ร่างหนังสืออย่างไรดี


การร่างหนังสือไม่ยากอย่างที่คิด

         ร่างหนังสืออย่างไรดี วันนี้อยากเก็บความรู้เกี่ยวกับการร่างหนังสือมาฝากกัน และสิ่งที่จะช่วยให้เราสามารถร่างหนังสือได้ง่ายขึ้น ก็คือต้องทำความเข้าใจหลักของการร่างหนังสือก่อน ลองอ่านดูนะคะเผื่อว่าจะได้นำไปใช้ประโยชน์และช่วยให้ร่างหนังสือได้ง่ายขึ้น        

 ข้อความ /เนื้อหาของหนังสือ

                          คือ  เนื้อหาสาระที่ต้องการจะให้ผู้รับได้ทราบข้อความในหนังสือจะต้องชัดเจนเข้าใจง่ายและมีสาระครบถ้วน เนื้อหาในหนังสือราชการแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

          1.ส่วนเหตุ

          2.จุดประสงค์

          3.สรุป

    1. ส่วนเหตุ  เป็นส่วนเริ่มต้นของเนื้อหา เป็นข้อความที่กล่าวถึงสาเหตุที่มีหนังสือไป หรือแจ้งให้ผู้รับทราบว่าหน่วยงานของผู้เขียนจะทำอะไร หรือมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น

           คำที่ใช้ขึ้นต้นเนื้อความ

     ?ในกรณีที่เป็นเรื่องใหม่   ขึ้นต้นด้วยคำว่า ด้วย หรือ เนื่องด้วย เช่น

         ด้วยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จะจัดโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดทำหนังสือราชการ ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2549 ณ ห้องประชุมเอกาทศรถ 1 รายละเอียดตามเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้

     ?ในกรณีที่เป็นเรื่องที่เคยติดต่อกันมาก่อน

        ขึ้นต้นด้วยคำว่า ตาม ตามที่ หรือ อนุสนธิ

         ปิดท้ายด้วยคำว่า  นั้น

    ?ในกรณีที่มีการอ้างอิงหนังสือฉบับเดิมด้วย

        ขึ้นต้นด้วยคำว่า ตามหนังสือที่อ้างถึง

        ปิดท้ายด้วยคำว่า ดังความละเอียดแจ้งแล้วนั้น หรือ ความทราบแล้วนั้น

เช่น

        ตามหนังสือที่อ้างถึงโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ขอความอนุเคราะห์อัตราค่าตอบแทน...........ของโรงพยาบาล..............เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำประกาศ  ดังความละเอียดแจ้งแล้วนั้น

         "คำที่ไม่ควรเขียนในหนังสือราชการ เช่น บัดนี้ บัดนั้น ให้ใช้คำว่า ในการนี้ แทน

               คำที่มักสับสนในการเขียนหนังสือราชการ คือ คำว่า ไปยัง กับ มายัง  วิธีการใช้ให้ยึดผู้ใช้เป็นหลัก

2. จุดประสงค์    

               เป็นข้อความในย่อหน้าที่ 2 ที่นับว่ามีความสำคัญ เพราะเนื้อความจะกล่าวถึงจุดประสงค์ของหนังสือฉบับนั้น ซึ่งจะต้องเขียนให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้รับหนังสือทราบว่าผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร เช่น

        โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร เห็นว่าท่านเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถทางด้านการ....................เป็นอย่างดี จึงใคร่ขอเรียนเชิญท่านเป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง “ ……….    ในวันที่ 8 กันยายน 2549   เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมเอกาทศรถ 1 อาคารสิรินธร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

               ในกรณีที่มีจุดประสงค์หลายประการ ควรแยกจุดประสงค์เป็นรายข้ออย่างชัดเจน เพื่อความสะดวกต่อการทำความเข้าใจและการนำไปปฏิบัติ

     3. สรุป

                เป็นส่วนสุดท้ายของการเขียนเนื้อหา ควรจะย่อหน้าบรรทัดใหม่ เริ่มต้นด้วยคำว่า  จึง แล้วตามด้วยข้อความที่บอกถึงจุดประสงค์ (ข้อความที่สรุปนี้จะต้องให้สัมพันธ์กับจุดประสงค์ในตอนต้น) เช่น

              { ในกรณีที่ต้องการเพียงให้ผู้รับได้รับทราบเนื้อหาในหนังสือ อาจใช้ว่า   

                     จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

                     จึงเรียนมาเพื่อทราบ

              { ในกรณีที่ต้องการเพียงให้ผู้รับดำเนินเรื่องตามขั้นตอนต่อไป อาจใช้ว่า     

                     จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการต่อไป

                     จึงเรียนมาเพื่อทราบและดำเนินการต่อไป

             { ในกรณีที่ต้องการให้ผู้รับตัดสินใจในเรื่องที่ปรากฏในหนังสือ อาจใช้ว่า

                    จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

                    จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์

                                     เมื่อได้ทราบถึงส่วนประกอบของหนังสือกันแล้วว่ามี ทั้งหมด 3 ส่วน คือ ส่วนเหตุ จุดประสงค์ และสรุป  ตามที่ได้อธิบายและยกตัวอย่างไว้ข้างต้น ครั้งต่อไปของการร่างหนังสือก็คงไม่ยากอย่างที่คิดแล้วค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #ร่างหนังสือ
หมายเลขบันทึก: 181872เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2008 08:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • สวัสดีค่ะ
  • มาเรียนรู้ แลกเปลี่ยน การร่างหนังสือ ค่ะ
  • ดีมาก ๆ ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ

เป็นความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ๆ

ทุกทีเวลาร่างหนังสือก็ยังไม่ได้ใช้หลักการอย่างนี้  ร่างตามใจฉัน  ตามตัวอย่างของรุ่นก่อน ๆ ซึ่งอาจจะผิดหลักการไปบ้าง

 

ขอบคุณค่ะที่มาแบ่งปันความรู้ ได้เพิ่มอีกเยอะเลย

ขอบคุณคะ ...ได้ประโยชน์มากมาก เลย...

เพิ่งรู้นะเนี่ยะ เพราะจริงๆแล้วไม่มีความรู้เรื่องหนังสือะรการเลย

โดยภาพรวมให้ความรู้ดีมากค่ะ แต่มีหลายสิ่งหลายอย่างยังสงสัยอยู่ อย่างเช่นคำว่าบัดนี้ ก็ยังเห็นหนังสือราชการใช้กันอยู่ ทำไมไม่ให้ใช้ กลับให้ใช้คำว่าในการนี้แทน ซึ่งคำว่าในการนี้ ความหมายคนละอย่างกับบัดนี้เลยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท