ประเทศไทยจะกลายเป็นทะเลทรายเพราะ ต้นกระดาษ...จริงหรือ??


ถ้าต้องการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอย่าแท้จริง ทำใมไม่เริ่มที่การลดการใช้กระดาษในสำนักงานล่ะ

ประเทศไทยจะกลายเป็นทะเลทรายเพราะ ต้นกระดาษ

เราไม่มีเจตนาที่จะทำลายหรือป้ายสีอะไรในบริษัท AA ทั้งนั้น
เพียงแต่ต้องการเปิดเผยความจริงแก่ทุกคน
อย่างที่หลายๆคนคงจะเห็นในโฆษณาเชิญชวนให้พี่น้องเกษตรกรหลายคนหันมา
ปลูกต้นกระดาษ โดยอ้างว่าปลูกแล้วจะรวยขึ้นทันตาเห็น
ก่อนอื่นอยากบอกก่อนว่าที่จริงต้นไม้ที่ว่านั้นก็คือ ต้นยูคาลิปตัสที่ได้ทำการดัดแปลงพันธุกรรมแล้วนั่นเอง
เราเป็นนักท่องเที่ยว ที่เพิ่งกลับมาจากแคมป์ปิ้งที่อุทยานแห่งชาติปางสีดา
ตามทิวเขาจะมีต้นไม้ที่ชาวบ้านนิยมปลูกกันมาก
ต้นไม้เหล่านั้นจะเรียงตัวกันเป็นแถวๆดูแล้วสวยงามสูงใหญ่
ภายหลังได้รู้ว่านั่นก็คือไร่ยูคาลิปตัสจากวิทยากรภายในอุทยานนั้น

ท่านวิทยากรได้พูดให้เราฟังว่า
การนำต้นยูคาลิปตัสหรือต้นกระดาษ มาปลูกนั้นเป็นเรื่องร้ายแรงมาก
ชาวบ้านไม่ควรนำต้นเหล่านี้มาปลูก
เพราะมันเป็นพืชต่างถิ่นท่านวิทยากรก็เสริมว่าต้นยูคาเป็นพืชเชิงเดี่ยว
เมื่อปลูก! แล้วจะส่งผลให้พื้นแผ่นดินในบริเวณนั้นแห้งผาก
เนื่องจากมันจะดูดซึมน้ำอย่างรวดเร็วและต้องการน้ำมาก
ทำให้รากของต้นๆหนึ่งอาจยาวได้ถึง 20 เมตรเลยทีเดียว
เมื่อดินบริเวณนั้นถูกดูดน้ำจนหมดผืนดินก็จะกลายเป็นทะเลทรายในที่สุด
ว่าแล้ววิทยากรก็หยิบดินให้เราดูแล้วโปรยลงพื้นมันคือทรายชัดๆ
แทนที่จะเป็นดินในป่าแบบนี้
แล้วเราอยากให้ทุกคนคิดดูถ้ามีการปลูกต้นกระดาษเป็นจำนวนมาก
ผู้คนได้ผลกำไรอย่างงอกงามในการทำธุร กิจกับแผ่นดินของชาติ
แต่นานๆไปเล่าจะเกิดอะไรขึ้น !
ผืนแผ่นดินไทยในอนาคตก็มีโอกาสจะกลายเป็นทะเลทรายได้
ไม่ใช่ว่าการปลูกต้นไม้ไม่ใช่เรื่องดีนะคะแต่สำหรับเจ้าต้นยูคานี้
เป็นต้นไม้ที่ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะปลูกในภูมิภาคแบบประเทศไทยเลย
ดิฉันเป็นแค่คนตัวเล็กๆไม่มีหน้าที่ใหญ่โตอะไรในวงสังคมไม่มีสิทธิ์ห้ามใครได้
แต่อยากให้ทุกคนช่วยเผยแพร่เรื่องนี้ด้วยนะคะ
ขอบคุณค่ะที่อ่านมาจนถึงตอนจบ............ 
=============================================================
 เหอๆ ผมก็เคยได้ยินข่าวนี้มาได้สักพักแล้วครับ แต่เพิ่งจะได้อ่านเป็นครั้งแรก ถ้าในมุมมองของคนที่ทำงานใน AA อย่างผมนะครับ เอาเป็นว่ามองอย่างเป็นกลางแล้วกันครับ ไม่ได้เป็นการแก้ตัวแทนบริษัทนะครับ ผมคิดว่าพืชทุกชนิดก็ต้องการน้ำ ปุ๋ย ดินเพื่อการเจริญเติบโตให้งอกงามครับ อย่าว่าแต่ยูคาเลยครับ ถ้าเราปลูกข้าวในที่ดินเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยขาดการบำรุงหน้าดิน แร่ธาตุในดินมันก็ต้องหมดไป และดินก็เสื่อมเป็นธรรมดาครับ ผมเคยเห็นยูคาปลูกในดินลูกรังแห่งหนึ่งครับ ต้นมันยังสามารถเจริญเติบโตได้ผมยังทึ่งเลยครับ แปลงยูคาที่เรามีเราก็ใช้น้ำที่บำบัดแล้วจากกระบวนการผลิตของเราเองครับ และเราก็มีแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ของเราเองซึ่งสามารถใช้ในกระบวนการผลิตได้ทั้งปี ไม่ได้รบกวนจากแหล่งน้ำธรรมชาติเลย ที่เราสนับสนุนให้ชาวบ้านปลูกยูคาเราแบ่งออกเป็นสองประเด็นครับ ประเด็นแรกคือปลูกแซมตามคันนาที่มีการปลูกข้าวอยู่แล้ว เพื่อที่ว่าชาวนาสามารถตัดยูคาไปขาดได้ในช่วงที่ราคาข้าวไม่ดี(ตอนนี้คงไม่ต้องการแล้วมั้งครับ555) เพราะมันไม่ได้ต้องการการบำรุงอะไรมากมายเลยครับ ประเด็นที่สองคือ คนที่มีพื้นที่ว่างเปล่า ถ้าเราปล่อยทิ้งไว้โดยที่ที่ดินไม่เกิดประโยชน์ มันก็ไม่เป็นการสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน ถ้าเราเอามาปลูกยูคาซึ่งเป็นพืชโตไว 3-5 ปีก็ตัดมาขายได้แล้วครับ โดยไม่ที่ไม่ต้องการบำรุงอะไรมากมายอย่างที่ว่า มันก็น่าจะมีประโยชน์กว่าที่เราจะปล่อยที่ดินให้ทิ้งร้างไว้เฉยๆ นะครับ แล้วเราก็รับประกันราคาตั้งแต่ชาวบ้านมารับกล้ายูคาไปปลูกแล้วครับ
          แล้วที่เรามีการปรับแต่งพันธุกรรมนั้นก็เพราะว่าอย่างแรกนะครับเพื่อให้สายพันธุ์แต่ละสายพันธุ์มีสามาถเจริญเติบโตได้ในภูมิประเทศ และภูมิอากาศที่แตกต่างกันครับ และอย่างที่สองเพราะให้มีการพลัดใบยูคาเมื่อต้นเจริญเติบโตได้ซักระยะหนึ่งแล้ว เพื่อให้ใบมันมาปกคลุมหน้าดินและกลายเป็นปุ๋ยให้ต้นเจริญเติบโตต่อไปครับ และอีกอย่างครับ เราไม่ได้ใช้ยูคาอย่างเดียวในการผลิตกระดาษครับเราใช้เยื่อใยยาวจากไม้เมืองหนาวเช่นไม้สนเป็นส่วนประกอบในการผลิตกระดาษด้วยครับ ซึ่งตอนนี้ความต้องการของการใช้กระดาษก็สูงขึ้นเรื่อยๆ เราจึงต้องขยายกำลังการผลิตตามความต้องการของตลาด เราจึงมีการสนับสนุนให้ปลูกในหลายๆ ประเทศ เช่น ลาว อินโดนีเซีย เวียดนาม จีนเป็นต้นครับ
           ถ้าลองมองในทางกลับกันนะครับ พืชอื่นๆ ไม่สามารถเติบโตในพื้นที่ที่เกือบจะเป็นทะเลทรายได้ แต่ยูคาของเราสามารถเจริญเติบโตได้นะครับ และผมก็สงสัยอย่างหนึ่งครับว่า ถ้าเราปลูกยูคาในดินร่วนมันจะทำให้ดินกลายเป็นดินทรายได้เลยเหรอครับ ผมเข้าใจว่าพื้นที่ที่เป็นทะเลทรายก็น่าจะเป็นทะเลมาก่อน ไม่น่าจะเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ในแล้วทำให้ดินกลายเป็นทรายได้ครับ ถ้าใครทราบก็ช่วยอธิบายให้ผมเข้าใจบ้างนะครับ
         
ผมอาจจะตอบคำถามได้ไม่ดีนักนะครับ เพราะมันเป็นมุมมองของผมเอง ไม่ได้ถามมาจากฝ่ายที่เค้าดูแลเรื่องนี้ ตอบในฐานะของวิศวกรตัวเล็กๆ คนหนึ่งในโรงงานเท่านั้นครับ ทุกคนไม่ต้องคิดมากนะครับ ผมว่าอย่างน้อยเมลล์นี้มันก็ดีอย่างที่ทำให้เราได้มีอะไรคุยกัน แชร์ความคิดเห็นกัน จะได้ไม่ขาดการติดต่อกันงัยครับ ถ้าใครมีความคิดเห็นอะไรก็บอกมาได้เลยนะครับ ผมไม่โกรธแน่นอน โดนชาวบ้านด่าแรงกว่านี้ผมก็เคยมาแล้วครับ มีอะไรจะด่าโรงงานผมก็ว่ามาได้เลยครับ ผมน้อมรับทุกความคิดเห็นอยู่แล้ว หรือจะด่าผมมาตรงๆเลยก็ได้ครับผมไม่โกรธจริงๆ เพราะผมคิดว่าทุกคำด่ามันช่วยเป็นกระจกส่องตัวเราเองครับ ถ้าไม่บอกกันตรงๆ ผมจะโกรธมากกว่าทั้งที่เราก็เป็นพี่น้องที่สนิทกัน
 
ขออภัยที่ตอบยาวไปหน่อย แต่ผมขออย่างนะครับ ไม่ต้อง Forward เมลล์นี้ต่อให้คนอื่นอ่านนะครับ เราเอาไว้คุยกันเองหนุกๆ ดีกว่าครับ
 
คิดถึงทุกคนมากมายครับ
 
ตี่ตี๋
คนไทยตัวเล็กๆ ที่รักประเทศนี้เช่นกัน 555

คำสำคัญ (Tags): #ยูคา
หมายเลขบันทึก: 181509เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2008 00:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ได้ฟังความคิดเห็นจากวิศวกรตัวเล็กๆ คนหนึ่งแล้วก็อยากแสดงความคิดเห็นมั่ง

การขาดสภาพความสมดุลทางธรรมชาติเป็นบ่อเกิดของภัยพิบัติต่างๆอีกมากมาย

ไม่ว่าจะเป็นฝนแล้ง น้ำท่วม พายุ แผ่นดินไหว ซึนามิ หรือแม้แต่ปรากฏการณ์ฟ้าฝ่าหน้าแล้งโดยไม่มีฝนตก

ล้วนเกิดจากการขาดสมดุลททางธรรมชาติทั้งสิ้น

ไม่เถียงว่าการปลูกไม้ยูคาอาจทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์แต่นั่นอาจเป็นเพราะการปลูกอย่างผิดวิธีที่ขาดการบำรุงดินอย่างสม่ำเสมอ

แต่นี่เป็นเพียงแค่เศษเสี้ยวของหายนะที่กำลังคุกครามทำลายล้างโลกใบนี้เท่านั้น

ปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่า

ใครรู้บ้างว่าโอโซนในชั้นบรรยากาศถูกทำลายไปมากเท่าไหร่ สาเหตุหลักๆคือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์(CO2)ในปริมาณมากๆ....

มากจนต้นไม้บนโลกไม่สามารถเปลี่ยนมันเป็นอ๊อกซิเจน(O2)ได้ทันโดยผ่านขบวนการสังเคราห์แสง

การที่โยนความผิดให้คนปลูกยูคาเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

ถ้าต้องการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอย่าแท้จริง ทำใมไม่เริ่มที่การลดการใช้กระดาษในสำนักงานล่ะ

เอกสารที่ไม่จำเป็นทั้งหลายแหล่ไม่ต้องไปปริ๊นมัน กระดาษมีสองหน้าใช้กันคุ้มรึยัง แล้วรู้รึเปล่าว่ามันมีหน้าที่สามสำหรับผู้พิการทางสายตาสามารถใช้ได้อีก

เกษตรกรผู้ปลูกต้นยูคาแทบจะไม่ได้สัมผัสหรือใช้กระดาษเลยนอกจากเศษกระดาษหนังสือพิมพิ์เก่าๆที่ได้มาตอนซื้อกล้วยแขกเท่านั้น

ใครคือผู้ที่ต้องการกระดาษที่แท้จริงล่ะครับ

พนักงานสำนักงานที่ต้องเก็บอากสารจำนวนมากเพื่อการตรวจสอบ(audit) ข้าราชการที่ต้องการเก็บรักษาเอกสารทุกอย่างเพี่อรอวันเผาทำลายกลายเป็น CO2

หรือ เกษตรกรที่กำลังปลูกต้นยูคา......เพื่อสนองความต้องการของใครๆ????

โปรด....พิ-นา

จากวิศวกรตัวใหญ่ๆ(อ้วนๆ) ที่รักโลกใบนี้ไม่แพ้ทุกๆคน

  • ตอนเด็ก ๆ  ผมต้อนวัวไปเลี้ยงที่โคกท้ายหมู่บ้าน  ซึ่งอุดมไปด้วยพันธุ์ไม้พื้นบ้านหลากชนิด  ครั้นต่อมาที่ดินหลายแปลงถูกใช้เป็นพื้นที่ในการปลูกยูคา ฯ  ...  ตอนนั้นผมไม่ค่อยเข้าใจอะไรมาก   สัมผัสได้ด้วย "ตา"  อย่างหยาบ ๆ ว่า  หญ้าในแปลงดินนั้นหลายเกลี้ยงไปเลย  จนไม่สามารถต้อนวัวเข้าไปเลี้ยงได้  ยิ่งได้ยินการตอกย้ำอย่างหาหูว่าต้นยูคา ฯ ทำให้ดินแห้งผาก  เลยยิ่งคิดเตลิดไปใหญ่
  • จนเมื่อโตขึ้นและได้เดินทางไปหลายแห่ง  กลับพบว่า  พื้นที่ปลูกยูคาฯ  ในบางที่กลับมีหญ้าขึ้นปกคลุมผิวดินอยู่บ้างเหมือนกัน  จึงเริ่มตั้งคำถามกับสภาพที่พบเจอ
  • และเมื่อสังเกตดู  หลายที่กลับเป็นลักษณะของการดูแลแบบบูรณาการ  หญ้าที่พบส่วนหนึ่งเป็นแปลงหญ้าที่นำมาปลูกผสมผสานกันไปนั่นเอง  และยังสามารถนำวัว - ควายเข้าไปเลี้ยงได้ด้วยเช่นกัน
  • ....ภาพดังกล่าวเริ่มเปลี่ยนความคิดของผมทีละนิดทีละนิด ...
  • ......
  • ทุกวันนี้,  คนส่วนใหญ่ยอมรับกันโดยปริยายว่าต้นยูคา ฯ  สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ  มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น "ต้นกระดาษ"  ซึ่งชื่อนั้นก็น่าจะหมายถึงสถานะที่ได้รับการยอมรับมากขึ้นด้วยกระมัง
  • ....
  • ขณะเดียวกัน  ผมก็อดที่จะคิดถึงห้วงเวลาในวัยเด็กไม่ได้  เพราะในครั้งที่ต้อนวัวไปเลี้ยงนั้น  ผมมักจะสลักถ้อยคำหลาย ๆ  คำลงในตำต้นของต้นยูคา ฯ  เพราะชอบลำต้นที่เกลี้ยงเกลา  ตั้งตรงและดูสะอาดตา   แต่ยอมรับว่าไม่ชอบกลิ่นของใบเจ้ายูคา ฯ  อยู่เหมือนกัน
  • นี่เป็นแต่เพียงเรื่องเล่าจากประสบการณ์ที่พบเห็นแบบหยาบ ๆ  โดยปราศจากความรู้ในทางวิทยาศาสตร์ นะครับ

 ใช่ครับอาจารย์แผ่นดินP 

การกระทำการใดๆที่ขาดความรู้ในเรื่องนั้นๆย่อมให้ผลร้ายมากกว่าดีครับ

การทำให้ดินเสื่อมสภาพไม่ใช่แค่การปลูกยูคาหรอกครับ

พืชทุกชนิดก็ทำให้ดินเสื่อมได้เหมือนกันถ้าปลูกซ้ำๆซากๆ

โดยขาดการบำรุงดินอย่างถูกวิธี

และผมยังเชื่อมั่นว่าต้นไม้ทุกชนิดสามารถกำจัดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์(CO2)ได้

หวัดดีค่ะ...

ถ้าต้องการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง ทำไมไม่เริ่มที่การลด

การใช้กระดาษในสำนักงานล่ะ..จริง ๆ ด้วยค่ะ

ใช่แล้วครับครูwindyPทุกคนทำได้ครับ มาร่วมมือกันคนละไม้คนละมือ ดีกว่าโทษคนโน้นคนนี้ ว่ามั๊ยครับ หึหึ 

สวัสดีครัีบคุณรินทร์

   ขอเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนด้วยนะครับ  ผมเองยังนิยมการปลูกพืชพื้นเมืองและปลูกแบบผสมผสานครับ เพราะผมเชื่อว่าต้นอะไรที่ธรรมชาติสร้างไว้ให้งอกตรงนั้น ธรรมชาติน่าจะมีคำตอบให้ไว้ด้วยอยู่แล้ว ในเรื่องของการพึ่งพาเกื้อกูลในระบบนิเวศนะครัีบ แต่เมื่อภาวะทางความคิดและระบบคิดของคนเปลี่ยน หลายๆ อย่างมีการโยกย้้ายตามความนึกคิดของคน จึงมีการจัดเปลี่ยนรูปแบบของสิ่งแวดล้อมให้ไปตามที่ตนคิดว่าดี แม้จะส่งผลในภายหลังอย่างไรก็ตาม

    ปัญหาใหญ่ในบ้านเราคือ การจัดการกับระบบคิดนะครับ ต้นยูคาฯ ไม่ได้มีความผิดใดๆ เลยครัีบ เค้าทำหน้าที่ของเค้า ได้อย่างเต็มที่ นั่นหมายถึงคุณปลูกเค้าที่ใด เค้าก็พร้อมที่จะต่อสู้และงอกลงตรงนั้น จนกว่าปัจจัยมันแร้นแค้นสุดๆ แล้วก็ค่อยๆ ตายไปทีละน้อย ต้นไม้วิ่งหนีเหมือนคนหรือสัตว์ไม่ได้

    การจัดการระบบการปลูก ระบบดิน ระบบน้ำ ฝน ฟ้าอากาศ นั้นสำคัญ ป่าไม้นั้นศักดิ์สิทธิ์ครัีบ สามารถเรียกฝนฟ้าได้ครับ เหมือนน้ำตกไงครับ ยอดน้ำตกเรียกฝนได้ ไม่งั้นจะมีน้ำที่ไหนไหลตลอดปี และผมก็เห็นว่า ป่าไม้ที่เกิดเองตามธรรมชาตินั้นไม่มีใครต้องเอาปุ๋ยสูตรต่างๆ ไปใส่ให้เลยครัีบ เพราะต้นไม้ฉลาดมากกว่าที่เราจะเอาปุ๋ยไปใ่ส่ให้นะครัีบ เพราะเค้ามีิวิธีการเติมปุ๋ยให้กับตัวเองต่างหาก เพราะครบวงจรในตัวเป็นทั้งผู้ผลิตและบริโภคในตัว ใบที่แห้งร่วงโรยปีนี้ อาจจะสะสมไว้ที่โคนต้นตามการร่วงโรยให้เป็นปุ๋ยในอีกสองสามปีข้างหน้า ต้นไม้อะไรก็ีมีใบเป็นปุ๋ยของมันเองในตัว

    ปัญหาที่ทำให้เป็นปัญหาคือ ความรู้ที่จะนำมาจัดการกับพื้นที่ที่มีอยู่ครัีบ ตรงนี้คนไทยเราจะขาดมากครัีบ มันอยู่ที่ว่าเราจะปลูกต้นไม้เพื่ออะไร

  • ปลูกเพื่อใช้หนี้ (ปลูกไปใช้หนี้ไป สร้างหนี้ไป ก่อหนี้เพิ่ม วนเีวียน)
  • ปลูกเพื่อลดภาวะโลกร้อน (ไอร้อนจากท่อไอเสียในเมือง จะขนถ่ายไปให้ป่าฟอกได้อย่างไร ในเมื่อไอร้อนในเมืองก็ต้องลอยไปปกคลุมบริเวณนั้น เราจะมีกระบวนการอย่างไรให้บอก CO2 ว่าเจ้าจงลอยไปที่ป่าห้วยขาแข้งก่อนนะจ๊ะคนดี จะบอกพระพายดีไหมครัีบ ให้ช่วยหอมลมเหล่านี้ไป อากาศเหล่านี้ มีน้ำหนักเบา จะลอยตัวสูงขึ้นสูงบรรยากาศเช่นกัน)
  • ปลูกเพื่อจุดประสงค์อื่นๆ อีกมากมายครัีบ

    สิ่งที่น่ากลัวทีุ่สุดคือการรณรงค์ให้ชาวบ้านแห่กันปลูกตามราคาที่ทำให้ชาวบ้านหลงไหล โดยไม่ได้ศึกษาข้อดีข้อเสียอย่างแ้ท้จริง อันนี้นับว่าอันตรายที่สุด เลือกเอาแต่ข้อดีมาพูด ทำให้คนหลงไป พอหลังจากนั้น จะเกิดปัญหาอะไร คนพูดก็หมดวาระไปแล้ว นี่ล่ะปัญหาบ้านเรา  วันก่อนผมเห็นนักการเืมืองคนหนึ่งให้สัมภาษณ์เรื่องต้นกระถินยักษ์ บอกว่าเป็นพืชตระกูลถั่ว ไม่มีพิษภัยใดๆ ใบเลี้ยงสัตว์ได้ ไม้ขายได้ดี เพิ่มอาหารให้กับดิน โตเร็วราคาดี แต่เราไม่ได้คิดให้ดีว่า หากชาวบ้านปลูกแล้วเอาใบพืชนี้มาให้หมูกินทุกวันจะส่งผลอะไรบ้าง เช่นผมร่วง และอื่นๆ ส่วนดินไ่ม่ว่าพืชชนิดใด ก็ต้องดูดสารอาหารในดินเสมอครับ เพียงแต่ว่าจะดูดแค่ไหนแค่นั้น ใครรากลึกกว่ากัน หญ้ารากลึกแค่ไหน ยูคารากลึกแค่ไหน อัตราการดูดน้ำอาหารเป็นอย่างไร การคืนกลับให้กับสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะเรื่องดินเป็นอย่างไร ศึกษากันให้ดีครัีบ บางทีจะมีรายงานที่ออกมาจากนักวิชาการ แต่เราศึกษาและยืนยันกันดีแล้วไหม ปลูกทดลองได้ครับ อยู่ที่การจัดการ

    เมื่อก่อนยางพารา เราเข้าไปกรีดในป่าครัีบ เพราะในป่ามีต้นยางขึ้นกับป่าอื่นๆ เราก็ำทำทางเดินไว้ในป่าในแนวเส้นทางที่เดินกรีดได้ทุกต้นครัีบ เราเรียกว่า ป่ายาง หรือป่าไม้ครัีบ  แต่ภายหลังเรานิยมการทำเกษตรแบบโกนหนวด หมายถึงว่า โค่นให้เรียบแบบโกนหนวด แล้วค่อยปลูกใหม่ นี่เป็นแนวทางเกษตร มีต้นอะไรที่ดี เป็นสมุนไพร ห้ามเอาไว้ ห้ามเหลือไว้ต้องโค่นหมด ไม่งั้นไม่ผ่าน  สิ่งที่เราเรียก เราจะเรียกว่า ป่ายางได้ไหมครัีบ ต้นยางถูกจัดเีรียงให้เป็นไปตามเกษตรแผนใหม่ ใช้ปุ๋ยบำรุง ทั้งๆที่ต้นยางก็ทิ้งใบในรอบปีเพื่อให้ปุ๋ยกันอยู่แล้ว ก็จะถูกจัดให้งอกเป็นแถวตามที่เราบัญชาครัีบ จัดการง่ายครับ เพราะต้นไม้เคลื่อนที่ไม่ได้ ต่างจากคนครัีบ จะเป็นว่าเราปลูกคนยากลำบากกว่าต้นไม้เยอะครัีบ มาระยะหลังเจ้าหน้าที่กองทุนยางเพิ่งเริ่มเห็นว่า ไม่น่าจะให้ต้องโค่นให้หมดทั้งป่า น่าจะเหลือต้นไม้เอาไว้บ้างในสวนยาง นี่คือกฏเกณฑ์... คนที่เป็นนักวิชาการก็รู้ทฤษฏีครับ ส่วนปฏิบัติอ่อนกว่าเกษตรกรครัีบ จริงๆ ต้องเรียนรู้ร่วมเดินกันไปด้วยกัน ถ่ายเทแลกเปลี่ยนให้ความรู้กันครัีบ คือทำให้คนมีกินได้ด้วยและมีธรรมชาติให้สมดุลไว้ด้วยครัีบ หากเราไม่เห็นเอาแก่ได้จากธรรมชาติมากจนเกินไป ผมเชื่อว่าปัญหาหนักๆ จะไม่เกิดกับบ้านเรา  ผมเป็นคนฝ่าเท้าเล็กครัีบ หากผมกินเยอะ น้ำหนักตัวมาก ฝ่าเท้าผมก็รับน้ำหนักไม่ไหวเช่นกันครัีบ ดังนั้นฝ่าเท้าของเมืองไทยเราเป็นอย่างไร เราควรจะยืนบนฝ่าเท้าของเราอย่างไรให้ยั่งยืนได้ครัีบ

    ผมนำบทความมาแลกเปลี่ยนด้วยครัีบ และเขียนตรงนี้เสียยาวครัีบ เข้ามาดูสองสามวันก่อนแล้วครับ และได้อ่านบทความเหล่านี้มาหลายครั้งแล้วครับ ผมคิดว่าเดินทางสายกลางในทางธุรกิจ และชาวบ้านมีรายได้ อย่าไปหลอกชาวบ้านให้เค้าคาดหวังไว้สูงมาก ไม่งั้นเราจะปิดถนนประท้วงกันทั่วประเทศครัีบ เพราะราคาตก ราคาลด ไม่เป็นตามที่นักพูดได้หลอกไว้เืมื่อก่อนปลูก ผมว่าบ้านเราเลิกได้แล้วที่จะทำให้เกษตรกรทำแบบนี้

  • โค่นสวนมังคุด ไปปลูกยางพารา (ผมเห็นมังคุดขายที่เยอรมัน สามผลราคาประมาณแปดสิบบาท)
  • โค่นยางพารา มาปลูกปาล์ม
  • เปลี่ยนนาข้าว เป็นนายางพารา หรือนาปาล์ม
  • ต่อไปอาจจะโค่นปาล์มมาปลูกข้าวอีกครัีบ หรือโค่นยางมาปลูกข้าวเพราะข้าวราคาดี ยางปลูกในนาต้นเล็ก ขายไม้ฟืนหรือเอาไปทำไ้ม้จิ้มฟัน
  • ทำลายป่า ไปปลูกอ้อย ให้นโยบายให้ชาวบ้านบุกรุกพื้นที่ป่า อะไรทำนองนี้ครัีบ เพราะอ้อยเป็นพืชพลังงาน เอาไปผลิตวัตถุดิบให้รถยนต์กินต่อไป
  • ทุกวันนี้เราปลูกต้นไ้ม้ปลูกพืชให้เครื่องยนต์กินด้วยนะครัีบ ไม่ใช่แค่คนสัตว์แค่นั้นครัีบ

    พอแค่นี้ก่อนนะครัีบ ขอบคุณมากครัีบ ฝากบทความไว้แลกเปลี่ยนต่อไปครัีบ

ขอบคุณมากครับผม

ตามมาสนับสนุนน้องเม้งครับ

ธรรมชาติสร้างความสมดุลในตัวมันเอง

คนเราก็สร้างความสมดุลในความมั่งคั่งของตนเอง 

ผิดไหมครับ จะให้ปลูกยูคาฯเพื่อปากท้อง

ผิดไหมครับ ทีจะหลอกให้ปลูกยูคาฯเพื่อความร่ำรวย

ผิดไหมครับ ที่จะเปลี่ยนนาข้าว แซม ยูคาฯ

ขอบคุณมากๆครับ ที่ให้โอกาสมาแลกเปลี่ยนกัน

  • สวัสดีค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ ที่เข้าไปร่วมคิดร่วมสร้างโลกที่ blog เยอะเลย
  • กระดาษจะล้นโลกแบบนี้
  • เราต้องคิดกันว่าตอนนี้คนไทยจะปลูกข้าวหรือจะปลูกต้นกระดาษดับเบิ้ลเอดีนะ

สวัสดีคับคุณเม้ง สมพร ช่วยอารีย์P และคุณสิทธิรักษ์  P

ขอบคุณมากครับที่กรุณาแสดงความคิดเห็น

ทำให้รู้ว่าเรายังมีนักวิชาการและทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุนค่าของประเทศไทยอีกไม่น้อย ที่จะนำพาความกระจ่างมาสู่ภาคผลิตหรือภาคเกษตรกรรมได้อีก นอกเหนือจากการปั่นหัวจากนายทุนผู้ซึ่งแทบจะครอบครองประเทศนี้แล้ว

อย่างที่คุณเม้ง บอกแหละครับนักวิชาการรู้ทฤษฏีมากที่สุด ทั้งความเป็นมาในอดีตและ สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต...

เกษตรกรส่วนใหญ่ในบ้านเราไม่ค่อยคุ้นเคยกับภาคทฤษฏีสักเท่าไหร่

จะรู้ก็เพียงว่า

  • จะไถ่นาคืนอย่างไร
  • ค่าปุ๋ยปีนี้ก็ขึ้นราคาอีกแล้ว
  • ปลาทูเค็ม-ใข่ไก่ก็แพงขึ้น
  • ค่าเช่านาก็มาขึนราคาเอาตอนนี้
  • ฝนฟ้าปีนี้จะตกต้องตามฤดูหรือไม่ต้องรอผลเสี่ยงทาย
  • แล้วเงินเติมน้ำมันรถไถนาที่นับวันจะขึ้นราคาอีกล่ะเพราะทุกวันนี้ไม่เหลือควายบักตู้ที่ช่วยไถนาอีกต่อไปแล้ว
  • แล้วหนี้ ธ.ก.ส.ล่ะยังไม่ได้ใช้คืนเลย
  • เงินกองทุนหมู่บ้านก็ครบกำหนดชำระแล้วด้วย

เกษตรกรบ้านเราไม่ต้องการร่ำรวยหรอกครับ ขออยู่อย่างพอเพียงแค่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใครก็เพียงพอแล้ว

หลังฤดูเก็บเกี่ยวมีเงินเหลือพอบวชลูกชายอาศัยเกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์ ในยามลูกชายเข้าสู่ร่มกาสาวพักตร์

ขายข้าวปีนี้ก็หวังจะมีเงินพอให้ไอ้ทิดไปขอสาว จะได้มีหลานสืบสะกุลต่อไป

ความหวังที่ลึกไปกว่านั้นก็คือจะทำยังงัยให้ลูกเรียนหนังสือสูงๆ ให้ได้เป็นเจ้าคนนายคน เพื่อไม่ต้องมาลำบากเหมือนพ่อแม่

อย่างที่คุณเม้ง บอกนั้นแหละครับ

ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เกษตรกรหรือต้นไม้เพราะมันเดิน พูดหรือเรียกร้องไม่ได้

หากแต่ขึ้นอยู่กับภาคธุรกิจและหน่วยงายราชการที่เกี่ยวข้องนั้นแหละ ได้มีการวางแผนรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร

ถ้ายังยืนยันว่ามันเป็นนโยบาย ประชาชนผู้เสียภาษีอย่างเราๆ ก็ได้แต่จำใว้....เท่านั้นเอง

 

เคารพความคิดเห็นทุกท่านครับ.... :)

 

สวัสดีครับอาจารย์สวรินทร์P ขอบคุณที่แวะมาทักทายครับ

 

 

UN อยากให้เราปลูกข้าวมากกว่าครับ

แล้วเราต้องเชื่อเค้ามั๊ย???

สวัสดีครับอาจารย์สวรินทร์P ขอบคุณที่แวะมาทักทายครับ

 

 

UN อยากให้เราปลูกข้าวมากกว่าครับ

แล้วเราต้องเชื่อเค้ามั๊ย???

ยังงัยผมก็คิดว่า การปลูกต้นไม้ไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดไหนก็ตาม ที่มีคลอโรฟิลด์ มันก็ต้องใช้ CO2 ในการสังเคราะห์แสงครับ ซึ่งมันมันก็สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ครับ ไม่ว่ายังงัยการปลูกต้นไม้ ก็ย่อมให้ผลดีเสมอ ถ้าเรารู้จักปลูกอย่างถูกวิธีครับ

ขอบคุณน้องตี่ตี๋P

 

ที่แวะมาทักทายกัน

ปลูกต้นไม้ ดีกว่าไม่ปลูกแน่นอนครับ

อยู่ที่ว่าจะเริ่มลงมือปลูกกันได้รึยัง

สวัสดีค่ะ คุณรินทร์

เคยได้ยินชาวบ้านบอกว่า ถ้าปลูกพืชที่ใกล้กับพื้นที่ที่ปลูกยูคา พืชที่ปลูกนั้นจะไม่ค่อยสมบูรณ์ ค่ะ นายอำเภอในพื้นที่ที่อยู่ เคยขอร้องให้ใครที่คิดว่าจะปลูกยูคา ให้ปลูกพืชอื่นแทน เพราะพืชยูคาจะดูดน้ำไปหมด ทำให้พืชอื่นไม่ได้รับน้ำ เคยได้ข้อมูลมาแบบนี้ค่ะ แต่คนส่วนใหญ่ในพื้นที่นิยมปลูกกัน เพราะไม่ต้องดูแลรักษาอะไรมากมาย แค่ปลูกให้ขึ้นอย่างเดียว ก็ใช้ได้ค่ะ

ต้นกระดาษ ไม่น่าจะทำให้เกิดทะเลทราย ในประเทษที่มีทะเลทรายเขาใช้ต้นกระดาษปลูกรุกเข้าไปในทะเลทรายเมื่อขยายพื้นที่เกษตร

ทะเลทรายมันเกหิดจากปริมาณน้ำฝนน้อยทำให้พืชทั่ว ๆ ไป ไม่สามารถขึ้นได้ยกเว้นแต่พืชทะเลทรายเท่านั้น ตราบใดที่มีฝนตก มีน้ำ จะเป็นทะเลทรายได้อย่างไร

สวัสดีครับคุณ สุวิมล แสงม่วง P และคุณถวัลย์

 

ก็มีส่วนถูกทั้งสิ้นครับ แต่คงไม่ใช่ทั้งหมด

ถ้าเกษตรกรมีทางเลือกที่ดีกว่า ก็คงไม่มีใครอยากปลูกหรอกครับ

แล้วก็ทะเลทรายก็ไม่ได้เป็นกันได้ง่ายๆหรอกครับ คงต้องใช้เวลานานพอสมควร บางประเทศก็ปลูกต้นกระดาษเข้าไปในทะเลทรายเพื่อขยายพื้นที่เกษตรครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท