัดหา พระบรมรูป ร.6 , .9 และรูปลอร์ดเบเดนโพเอลล์

 

 

18

เตรียมสถานที่ฝึกภาคสนาม และอุปกรณ์อื่น ๆ

 

 

19

ลูกเสือสามารถปฏิบัติตนตามข้อ 2 ข้อ 4 และ ข้อ 6 ได้

 

 

20

ผู้บังคับบัญชาลูกเสือมีส่วนร่วมในการพัฒนากองลูกเสือทุกคน

 

 

หมายเหตุ           1.   กองลูกเสือสำรองไม่ต้องตอบข้อ 5-6-7      

                                2. ใช้สำหรับการประเมินความพร้อมหรือนิเทศภายใน  ก่อนรับการตรวจขั้นที่ 5

                                3.  กองลูกเสือควรมีความพร้อมทุกรายการ     และซ่อมเสริมพัฒนาในส่วนที่ไม่มี

การสอนลูกเสือ  เป็นภารกิจของครูที่ต้องพัฒนาเยาวชน  ตามกระบวนการลูกเสือ ด้วยวิธีการจัดฝึกอบรมที่ก้าวหน้าสนุกสนานดึงดูดใจ  โดยอาศัยคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือเป็นบรรทัดฐานโดยมีผู้ใหญ่คอยให้การแนะนำ เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย  สติปัญญา  จิตใจ  และศีลธรรม   ให้เป็นพลเมืองดี   มีความรับผิดชอบ   ช่วยสร้างสรรค์สังคม  ให้มีความเจริญก้าวหน้า  เพื่อความสงบสุข  และความมั่นคง ของประเทศชาติ 

                  

 

 

คำสำคัญ (Tags): #scousting for boy
หมายเลขบันทึก: 182533เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2008 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท