R2R ในมหาวิทยาลัยมหิดล


 

          วันนี้ขอเป็นกระบอกเสียงให้ อ. หมอสมเกียรติ วสุวัฏฏกุล ผช. อธิการบดีด้านการพัฒนาคุณภาพ ดังต่อไปนี้

 

เรียนพวกเราชาว R2R ที่รักทุกท่าน

 

จากการประชุม UKM ที่นครนายกทีผ่านมา ได้มีข้อตกลงกันว่าในปีนี้ชาว UKM จะแลกเปลี่ยนรู้กันทั้งปีในเรื่อง R2R และครั้งต่อไป ประมาณเดือนกรกฎาคมที่จะถึงทาง มอ จะเป็นเจ้าภาพ ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี

 

และ ๒๙ เมย ๕๑  ที่ผ่านมา พวกเราชาวมหิดลได้มีการจัดประชุมทีม R2R เพื่อเคลื่อนไหว R2R ในมหาวิทยาลัย   ผมขออนุญาตสรุปประเด็นที่เราคุยกัน ทั้งใน UKM และที่มหาวิทยาลัย  ผิดถูกช่วยกันแก้ไขได้เลยนะครับ

๑. คำจำกัดความของ R2R กว้าง แต่ concept ที่สำคัญคือ เป็นการพัฒนางานประจำ (Routine Development) อย่างต่อเนื่อง โดยใช้วิธีวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ

๒. R2R เกี่ยวข้องกับทุกระดับ และทุกพันธกิจ (การศึกษา  วิจัย  บริการ) รวมทั้งบริหาร และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  ตั้งแต่ฝ่ายสนับสนุน อาจารย์จนถึงผู้บริหาร

๓. มุ่งหวังการขับเคลื่อนใหัเกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ (learning organization)  ในองค์กร  สร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับทุกท่านในองค์กร  เกิดขึ้นภายในตัวตน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และพัฒนางานประจำของตน เกิดความสุขเมื่อได้เรียนรู้เพิ่มขึ้น และ มีความสุขที่ได้พัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเกิดประโยชน์กับผู้รับผลงาน  งานที่ทำเบาลงหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น  เกิดความรู้สึกที่มีคุณค่ากับหน่วยงานและองค์กร  ผลงานก็เกิดขึ้น  ไดัรับความชื่นชมและมีผลงาน

๔. จัดทีมและแนวทางเพื่อเคลื่อนไหว เอื้ออำนวยความสะดวก  โดยใช้กลยุทธ์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ตัวอย่างที่ดี  และการสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกเป็นแนวหลัก

๕. เคลื่อนไหวทั้งแนว Vertical และ  Horizontal
  - ในระดับมหาวิทยาลัย ใช้ UKM เป็นเครือข่ายที่สำคัญ
  - ในระดับคณะฯ สร้างเครือข่าย FKM (Faculty KM)  โดยเชิญผู้รับผิดชอบด้านคุณภาพและงานวิจัยของแต่ละคณะฯ  มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการ R2R  โดยเฉพาะที่มี best practices  สร้างความเข้าใจใน concept และ set goals ร่วมกัน  และจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ
  - ในระดับภาคและสาขา  เคลื่อนไหวให้ผู้รับผิดชอบด้านคุณภาพและงานวิจัยในแต่ละคณะฯ  mapping และ audition ดูว่าในภาคและสาขานั้นๆ โดยใช้กิจกรรมแลกเปลียนเรียนรู้ ว่ามีการพัฒนางานประจำอย่างต่อเนื่องหรือไม่  มีตัวอย่างที่ดีๆหรือไม่  ในการขับเคลื่อนของแต่ละภาคหรือสาขาจนถึงหน่วยงานต้องการความช่วยเหลือด้านใดในการพัฒนางานประจำ  ประเด็นใดต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรืออำนวยความสะดวก อย่างไร

๖. ติดตามประเมินผลด้วยการประเมิน ว่าเรามีวัฒนธรรม learning organization แล้วหรือยัง  Publications และผลงานต่างเป็นผลตามมา  คงต้องช่วยกันคิดว่าจะทำ R2R ของโครงการ R2R นี้อย่างไร

๗. ทีมบริหารคงต้องมีบทบาท อำนวยความสะดวก และเชื่อมประสานกันมากขึ้นในการเคลื่อนไหวเพื่อหวังผล

 

ในเชิงปฏิบัติใน ๒ เดือนนี้จะมี
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วมหาวิทยาลัย ในเชิง concept ของ R2R โดย นายกสภา อธิการบดี และทีม
- กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับคณะ โดยผู้รับผิดชอบด้านคุณภาพและวิจัย มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการ R2R
ผมขอคุยกันเท่านี้ก่อนครับอยากฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม
มีความสุขทุกท่านครับ
สมเกียรติ

 


           
         

หมายเลขบันทึก: 181211เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2008 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 11:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กราบเรียนท่าน นายกสภา มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ หมอวิจารณ์

JJ ประทับใจ ในบทบาท สภา จริงๆครับ เป็น Best Practice ที่ต้องมาเรียนรู้ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท