ข้อเสนอ "กรอบมาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่ ประเภทวิชาการ สายงานนักรังสีการแพทย์"


รายละเอียดที่ระบุในชื่อตำแหน่งระดับต่างๆนั้น ดิฉันยึดหลักว่า นักรังสีการแพทย์ จัดอยู่ในประเภทวิชาการ จึงต้องมีความชัดเจนในเรื่องวิชาการอยู่ค่อนข้างมากค่ะ

          สืบเนื่องจาก ข่าวด่วนของชาวรังสีการแพทย์ เรื่อง ร่าง "มาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่ ประเภทวิชาการ สายงานนักรังสีการแพทย์"  ที่อาจารย์มานัส (รศ.มานัส  มงคลสุข) ส่งให้ชาวรังสีฯทุกท่านทราบและขอให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็น

          ดิฉัน ในฐานะชาวรังสีฯ คนหนึ่ง ไม่อาจทนนิ่งเฉยอยู่ได้  ขอร่วมแจมด้วยคนนะคะ

          สาระสำคัญ ที่ดิฉันขอเสนอคือ "กรอบมาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่ ประเภทวิชาการ สายงานนักรังสีการแพทย์" จากเดิมที่เป็น ข้อสรุปจากที่ประชุม KU Home ๒ พ.ค. ๒๕๕๑  เป็นข้อเสนอแนวคุณนายละเอียด ดังนี้


กรอบมาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่
ประเภทวิชาการ
สายงานนักรังสีการแพทย์

 

ภารกิจหลัก     ชื่อตำแหน่ง    
  ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ ทรงคุณวุฒิ
การปฏิบัติงาน           

มีความรู้พื้นฐานและสามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ 

 

 

 

มีความรู้ทันสมัย และรู้จักสืบเสาะแสวงหาความรู้อยู่เสมอสามารถปรับปรุงพัฒนางาน  และแสวงหาวิธีการใหม่ๆ ที่ดีขึ้น มีความรู้ลึก สามารถเชื่อมโยงและบูรณาการความรู้ สามารถสร้างงานใหม่ และทำได้ด้วยตนเอง มีความเชี่ยวชาญ เข้าถึงแก่นความรู้ และสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญการ และปฎิบัติงานได้อย่างแม่นยำ

มีความรู้ความเข้าใจงานในหน้าที่และงานอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งทุกแง่มุม สามารถแก้ไขปัญหา และเสนอแนะวิธีดำเนินงานได้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น

การวางแผน

สามารถวิเคราะห์สภาพปัญหา เพื่อให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้บังคับบัญชาในการวางแผนและการตัดสินใจอยู่บ้าง

สามารถวิเคราะห์ และเข้าใจสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น  เพื่อวางแผนพัฒนาการปฏิบัติงานในหน้าที่ สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสภาพการณ์และสภาพปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อวางแผนพัฒนางานในหน้าที่  และแผนปฏิบัติงานประจำปีของหน่วยงาน  ด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่  ใช้เวลาในการวางแผนที่เหมาะสม แผนงานมีคุณภาพและนำไปปฏิบัติได้ มีวิจารณญาณในการวิเคราะห์สภาพการณ์และสภาพปัญหาที่แท้จริง  ตลอดจนสามารถค้นหาสาเหตุเพื่อวางแผนพัฒนาองค์กรในระยะยาว  สามารถสร้างความมีส่วนร่วมในการเขียนแผนงานและการลงมือปฏิบัติ  สามารถแก้ไขปรับปรุงแผนงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์และนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

มีวิจารณญาณในการวิเคราะห์สภาพการณ์และสภาพปัญหาที่แท้จริง  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  เพื่อวางแผนพัฒนาองค์กรในทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว  สามารถสร้างความร่วมมือและความเข้าใจเพื่อการปฏิบัติในทุกระดับสามารถแก้ไขปํญหาได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว ทำให้แผนงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

การประสานงาน

ประสานและให้ความร่วมมือในการทำงานตามหน้าที่ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นตามควร  ยึดถือความคิดเห็นของตนเป็นหลักในบางครั้ง  มีความขัดแย้งหรือโต้เถียงกับผู้อื่นเป็นครั้งคราว  แต่ยอมรับตักเตือนและสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้

ประสานและให้ความร่วมมือในการทำงานตามหน้าที่ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นตามควร  มักจะคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่นและพยายามหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือความแตกแยกในการทำงาน  เป็นแบบอย่างที่ดี  เข้าใจผู้อื่น  และเข้าใจโลก  ประสานและให้ความร่วมมือในการทำงานเป็นอย่างดี  รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเสมอ  มักคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น และพยายามประนีประนอมหรือหาทางออกที่เหมาะสม  เพื่อสร้างความสามัคคีและความร่วมมือที่ดีในการทำงานส่งเสริมและชี้นำสังคมให้ตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรม  ประสานและให้ความร่วมมือในการทำงานอย่างดีเยี่ยม มีจิตสำนึกในการทำงานเป็นทีม  ทำให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้  รับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น พยายามสร้างความร่วมมือและความเข้าใจที่ดีอยู่เสมออุทิศตนเพื่อส่วนรวม ส่งเสริมและชี้นำสังคมให้ตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรม

ประสานและให้ความร่วมมือในการทำงานอย่างไม่มีเงือนไข  มีจิตสำนึกในการทำงานเป็นทีม  ทำให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้  รับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น พยายามสร้างความร่วมมือและความเข้าใจที่ดีอยู่เสมอ อุทิศตนเพื่อส่วนรวม มีความกล้าหาญทางจริยธรรม

การบริการ(วิชาการ)

สามารถให้คำปรึกษา และคำแนะนำเชิงวิชาการในสาขาวิชาชีพ โดยการสื่อความทั้งการพูดและเขียนแก่ผู้ป่วย  ญาติผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องตลอดจนประชาชนผู้สนใจ  เพื่อให้เข้าใจสาระสำคัญได้ในบางครั้ง  และต้องได้รับคำแนะนำปรับปรุงอยู่บ้าง

สามารถให้คำปรึกษา และคำแนะนำเชิงวิชาการในสาขาวิชาชีพ โดยการสื่อความทั้งการพูดและเขียนแก่ผู้ป่วย  ญาติผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องตลอดจนประชาชนผู้สนใจ  เพื่อให้เข้าใจ อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ มีทักษะในการให้คำปรึกษา และคำแนะนำเชิงวิชาการในสาขาวิชาชีพ โดยการสื่อความทั้งการพูดและเขียนแก่ผู้ป่วย  ญาติผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องตลอดจนประชาชนผู้สนใจ ได้อย่างกระชับชัดเจนดีเยี่ยม  สามารถเป็นอาจารย์พิเศษ หรือวิทยากรถ่ายทอดความรู้ หรือฝึกทักษะแก่นิสิต นักศึกษา ตลอดจนบุคลากรในสาขาวิชาชีพเดียวกันได้เป็นอย่างดี มีทักษะในการสื่อความทั้งการพูดและเขียน เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่บุคลากรทุกประเภท และทุกระดับได้อย่างกระชับชัดเจน  ถูกต้อง แม่นยำ ได้รับการยอมรับให้นำเสนอผลงานทางวิชาการด้วยวาจา และ/หรือโปสเตอร์ ในระดับหน่วยงานหรือระดับประเทศ มีทักษะในการสื่อความทั้งการพูดและเขียน เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่บุคลากรทุกประเภท และทุกระดับได้อย่างกระชับชัดเจน  ถูกต้อง แม่นยำ ได้รับการยอมรับให้นำเสนอผลงานทางวิชาการด้วยวาจา และ/หรือโปสเตอร์ เป็นภาษาอังกฤษในะดับภูมิภาคหรือระดับนานาชาติ

 หมายเหตุ 

          รายละเอียดที่ระบุในชื่อตำแหน่งระดับต่างๆนั้น ดิฉันยึดหลักว่า นักรังสีการแพทย์ จัดอยู่ในประเภทวิชาการ จึงต้องมีความชัดเจนในเรื่องวิชาการอยู่ค่อนข้างมากค่ะ          

          ไม่ทราบว่าจะหินเกินไปหรือเปล่านะคะ  แล้วแต่เพื่อนพ้องจะพิจารณา

          เพียงเท่านี้ ดิฉันก็สบายใจแล้วที่ได้ร่วมคิด

          ขอขอบคุณอาจารย์มานัส  และ ท่านนายกสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย (คุณสละ  อุบลฉาย) มากๆ ค่ะ ที่เปิดโอกาส

หมายเลขบันทึก: 180732เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2008 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท