กรรมการมีเวลาจำกัด ว่างไม่ตรงกัน...จัดประชุมได้ยาก.จริงหรือ


หากเราไม่จัดทำกำหนดการประชุมเป็นรายปีให้แน่นอน จะเกิดปัญหา คือ วันที่ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือผู้อำนวยการเขตพื้นที่ว่าง กรรมการอื่น ๆ อาจไม่ว่าง เราควรยึดที่ประชุมเป็นศูนย์กลาง เมื่อจัดทำกำหนดการประชุมในรอบปีแล้ว ก็ควรยึดถือเป็นสัญญาประชาคม

 

บ่อยครั้งที่ได้รับเสียงสะท้อนจากผู้บริหารสถานศึกษา หรือครูอาจารย์ว่า กรรมการสถานศึกษา หรือกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาไม่ค่อยมีเวลา(มีงานมาก) ทำให้จัดประชุมได้ยาก หรือบอกว่า เมื่อเชิญประชุม กรรมการก็ไม่ค่อยมาร่วมประชุม......ท่านว่าจริงหรือไม่

...แล้วถ้าเป็นเช่นนั้นจริง เรามาหาทางออกในเรื่องนี้กันดีไหม ดังต่อไปนี้ คือ กำหนดให้มีการประชุมสมัยสามัญ เป็นรายปี  ไว้แต่เนิ่น ๆ ตั้งแต่ต้นปี เช่น กรณีของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา วางแผนให้มีการประชุม ปีละ  6  ครั้ง  คือ ทุกพุธที่ 2  ของเดือน กรกฎาคม   กันยายน  พฤศจิกายน  มกราคม   มีนาคม   พฤษภาคม  เป็นต้น  หรือจัดประชุมทุก 2 เดือน   แม้จะไม่มีวาระพิจารณาหรือหารือเป็นการเร่งด่วน ก็ควรใช้เวลาเพื่อการหารือเกี่ยวกับอนาคต หรือทิศทางการพัฒนางานด้านต่าง ๆ ของเขตพื้นที่การศึกษา(ช่วยกันมองไปข้างหน้า)    กำหนดการประชุมที่นัดหมายล่วงหน้านี้ ไม่ควรเลื่อน แม้ประธาน หรือเลขานุการจะติดภารกิจ(ให้มีผู้ทำหน้าที่รักษาการณ์ในตำแหน่ง เข้าร่วมประชุมและทำหน้าที่แทน)   เราไม่ควรยึดผู้อำนวยการโรงเรียน(ในกรณีของคณะกรรมการสถานศึกษา) หรือ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา(ในกรณีของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา) หรือประธานคณะกรรมการเป็นศูนย์กลาง เพราะถ้ายึดผู้อำนวยการเป็นหลักแล้ว ในทันทีที่ผู้อำนวยการติดราชการ(ซึ่งอาจมีบ่อยมาก) การประชุมจะต้องเลื่อนออกไปอย่างแน่นอน โดยเลื่อนไปยังวันอื่น ที่ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้อำนวยการเขตพื้นที่ ว่างจากงานด่วน  ในกรณีที่มีการเลื่อนนัดหมายเช่นนี้ ปัญหาที่จะตามมา คือ วันที่ผู้อำนวยการว่างจากงาน  กรรมการท่านอื่นก็ติดงานสำคัญ หรือติดราชการ เช่นกัน ย่อมมาประชุมไม่ได้(เพราะคณะกรรมการส่วนใหญ่ก็มีงานประจำ ยิ่งในกรณีที่กรรมการเป็น คนดังมาก ๆ ภารกิจก็ยิ่งมากตามตัว)  ดังนั้น หากมีการตกลงนัดหมายการประชุมในรอบปีแล้ว ก็ไม่ควรเลื่อน  ให้ยึดที่ประชุมเป็นศูนย์กลาง.....ถ้าทำเช่นนี้ ผมเชื่อว่า จะแก้ปัญหาได้อย่างแน่นอน

 

 

หมายเลขบันทึก: 181475เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2008 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

หากมีใจให้กัน จะไม่มีปัญหา ๆ เกิดจาก อ้างว่าเวลาไม่ตรงกันสักที หรือรักที่จะเป็นกรรมการในนาม เรียกว่า เมื่อถูกถามว่า มีการตั้งกรรมการสถานศึกษาแล้วหรือยัง ตอบดัง ๆ ว่า มีแล้วแต่ไม่เคยประชุมเป็นเรื่องเป็นราว ทำงานกันเป็นกิจลักษณะเสียที ข้อที่เสนอมานั้นดีครับ กำหนดปฏิทินการประชุมให้เรียบร้อย จะได้ไม่ต้องมาอ้างเหตุผลข้าง ๆ คู ๆ กัน

ควรต้องทำความเข้าใจกับชุมชนให้เข้าใจอย่างชัดเจน  ถึงบทบาทหน้าที่ของกรรมการสถานศึกษา  หรือเขต  หลายคนถือเป็นการช่วยสนับสนุนความมีหน้า มีตา เสริมบารมี  อะไรประมาณนี้  เพิ่มเคดิตทางสังคมมากขึ้น  โก้  บางคนได้รับแต่งตั้งแล้วไม่เคยมาประชุมเลยจริงๆๆ 

  • ขอบคุณมาก คุณสู่อนาคตน่าน และท่านผอ.ประจักษ์   ในอนาคต สถานศึกษา หรือเขตพื้นที่การศึกษาควรให้ความสำคัญกับการประเมินผลการดำเนินงานในบทบาทของคณะกรรมการ 1) ได้ทำอะไรบ้างในรอบ 2 ปี  จำแนกตามบทบาทหน้าที่  หน้าที่ใดทำได้ดี  หน้าที่ใด ยังไม่มีโอกาสได้ทำ  และ 2) ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะจากกรรมการ ได้นำไปสู่การปฏิบัติมากน้อยเพียงใด  เกิดผลหรือผลกระทบต่อการยกระดับคุณภาพของสถานศึกษาหรือเขตพื้นที่มากน้อยเพียงใด....ถ้ามีการสรุปกันอย่างจริงจัง การเข้ามาเป็นกรรมการเพื่อหน้าตา ก็คงจะไม่เกิดขึ้น...อ้อ อีกประการหนึ่ง ในการสรุปผลงานในรอบ 2 ปี(กรณีของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา) อาจทำการสรุปเป็นสถิติการเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการแต่ละท่านด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท