รายการ Human talk วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน 2551


Human talk

พิธีกร : สวัสดีครับท่านผู้ฟังครับ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการ Human Talk นะครับ ทุกเช้าวันอาทิตย์แบบนี้ นะครับ 6 โมงเช้าถึง 7 โมงเช้า ทาง FM 96.5 MHz ครับกับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และผมจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐนะครับ เช้าวันนี้มีข่าวประชาสัมพันธ์เล็กน้อยนะครับ สำหรับคุณวิเชียร ตัณฑเศรษฐี นะครับ ภรรยาของนายแพทย์เสนอ ตัณฑเศรษฐี ได้เสียชีวิตลงนะครับ แล้วก็ ณ ปัจจุบันได้มีการสวดอภิธรรมศพ ณ วัดธาตุทอง ศาลา 5 นะครับ จนถึงวันพฤหัสนี้ และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพวันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม เวลา 17 นาฬิกา นะครับ ท่านที่สะดวกสามารถไปร่วมงานได้ก็เรียนเชิญตามวันและเวลา สถานที่ดังกล่าวครับ อาจารย์ครับ สวัสดีครับ

ศ.ดร.จีระ : ครับ สวัสดีครับ ก็ขอส่งข่าวให้แก่ผู้ที่เคารพรักหมอเสนอ ตัณฑเศรษฐี  แล้วเผอิญเป็นคุณแม่ของคุณหญิงกัญญา คุณหญิงกัญญาเป็นภรรยาผมด้วย ผู้ที่เคารพรักกัน คุณแม่วิเชียรเสียชีวิตไปแล้วประมาณ 2 วัน อายุท่านก็ประมาณ 87 ปี จากไปด้วยความสงบ

พิธีกร : ก็ขอแสดงความเสียใจมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

ศ.ดร.จีระ : ก็ขอฝากข่าวให้ทุกท่านได้รับทราบด้วย

พิธีกร : เดี๋ยวคงจะย้ำอีกครั้งหนึ่งในช่วงท้ายของรายการครับ อีกครั้งหนึ่งนะครับ อาจารย์ครับ วันนี้อาจารย์มีเรื่องที่น่าสนใจหลายเรื่องเลยทีเดียวนะครับ

ศ.ดร.จีระ :  ก็ย้ำอีกทีว่ารายการเรา ก็พยายามให้คนฟังเป็นสังคมการเรียนรู้  มีข้อมูลข่าวสารที่เรานำมาจากความจริง แล้วก็เกี่ยวข้องกับเราคือมนุษย์ เสร็จแล้วท่านผู้ฟังก็ติดตามคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ไปใช้เป็นประโยชน์ มันก็เกิดปัญญา

ปัญญานี้ก็ทำให้เราอยู่ในโลกของการแข่งขัน ในโลกของความไม่แน่นอน คุณจีรวัฒน์ แล้วก็ทำให้เรามีความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นโดยตลอดเวลา ผมเองก็ได้พยายามใช้สื่อเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์  ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ ท่านผู้ฟังได้เห็นการเรียนรู้จากสื่อนี้ จะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อย

พิธีกร : วันนี้หลาย ๆ ท่านเองที่ติดตามบทความของอาจารย์ในหนังสือพิมพ์แนวหน้านะครับ คงได้อ่าน คราวนี้ค่อนข้างเป็นการเมืองต่างประเทศนิดหนึ่งนะครับ อาจารย์ครับ แล้วมีเรื่องราวของหนังสือด้วย เดี๋ยวเราคงได้คุยในรายละเอียด 

ศ.ดร.จีระ : คือการเมืองระหว่างประเทศ คือศึกษารูปแบบของผู้นำ เรื่องผู้นำ ขณะนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ แล้วเราก็เลือกจังหวะเวลาที่การเมืองเหล่านี้มันกระทบเรา แล้วก็ได้เรียนรู้คือ ท่านผู้ฟังก็คงทราบดี การแข่งขันเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ตอนนี้ก็เข้มข้นมาก

ฝ่าย Republican ก็ได้คุณ McCain ไปแล้ว ได้ไปยืนรอผู้ท้าชิงอยู่ ซึ่งทุกคนก็คงรู้ว่าคุณ McCain ก็เป็นทหารเก่า แล้วก็มีนโยบายหนึ่งที่สำคัญมากคือ ไม่ถอนทหารจากอิรัก ท่านก็มาจากสายพรรคอนุรักษ์นิยม ซึ่งในอเมริกาก็มีคนสนับสนุนเยอะ เพราะว่าเป็นกลาง ๆ รักชาติ รักศาสนา รักกีฬา อะไรอย่างนี้  โลกทัศน์ข้างนอกก็มีว่าเปลี่ยนแปลงไปถึงไหน รบที่อิรักก็มีความรู้สึกว่า จำเป็นอยู่

          ส่วนคุณ Obama กับ Hillary แกก็มาจากสาย Democrat ซึ่งจะมีแนวทางเสรีนิยมเล็กน้อย ทีนี้การเลือกตั้งครั้งสุดท้ายที่ Pennsylvania ก็คุณ Obama แพ้ แต่ว่าแพ้น้อยกว่าที่คิดไว้ เพราะว่ารัฐนี้เป็นรัฐที่มีผิวขาว แรงงานไร้ฝีมือเยอะ เป็นอุตสาหกรรมเก่า ๆ ฉะนั้นคุณ Hillary ก็ยังอยู่ได้แต่ว่าคะแนนนิยมยังไม่เท่ากับคุณ Obama สำคัญที่สุดคะแนนของ delegates ที่ Pennsylvania ก็ชนะไปประมาณ 89 ต่อ 72 คือแบ่งกันตามสัดส่วนของคะแนนที่ได้รับ แต่คุณ Obama ก็ยังนำอยู่ประมาณ 100 กว่า delegates ซึ่งทั้งหมดจะต้องชนะประมาณ 2,000 คะแนน ซึ่ง Obama ก็อยู่ประมาณ 1,700 คุณ Hillary ก็ประมาณ 1,600 อะไรอย่างนี้ ประเด็นก็คือว่า ต้องสู้กันไปถึง เขาเรียกการประชุมใหญ่ ประมาณ 3 เดือนข้างหน้า ก็เลยทำให้รู้สึกว่า คุณ McCain มีโอกาสที่จะฉกฉวยเอาคะแนนขึ้นมา  ผมก็เลยวิเคราะห์ไปว่า ถึงตอนเลือกตั้งประธานาธิบดีจริง ๆ ระหว่างคุณ Obama หรือคุณ Hillary กับ McCain มันก็มีปัจจัยตัดสินอยู่ 3 อย่าง 

               อันที่หนึ่งก็คือ เรื่องเศรษฐกิจ ถ้าเศรษฐกิจมันไม่ดี แนวทางจะมีคนเลือกทางคุณ Democrat เยอะขึ้น แล้วก็คะแนนนิยมเรื่องสงคราม ถ้าสงครามยังเป็นปัจจัยใหญ่อยู่ มันจะทำให้คุณ Obama หรือคุณ Hillary ได้รับเลือกก็จะได้คะแนนมากหน่อย

                 ส่วนประเด็นสุดท้ายก็ดูถึง ประชากรของคนในอเมริกา สำหรับท่านที่สนใจ เผอิญผมไปเรียนที่นั่น ก็เป็นคนที่สนใจ ถ้าดูประเทศของอเมริกา แล้วจะพบว่า มันเป็นรัฐที่ใหญ่มาก เป็นทวีปที่ใหญ่มาก ฉะนั้นคนส่วนมากก็จะ อนุรักษ์นิยม ก็ไม่สนใจอะไรทั้งนั้น สนใจแต่อเมริกาของฉันเอง เผอิญผมสัมภาษณ์คุณหญิงทิพาวดี ท่านเพิ่งเยี่ยมลูกท่านมา ก็บอกว่า TV ของอเมริกา มันเปิดเกี่ยวกับโลกภายนอกน้อยมาก คนที่สนใจก็คงมีเหมือนกันนะ  แต่ว่าจำนวนก็ไม่มาก ฉะนั้นโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว การจะมีผู้นำอย่าง Obama หรือ Hillary ที่จะเอาชนะพรรค Republican โดยปกติก็ไม่ใช่ง่ายนัก เพราะคนในอเมริกาส่วนใหญ่เป็นประเภท คล้าย ๆ มีชาตินิยม รักชาติ แล้วก็ไม่ได้เป็นโลกาภิวัตน์อย่างที่เราคิด ก็จะมีทางด้านชายฝั่งทะเล ทางด้าน West ก็เป็น California ขึ้นไปถึง seattle ทาง East ก็เป็น New York , Boston อะไรนี่ ก็จะเป็นคนที่มีโลกทัศน์กว้างหน่อย ฉะนั้นการเมืองก็เป็นเรื่องที่... ก็เหมือนเรา เรามีภาคอิสาน เรามีภาคเหนือ ความคิดต่าง ๆ ก็ไม่เหมือนกับคนในภาคกลาง คนกรุงเทพฯ คนใต้ ฉะนั้นการเมืองก็คือ การดู ผมเรียกว่าเป็นค่านิยม แล้วก็มาจากประชากร หรือ Democratic factor ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้ที่ดี อเมริกาคล้าย ๆ กับเรา ก็มีความหลากหลาย คนส่วนใหญ่ก็ยังมองอเมริกาเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ แต่ว่าคนข้างนอกมองอเมริกา ก็มีความรู้สึกว่าไม่ได้ใหญ่อย่างที่คิดไว้ อยากให้เราได้ติดตาม แล้วก็เห็นการเมือง แล้วก็ได้มีการศึกษา คนที่บ้าคลั่งความยิ่งใหญ่ของอเมริกา ก็ยังมีคนที่เป็นจำนวนมากอยู่ ถึงแม้ว่าตอนหลังเงินดอลลาร์จะลดลงไป ความรู้สึกของคนในโลกต่ออเมริกา เดี๋ยวนี้ไม่ได้เป็นประเทศมหาอำนาจ อย่างที่คิดไว้แล้ว ความเชื่อถือศรัทธาที่สังคมโลกมีต่ออเมริกาก็น้อยลง อาจจะเป็นเพราะประธานาธิบดี Bush คนนี้ด้วย เป็นคนที่มองโลกทัศน์ที่แคบ ทีมงานของเขาด้วย  ก็เลยอยากให้ท่านผู้ฟัง คือเผอิญอีก 2 อาทิตย์ก็จะมีการแข่งกันที่รัฐ Indiana รัฐ North Carolina ก็จะเป็นอีก 2 รัฐซึ่งตัดสินอนาคต ความจริงคุณ Hillary  แกก็เป็นคนที่ตื๊อนะ  ถึงจะชนะที่ Pennsylvania แต่ว่าคะแนนนิยมของแกก็เลยยังไม่มากนัก คราวนี้ในบทความผม ผมก็เลยเขียนไปว่า คะแนนที่ได้รับจากการเลือกขั้นต้น มันอาจจะไม่พอ ก็จะเป็นคะแนนที่เรียกว่า Super Delegates  จีรวัฒน์

   Super Delegates  ก็เป็นกฎที่พรรค Democrat เขียนขึ้นมาว่า จะมีคนที่เป็นผู้ใหญ่ ๆ ของพรรค จะเป็น  Congressmen จะเป็น Senetor  อาจจะเป็น  Governor อะไรอย่างนี้ ซึ่งเขามีคะแนนอยู่ประมาณ 100 กว่าเสียง ซึ่งเขาสามารถ vote ให้กับ Hillary หรือ Obama ได้ ขณะนี้ Hillary ก็นำอยู่เล็กน้อย สำหรับ Super Delegates   ปัญหาคือว่า คุณ McCain ก็เลยตีขิมสบาย เพราะว่า แกเตลิดหาเสียง ขณะที่อีก 2 คน ไม่รู้ว่าใครชนะ ท่านผู้ฟังทราบดีว่า การแข่งแบบนี้คือการใช้เงิน  เงินใช้มหาศาล Hillary เองบางทีก็ต้องไปยืมเงินของครอบครัวมา เพราะว่าแต่ละวันที่ใช้ ผมว่าใช้เป็นล้านเหรียญ การเงินเป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องติดตาม ส่วนคุณ Obama แกได้คะแนนจากคนที่มีความรู้เยอะ  แกเป็น อย่างที่ผมเคยพูดอยู่เสมอ เป็นผู้นำแบบ Charismatic เป็นคนที่พูดเก่ง ให้ความหวัง แล้วก็มาจากครอบครัวที่หลากหลายทางวัฒนธรรม ก็จะเป็นตัวอย่างหนึ่ง แล้วก็คนที่ให้แกคือ raise fund จาก Internet คือเด็กอายุ 18 อาจจะส่งให้ Obama สัก 10 เหรียญ ไม่ได้มาจาก... อย่างเมืองไทยนักการเมืองไม่มีใคร donate เลย คนอเมริกัน คุณ Obama ก็ raise fund เดือนละประมาณ 40 50 ล้านเหรียญ US ด้วยความสมัครใจของคนในอเมริกา เป็นที่น่าสนใจ คุณ Hillary แกได้เงินจากกลุ่มใหญ่ ๆ ของคุณ Obama แบบอะไรนะ ถ้าเป็นธนาคารเรียกว่า ธนาคารรายย่อย ของคุณเป็น Finance แบบ Retail คุณ Hillary เป็น Finance แบบบริษัทยักษ์ใหญ่ ยักษ์ใหญ่ไม่ลงขันสัก 4 5 บริษัท เขาก็ลำบาก คุณ Hillary ก็จะมีปัญหาเรื่องการเงิน

ใจผมนี่ ผมอยากให้จบเร็ว แล้วก็คุณหญิงทิพาวดียังเล่าให้ผมว่า เราอยู่รู้จัก Hillary ไปนาน ๆ ท่านก็จะไม่ชอบอยู่เรื่องหนึ่ง เรียกว่า Authenticity ผมเคยพูดหลายครั้ง คือคนเรามันต้อง อยากจะทำอะไรต้องทำด้วยความจริงใจ  นักการเมืองคนไหนไม่จริงใจ คนก็จะเห็น Obama เขาไม่ได้เป็นคนที่อยากเป็นประธานาธิบดี สถานการณ์พาเขาไป ก็ทำให้มีคนชื่นชมความสามารถของเขา แล้วก็ชื่นชมอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีคะแนนด้วย ก็เหมือนคนเรา ผมอาจจะได้รับการยอมรับจากคนบางกลุ่ม แต่คนบางกลุ่มไม่ชอบเลย คะแนนนิยมแบบนี้มันก็อันตราย เขาเรียกอะไรนะ จีรวัฒน์ เสียงดีแต่คะแนนไม่มี อะไรอย่างนี้ Obama ในกลุ่มของคนผิวขาวที่ตกงาน แล้วก็เกลียดอะไรนะ เกลียดโลกาภิวัตน์  เขาก็จะมีความรู้สึกว่า แล้วก็อักอย่างหนึ่ง Obama  ก็จะมีปัญหาเรื่องผิวด้วย ผิวขาวโดยทั่ว ๆ ไป ลึก ๆ แล้ว อเมริกาก็ยังเหยียดผิวอยู่ ถึงจะได้คนผิวดำ แต่จำนวนคนผิวดำในอเมริกาก็มีไม่มาก มีไม่ถึง 20 % มั้งผมว่า ใน 300 ล้าน ไม่น่าจะมีถึง 60 ล้าน มันก็เลย..ปัญหาประชากร ปัญหาแนวคิด ปัญหาภูมิศาสตร์ ปัญหาต่าง ๆ มันก็เลยทำให้คุณ Obama ถึงจะได้รับเลือกแล้ว ก็คงสูสี ก็ต้องดูกันต่อไป 

ก็มีหลายคน เพื่อนผมหลายคนในอเมริกาก็บอกว่า อาจจะไม่ง่ายนัก ถ้าได้รับเลือกตั้งเป็นตัวแทนของพรรคแล้ว เพราะคนอเมริกาส่วนใหญ่ เป็นคนที่ เขาเรียกอะไรนะ จีรวัฒน์ เป็นคนที่ conservative บ้าคลั่งศาสนา บางทีก็เรียก Evangelic คือเป็นกลุ่มที่มีความมุ่งมั่น คล้าย ๆ กับในเมืองไทยก็เหมือนกัน บางคน อย่างกลุ่มธรรมกาย กลุ่มของคุณจำลอง สันติอโศก แต่ที่นั่นมีคนพวกนี้เยอะ แล้วก็ไปโบสถ์ ไปฟังพระเทศน์ พระฝรั่ง มีความรู้สึกว่าเขาเชื่อ ภาษาอังกฤษเขาเรียก Fake คือเชื่อในสิ่งที่เขานับถือ ไม่ได้เชื่อทางวิทยาศาสตร์ เหมือนคนที่ไปฟังเทศน์ เชื่อในสิ่งที่มันมองไม่เห็น ไม่ถึงกับเป็นไสยศาสตร์นะ อย่างเรื่องศาสนาก็เป็นเรื่องสำคัญทางการเมืองเหมือนกัน  ในเมืองไทยโชคดีที่เราไม่มีการแตกแยกกันทางศาสนา แต่ว่าก็เห็นแล้วในภาคใต้ ความไม่เหมือนกันระหว่างมุสลิมกับพุทธ แต่ก็ถึงจุดแตกหักได้เหมือนกัน ก็อยากให้ท่านผู้ฟังคิด เวลาเราติดตามข่าวระหว่างประเทศ ติดตามเรื่องพวกนี้ แล้วก็ดูประวัติของเขา คนเหล่านี้ในอเมริกา การที่คุณ Obama แกขึ้นมาได้ ก็ฝีมือ แกเป็นคนพูดเก่ง

พิธีกร : เชื่อว่าเป็นประโยชน์กับทางเยาวชนด้วยครับ ได้เรียนรู้การเลือกตั้งของอเมริกา   

ศ.ดร.จีระ : อยากให้คนไทยได้เห็น  เหมือนสมัยผมเป็นเด็ก สมัยนั้นผมยังอยู่ที่เทพศิรินทร์อยู่ ก็บ้าคลั่งระหว่าง Nixon กับ Kennedy วันนี้เราก็ได้เรียนรู้ เป็น role model ของผู้นำ รายการผมคนก็พูดกันเยอะ ผมไม่เห็นเกี่ยวกับอเมริกาเลย ท่านก็อาจไปมองถึงอภิสิทธิ์ ไปมองถึงผู้นำเหล่านั้นที่เป็นคนรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งวันนี้การเมืองไทย จีรวัฒน์ ก็คงรู้ ตอนนี้ไม่รู้จะพูดการเมืองตรงจุดไหนบ้าง เพราะว่ามันสับสนไปหมด แต่ว่าก็อยากให้คนไทยได้รู้ว่า สถานการณ์ในโลก มันก็อย่างนี้ทุกแห่ง ไม่ใช่จะเกิดขึ้น ความขัดแย้งกันทางความคิดก็มี

พิธีกร : ในช่วงหน้าเรามีเรื่องราวของ อาจารย์มีเรื่องราวของหนังสือ "Executing your Strategy" How to Break It Down and Get It Done  ของอาจารย์จากสหรัฐอเมริกา

ศ.ดร.จีระ : แล้วผมจะขอพูดถึงเรื่องข้าวนิดหนึ่ง

พิธีกร : ได้ครับ แล้วก็มีเรื่องของน้ำมันด้วยครับ อาจารย์ แล้วช่วงหน้ากลับมาพบกันครับ

โฆษณา

 พิธีกร : ครับ กลับมาพบกันในช่วงที่สองของรายการ Human Talk นะครับ กับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และผมจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐครับ เมื่อช่วงต้นรายการ อาจารย์ได้พูดคุยถึงเรื่องของการเมืองระหว่างประเทศไปแล้วอย่างเข้มข้นนะครับ ก็ถือว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุก ๆ ท่าน ก็อย่างที่อาจารย์ได้เรียนแล้วว่า  เราควรจะต้องศึกษา แล้วก็ตัวของผู้เข้าชิง หลาย ๆ ท่านก็เป็น role model ที่ดี ที่น่าสนใจให้กับทุก ๆ คนด้วย

ศ.ดร.จีระ : คือผมว่าประเด็นตอนนี้ก็คือว่า รายการของเราเป็นรายการเพื่อสร้างสังคมฐานความรู้ และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วย จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้หรือเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ได้ เราก็ต้องวิเคราะห์เป็น อย่างจีรวัฒน์ อายุไม่มาก แต่ว่าเริ่มเห็นวิธีการคิด แต่ละคนเรียนหนังสือมหาวิทยาลัยก็ต้องคิด คืออย่างผมไปเรียนปริญญาตรีที่อังกฤษ เรียน Shakespeare ก็ต้องวิเคราะห์ตัวละครเขา ถ้าเราอ่านเฉย ๆ เราวิเคราะห์ไม่เป็น เราก็สอบตก ฉะนั้นรายการเราต่อไปนี้ก็จะมีโจทย์ให้คนไทยได้นำไปคิดต่อ อย่างโจทย์อันหนึ่งที่สำคัญที่สุดและผมมักจะทำได้ดีก็คือ การวิเคราะห์ประเทศไทยอีก 15 ปีข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม การเมือง  วันก่อนก็จะเอาเรื่องอุตสาหกรรมใน 15 ปีข้างหน้า ไปคุยกับสุวิทย์ คุณกิตติ  ท่านเป็นรุ่นน้องที่เทพศิรินทร์ แล้วก็ครั้งหนึ่งผมก็เคยเป็นคนทำอุดมศึกษาไทยใน 15 ปีข้างหน้า จีรวัฒน์ คืออยากให้คนไทยได้มีการวิเคราะห์เป็น  คิดเป็น

               คือผมเองสมัยเด็ก ๆ ผมก็ไม่ได้มีความสามารถอะไรเท่านี้หรอก ก็ไปเรียนเมืองนอกก็ทำให้เราต้องแสวงหา แล้วก็สังเกตดูถ้าเราไม่ทำให้เด็กค้นหา เด็กก็ไม่เข้าห้องสมุด เด็กก็เอาแต่ sheet สมัยก่อนจีรวัฒน์ก็มีนี่ sheet เต็มไปหมดเลย บางทีก็เรียก Xerox เด็กบางคนไม่เรียน ไม่เข้าห้องเรียน อย่างที่ธรรมศาสตร์ ผมยังจำได้เลย บางคนก็แอบให้เพื่อนเข้าแทน ครูก็ส่ง sheet มา ผมยัง Joke หน่อยสมัยก่อน  Hillary บอกว่า Xerox that you can change คือคิดว่า Obama ชอบไปลอกเขามา ความจริงแล้วการฟังวิทยุแบบนี้ ให้เราคิดเป็น วิเคราะห์เป็น แล้วก็เป็น..ผมเรียกวัฒนธรรมการเรียนรู้ (Learning culture) คือ culture ในการวิเคราะห์ ตั้งโจทย์ ไม่เชื่อ แต่ว่าค้นหาหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า sense of inquiry มันสำคัญ ก็หวังว่าเราจะเป็นรายการที่ช่วยให้เป็นสังคมการเรียนรู้ คือได้ปริญญาตรีมา ได้แต่ความรู้ ยังไม่เอาความรู้ไปใช้หรอก จีรวัฒน์ คุณเป็นตัวอย่างที่ดี อย่างความใฝ่รู้ในการอ่าน เป็นเรื่องสำคัญ บางคนไม่รู้จะอ่านอะไร อ่านแต่เรื่องดารา ฉะนั้นโทรทัศน์ วิทยุของเรามันก็เริ่มมีปัญหา ซึ่ง 96.5 MHz นี่ก็จะเป็นจุดเล็กที่ช่วยกัน ท่านผู้ฟังครับ ผมจะขอพูดถึงเรื่องข้าวนิดหนึ่ง

พิธีกร :  ครับ

 

ศ.ดร.จีระ : มันมีประเด็นหนึ่งนะผมว่าสำคัญมาก ก็เป็นประเด็นต่อเนื่องมาจากสมเด็จพระเทพฯ ท่านเตือนกระทรวงเกษตรให้เตรียมพันธุ์ข้าวไว้ด้วย คือคำว่า พันธุ์ข้าว มีอยู่ 2 เรื่อง จีรวัฒน์ หมายความว่า พอข้าวมันแพง เราขายหมดเลย เราก็เลยไม่ได้เตรียมไว้สำหรับปลูก

          อีกอันหนึ่ง ก็คือต้องวิจัยพันธุ์ข้าวด้วยนะ เพราะว่าท่านผู้ฟังคงจำได้นะ เคยมีองค์กรหนึ่งเขาเรียกว่า IRRI อยู่ที่ฟิลิปปินส์ เป็น International rice research อาจจะมี UN มี world bank มาช่วยกัน แล้วก็วิจัยเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวต่าง ๆ เขาถึงเรียกว่าเป็น Green revolution จีรวัฒน์จำได้ไหม คือการปฏิวัติเขียว  แต่คราวนี้มันปฏิวัติเขียวนี่  มันครบรอบไปแล้ว 30 ปี ฉะนั้นดินก็ดี อากาศก็ดี อะไรก็ดี มันก็เปลี่ยนไป ตอนหลัง ๆ นี่อย่างบริษัท CP เวลาเขาทำอะไรเขาได้เปรียบ เขาส่งพันธุ์มาด้วย ฉะนั้นผมขอเสนอว่า ผมขอสนับสนุนให้กระทรวงเกษตร และก็บริษัทเอกชน รวมทั้งรายการของเราเน้นการวิจัยพันธุ์ข้าวด้วย 

          เรื่องการวิจัยพันธุ์ข้าวนี่สำคัญ เพราะว่า ท่านผู้ฟังลองคิดดูสิครับ ในภาคอิสาน นอกจากไม่มีชลประทานแล้ว ข้าวหอมมะลิปลูกได้แต่ว่าประสิทธิภาพต่อไร่ต่ำ ฉะนั้นก็ต้องวิจัยพันธุ์ใหม่ ๆ ขึ้นมา ผมก็ขอสนับสนุน เพราะว่าต่อไปนี้ ถ้าพื้นที่ต่อไร่ของเราเท่าเดิม แต่ว่าเรามีผลผลิตสูงขึ้น จีรวัฒน์ ชาวนาก็รวยไม่รู้เรื่องนะตอนนี้ ฉะนั้นตอนนี้ก็อยากให้ชาวนาในประเทศไทยนี่ มีความสามารถในการเข้าใจเรื่องพันธุ์ข้าว แล้วก็มีความสามารถในการเข้าใจเรื่องการตลาด การจัดการ บริหารจัดการนี่สำคัญที่สุด เพราะว่าถ้าคุณมีข้าวแล้ว  คุณให้ส่วนเกินของคุณไปอยู่ในมือของพ่อค้า คุณก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร ฉะนั้นเรื่องเกษตรก็คือเรื่อง management อย่างแรงเลยนะจีรวัฒน์ ซึ่งผมทำอยู่ทุกวัน แล้วก็แนะนำเรื่องการจัดการอยู่เสมอ แล้วก็จะเป็นประโยชน์สำคัญ

          แล้วก็สองก็คือว่ารายการ TV เมื่อคืนนี้เราพูดเรื่องข้าวในช่อง 11 แล้วมันก็ไม่จริงแล้ว จีรวัฒน์ที่บอกว่า คนไทยข้าวไม่ขาด ตอนนี้ข้าวในกรุงเทพฯ ขาดแล้ว เพราะว่าเรามีการเก็งกำไรกัน

 

คำสำคัญ (Tags): #human talk
หมายเลขบันทึก: 180309เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2008 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พิธีกร : ใช่ครับ

ศ.ดร.จีระ : ก็อย่าให้ประเทศที่ผลิตข้าว ซื้อข้าวไม่ได้ ต้องให้ประเทศที่สั่งข้าว ซื้อข้าวไม่ได้ อย่างฟิลิปปินส์อย่างนี้ ของเราไม่ควรที่จะมีการขาดแคลนในเรื่องข้าว ฉะนั้นก็ขอฝากไว้ด้วย

ส่วนเรื่องน้ำมัน ปัญหามันก็คือ ดอลลาร์ คือดอลลาร์มันลง ก็เลยเก็งกำไรกัน แล้วก็มันทำท่าว่าจะโผล่เข้าไป 120 – 130 แล้ว ซึ่งเกินแนวต้านของ Goldman Sachs ที่บอกว่าไม่เกิน 105 เหรียญต่อบาเรล คนไทยต้องรีบปรับตัว บางคนก็รีบเปลี่ยนจากเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็น gas อย่างผมใช้รถตู้เยอะ ผมก็จะขอให้รถตู้ที่ใช้ gas นะตอนนี้รถตู้ที่ใช้ gas ส่วนใหญ่เป็นรถตู้ที่วิ่งคล้าย ๆ รถโดยสาร แต่ว่ารถตู้เช่านี่ เขายังไม่ใช้ gas ไม่ว่าจะเป็น NGV หรือ LPG เพราะว่า เขาจะบอกว่าไง รู้ไหม ปั๊ม gas ไม่มีในต่างจังหวัด เพราะฉะนั้นอย่างผมนี่ ผมไปขอนแก่น ราคารถตู้วันหนึ่งประมาณ 1,800 แล้วก็จะบวกค่าน้ำมัน วันนี้ค่าน้ำมันไปขอนแก่นประมาณ 2,500 แล้วละ แต่ถ้าใช้ gas เหลือประมาณ 800 saveไปเยอะเลย อย่างผมใช้รถตู้บ่อย ผมไปต่างจังหวัดบ่อย แล้วก็ขอรถตู้เป็น gas เขาก็บอกยังไม่มี เพราะว่าเติม gas ลำบาก ฉะนั้นถ้าปั๊ม gas มีเยอะ มันก็ไม่มีปัญหาอะไร อย่างการเดินขนส่งของคนที่ทำงานอย่างผม ถ้าใช้รถตู้ gas จะช่วยได้เยอะ อย่างผมวันนี้ก็ใช้รถส่วนตัวน้อย ใช้ taxi เป็นส่วนใหญ่ รถภรรยาผมก็เปลี่ยนเป็น gas เรียบร้อยไปแล้ว จีรวัฒน์ก็คิดให้ดีนะเรื่อง gas

พิธีกร : คิดเหมือนกันครับอาจารย์ เพราะว่าประหยัดเงินมาก

ศ.ดร.จีระ : คิดเสียว่ามันใช้... คนรุ่นหนุ่มอย่างคุณนี่ มันก็จะหมดไปกับค่าขนส่ง บางคนเพิ่มตั้งเดือนละ 3 – 4,000 ก็มี แล้วก็ที่อยู่อาศัยก็ต้องอย่าให้มันไกลนัก

พิธีกร : ครับ มีหลายท่านมองว่า ตอนนี้เราเป็น เรียกว่าผู้นำทางด้านข้าว คือเขาไม่อยากใช้คำว่ามหาอำนาจทางด้านข้าว แต่เนื่องจากเราเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก อาจารย์

ศ.ดร.จีระ : คือส่งออกปีหนึ่งตั้งเกือบ 9 ล้านตัน แล้วก็คุณภาพดีด้วย

พิธีกร : ใช่ครับ ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็มีหลายฝ่ายเองก็มองว่า เราเองต้องกลับมามอง core business ของประเทศเราจริง ๆ หรือเปล่าว่า จริง ๆ แล้วข้าว อุตสาหกรรมข้าวนี่ ประเทศไทยเราก็มีความเชี่ยวชาญ แต่ว่ายังไม่มีการลงไปพัฒนา บริหารจัดการ ดูแลกันอย่างเป็นระบบ

ศ.ดร.จีระ : จีรวัฒน์ คุณตรงประเด็น คือ เราเคยชินกับการมีข้าวกิน แต่เราลืมไปว่า เราปลูกข้าวแบบฟุ่มเฟือย คือถางป่าไปเรื่อย ๆ ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า rent for surplus คือขยายพื้นที่การปลูก แต่พื้นที่นี้มันไปชนกับพลังงาน เห็นไหม พื้นที่ก็เลยน้อยลง

ฉะนั้นเราอันแรกก็ต้องปรับ อันไหนพลังงาน อันไหนอาหาร

สอง เอาจริงกับเรื่องชลประทาน + พันธุ์ข้าว + การวิจัย

แล้วก็เอาจริงกับเรื่องสถาบันเกษตร อย่าให้ถูกนักการเมืองพาไป ลากจูงไป อย่างเช่น สหกรณ์การเกษตรอย่างนี้ ท่านผู้ฟังครับ เป็นองค์กรอยู่กันมาตั้งนาน วันนี้ยังไม่มีอันไหนเลยบอกว่าฉันจะเป็นสหกรณ์การเกษตรแบบทันสมัย ส่งออกได้ ก็มีอันหนึ่งที่ท่ายาง ส่งกล้วยหอมไปต่างประเทศ ญี่ปุ่น แต่ว่าสหกรณ์ยุคใหม่ ต้องเป็นสหกรณ์ครบวงจร ผลิต บางแห่งก็จัดเข้าถุงขาย ที่ Tesco Lotus เลย มันต้องทำได้ อยู่ที่การบริหารจัดการ จีรวัฒน์ อันนี้ก็เป็นเรื่องคล้าย ๆ กับการศึกษา การศึกษาก็ต้องบริหารจัดการ เพราะทรัพยากรมันมีจำกัด ซึ่งอันนี้ผมพูดหลายครั้งแล้วนะ ใครจะเชื่อก็ไม่เป็นไร ไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร แต่ว่าเกษตรจะร่ำรวยมหาศาลได้ ถ้าทรัพยากรมนุษย์ หรือทุนมนุษย์เข้มแข็ง

ที่ดินเข้มแข็งไม่พอ มันต้องมี...คือเรานี่เคยชินกับการมีความฟุ่มเฟือยทางทรัพยากรธรรมชาติ เราโยนเมล็ดไปอันหนึ่งเราก็ได้กิน กินอย่างเดียวไม่พอ ท่านผู้ฟังครับ กินแล้วต้องเหลือมาขาย วันนี้ราคามันดี มันต้องขายให้พอ ไม่เช่นนั้นก็มีคนเขาบอกว่าก็จะมีบริษัทใหญ่ ๆ ยักษ์ใหญ่บางคนนี่ยิ้มเลย เพราะยักษ์ใหญ่นี่

1. เขามองอนาคต ถ้าเขารู้ว่าแห้งแล้ง เขาก็จะกักตุนไว้แล้ว

2. เขามียุ้งฉางที่จะเก็บได้

3. เขามีมันสมองมากกว่า บางบริษัทนี่ซื้อนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรในราคาแพง ฉะนั้น

ปัญญาก็สู้กันไม่ได้อยู่แล้ว ฉะนั้นผมคิดว่า... ก็มีนักคิดคนหนึ่งเขาบอกว่า ในอิสานนี่ อย่างทุ่งกุลาร้องไห้ เราน่าจะมีการจัดการปลูกข้าวหอมมะลิ แต่ว่าเป็น modern management จริง ๆ เอาคนจบ MBA คนบ้าคลั่งบริหารจัดการไปทำธุรกิจข้าวบ้าง เพราะว่ายุคฟองสบู่แตกนี่ก็ เกษตรได้ดีเพราะว่าคนตกงาน คนจบจาก Finance ก็ไปอยู่กับพ่อแม่ อะไรอย่างนี้ มันก็เป็นประโยชน์ แต่ตอนหลังนี่สังเกตดูคนรุ่นใหม่ คนชั้นนำ เขาจะไม่เข้าใจการเกษตรเลย แล้วก็เผลอ ๆ ดูถูกด้วยนะ ฉะนั้นในฐานะที่ผมเป็นนักพัฒนาคน อย่าละเลยสิ่งเหล่านี้ ผมก็โชคดีนะที่ได้รับโอกาส ได้รู้จักกระทรวงเกษตร ความจริงกระทรวงเกษตรมีนักวิทยาศาสตร์เยอะมากเลย แต่ที่ไม่มีคือ นักพัฒนาคนกับนักพัฒนาการเงิน การตลาดไม่มี แล้วก็มองทุกอย่างเป็น supply side หมด คือจะมองการผลิต เก่งเรื่องแมลง เก่งเรื่องปุ๋ย เก่งเรื่องแหล่งน้ำ แต่ไม่เก่งเรื่องอะไรนะ การบรรจุหีบห่อ ไม่เก่งเรื่องโรงสี ไม่เก่งเรื่องการตลาด ไม่เก่งเรื่องการวิจัย ก็ฝากไว้ด้วยละกัน

พิธีกร : ครับ ก็เรื่องสถานการณ์ข้าว ผมมีความรู้สึกว่าภูมิใจมากเลยที่ได้เกิดมาในประเทศไทยที่อุดมสมบูรณ์นะครับอาจารย์ เดี๋ยวจะบอกว่า ตอนนี้หลาย ๆ ประเทศที่เป็นมหาอำนาจทางด้านอุตสาหกรรม ต้องกลับมานั่งนึกถึงปากท้องแล้วครับ เพราะว่ามัวแต่ไป push เรื่องของการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอะไรนั่นรุดหน้า แต่เรื่องของ... สุดท้ายแล้วมันก็กลับมาที่การกินการอยู่ของประชาชนในประเทศ

ศ.ดร.จีระ : แล้วตอนนี้จีรวัฒน์คิดมากขึ้นหรือน้อยลงเรื่องเกษตร

พิธีกร : อย่างบทความล่าสุดของอาจารย์ใน The economist เรื่องของ The silence Tsunami ผมอ่านแล้วฮือ เขาบอกว่า ราคาข้าวที่สูงขึ้นขณะนี้ ทำให้มีคนอดอยากทันที

ศ.ดร.จีระ : ประมาณ 33 ประเทศ

พิธีกร : ทันทีเลยไม่ต่ำกว่า 100 ล้านคน ซึ่งฟังแล้วแบบโอ้โห ใจหายมาก แล้วมีความรู้สึกว่า จริง ๆ แล้วเราพัฒนาโลกนี้ไปถึงไหน เพื่ออะไร ถ้าเกิดมันเกิดทำให้ปากท้องอยู่กันแล้วไม่รอด

ศ.ดร.จีระ : การพาดหัวของเขา The economist เล่มนี้ดีนะ มัน silence มันเงียบ ๆ แต่มันรุนแรง แล้วก็ประเทศส่งออกกับประเทศนำเข้าจะต้องหารือกันว่า ข้าวมันแปลก มันไม่ถึงมือคนกิน มันไม่เกิดอดอยาก แล้วเกิดปัญหาสังคมมาก เพราะว่ายากจน แล้วก็ไม่มีอะไรจะกินด้วย ผมชอบที่ จีรวัฒน์คิด นี่คือสังคมการเรียนรู้ของคุณ

พิธีกร : ครับ

ศ.ดร.จีระ : ก็จะพูดถึงหนังสือเล่มนี้ เผอิญผมโชคดี ผมได้เจอนักเขียนคนนี้ แล้วก็ได้คุยกับเขา

พิธีกร : William Malek

ศ.ดร.จีระ : แล้วก็จะออกรายการ TNN 2 วันพุธที่ 7 พฤษภา คือในบทความผมนี่ ผมถามเขานะ เออ..คุณเป็น...เขาสอนที่ Stanford แล้วก็มีเพื่อน 4 – 5 คน ช่วยกันเขียน 3 คน แล้วก็ส่วนมากจะเป็นอาจารย์ ส่วนมากเวลานักเขียนมา ผมจะบอก คุณ apply case ใน Asia บ้างหรือเปล่า คราวนี้เขารีบพูดเลย คุณรู้ไหม เขาเอายกตัวอย่าง apply case อันหนึ่งซึ่งไม่น่าเชื่อเลยคือ National library of Singapore คือระบบ...

แล้วก็ National library of Singapore นี่ เขามี Purpose อยู่อันหนึ่งนะจีรวัฒน์ ซึ่ง Purpose อันนี้ ถึงเขามี แล้วรัฐบาลไทยไม่มี กระทรวงศึกษาไม่มี แต่ผมมีนะ Purpose อันนี้ เขาบอก Investing for learning nation น่าสนใจนะ Investing for the learning nation แล้วเขาก็ไม่พูดถึงการศึกษา เขาเน้นระบบห้องสมุด เขาบอกห้องสมุดสมัยก่อนมันโบราณ ฉะนั้น นาย William แกก็เลยพูดให้เห็นถึง 4 ประเด็น ความจริงมีอีก 2 ประเด็น:ซึ่งมันสำคัญ มันยุ่งยากมาก อธิบายลำบาก เขายกตัวอย่างคำว่า Strategy

ซึ่ง Strategy ใคร ๆ ก็มีได้ ซึ่งการกำหนดว่าจะไปยังไง จุดอ่อน จุดแข็งเป็นยังไง มีแนวทางยังไง แต่ทั้งหมดนี่การกำหนดต้องระมัดระวัง

อันที่หนึ่งเขาเรียกว่า การดู Purpose ขององค์กรเหล่านั้น คือแต่ก่อนเราจะพูดถึง Mission องค์กรนี้จะทำอะไร องค์กรนั้นจะมี Purpose ไว้ก่อน เป้าหมายหลักยังไง เขายกตัวอย่างเลยที่สิงคโปร์ เขาบอกว่า

Purpose ใหญ่ของ National library ของสิงคโปร์ ก็คือ ให้คนสิงคโปร์ เป็นคนมีความรู้ Learning เรียนรู้ เขาไม่ใช่เรียน มีความรู้อย่างเดียว ไม่ใช่ Knowledge person เป็น Learning nation เอาหนังสือไปอ่าน ต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ใช้ให้ได้ ของเขาใช้เครื่องมืออันนี้ และแต่ก่อนนี้เราจะใช้ภาษาอังกฤษว่า Idea ใช่ไหมจีรวัฒน์

พิธีกร : ครับ

ศ.ดร.จีระ : ของเขามีมากกว่านั้นอีก ซึ่งผมก็ shockเลยนะ ผมเพิ่งอ่าน เพิ่งจะได้ Idea เขาเรียก Ideation Idea+tion ฉะนั้นเขาบอกว่าใครก็ตามจะทำเรื่อง Strategy ควรจะไม่ได้มองว่าองค์กรนี้ฉันจะทำไร องค์กรนี้มีเป้าหมายหลัก ๆ อย่างไร อันนี้ก็เหมือน Martin Luther King จีรวัฒน์ เขามีเป้าหมายคือให้ผิวขาว ผิวดำเสมอภาคกัน แล้วเขามาดูว่า Strategy ต้องทำยังไง ฉะนั้น Purpose มาจาก Big Idea

แล้วพออันที่สอง เขาพูดถึง Vision แต่เขาไม่ได้พูด Vision เขาพูดถึง Clarity of Vision คือหมายความว่าบอกมาชัด ๆ เลยว่า Vision ก็คือเขาบอกว่าห้องสมุดของสิงคโปร์

1. จะต้องให้คนสิงคโปร์มีที่ที่ access , access หมายความว่า เป้าหมายของเราคือ ให้เขาอยากมาห้องสมุด ลองคิดดูวันนี้ นัก Library ในเมืองไทยทั้งหมด จีรวัฒน์ลองคิดดู ผมก็รู้จักเขาเยอะนะ Purpose มันก็มีเหมือนกัน แต่เล็ก ๆ นะ แล้วก็พอถึง Vision ก็คือ ฉันจะต้องจัดหาสมุด หนังสือให้ดีที่สุด อะไรอย่างนี้ ความจริงแล้วไม่ใช่

ต้องให้คนอยากมาหาความรู้จากห้องสมุด แล้วต้องทำให้ต้นทุนของเขาต่ำที่สุด

พิธีกร : อันนี้น่าสนใจมากนะครับ

ศ.ดร.จีระ : คือวันนี้ห้องสมุดที่ธรรมศาสตร์ ถามจริง ๆ เถอะ ต้นทุนในการไปหาข้อมูลที่ห้องสมุดธรรมศาสตร์มันต่ำไหม ไม่ต้องพูดถึงบรรยากาศนะ จีรวัฒน์

อันที่สองเขา clear เลยว่า เขาจะต้อง....

แล้วอันที่สามนี่ พอเขาได้อันนี้แล้ว เขาจะเอาไป link กับวัฒนธรรมองค์กรของเขา อย่างเขาบอกว่า ห้องสมุด Library ของสิงคโปร์ในอดีตนี่ มันเป็นระบบราชการ ทำตัวแบบข้าราชการ โบราณ เขาจะเปลี่ยนวิธีการให้มันเป็น cultural of customer คำว่า alignment เขาจะบอก alignment อันแรกก็คือ จะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมคน เดี๋ยวนี้ Strategy เดิม ไม่มี corporate culture มันก็ไปไม่รอดจีรวัฒน์ เหมือนผมสอนหนังสือทุกวัน ผมไปสอนที่กรมปกครองอย่างนี้ ใส่วิชาการเข้าไป แล้วก็ไม่แนะนำเรื่องเกี่ยวกับศึกษาเกี่ยวกับ culture ต่าง ๆ และนอกจาก culture แล้ว เขาก็มีอีกตัวหนึ่ง สะกดคล้าย ๆ กัน จีรวัฒน์ เขาเรียก Structure เขาบอกว่า Structure ก็คือ องคาพยพทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงิน กฎระเบียบ เทคโนโลยีต่าง ๆ มันต้อง align กันกับเป้าหมายต่าง ๆ อันนี้ผมว่าเขาพูดดีนะ คือ alignment ตอนหลัง ๆ นี่ เขามักจะมองเฉพาะเรื่องคน เช่น อย่างฝ่ายที่บริษัทจีรวัฒน์นี่ ฝ่ายการเงินกับการตลาดนี่ ลูกศรต้องไปด้วยกัน เมืองไทยบางทีลูกศรสวนกันก็มี เขาไม่ได้พูดแค่นี้ เขาบอกว่า ต้อง align วัฒนธรรมองค์กร แต่ต้อง align structure ด้วย

Structure ก็คือ อย่างในการไฟฟ้าฝ่ายผลิตของเรานี่ มีโครงสร้างเยอะแยะเลย มีฝ่ายผลิต ฝ่ายส่งบำรุง แต่ไม่ทำงานร่วมกัน เจ๊งนะ ผมขอยกตัวอย่าง จีรวัฒน์ ผมกำลังทำรุ่น 4 ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตอยู่ คราวนี้จะเป็นพวกดารา ผมจะละลายพฤติกรรมเขา วันแรกเขาจะบอกว่า No more Silo

Silo ในที่นี้หมายความว่า แต่ละฝ่ายแต่ก่อนนี้มีฝ่ายนี้ขึ้น ๆ ๆ แต่ละฝ่ายไม่เคยทำงานร่วมกันเลย บางทีผมเรียกว่า structure คือ Cross functional คุณลองนึกถึงตัวคุณเองที่ Emporium ถ้าคุณไม่มี Cross functional คุณจะรอดไหม ใช่ไหม

ฉะนั้นคุณ Malek แกสอนวิชา Strategy กับ Execution อยู่ แกก็เลยมีทั้ง Hard กับ Soft Culture อยู่ ปริญญาตรี แกจบวิศวะมา แล้วคนที่สอนที่ Stanford ส่วนมากก็จะเป็นวิศวะ แล้วก็ต่อย ๆ มาหา เขาเรียกอะไรนะ ความเป็นไปได้ทางการบริหารจัดการ ฉะนั้นสิ่งนี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผมชื่นชมเขามากนะ ผมว่าการเป็นวิศวกร แล้วก็มาสนใจเรื่องวัฒนธรรมองค์กร เขาก็บอกว่า เขาก็ไม่ชอบคนที่สอน Strategy แต่ไม่เน้นเรื่อง Fact เรื่องการเงิน เรื่องอะไรใช่ไหม เขาชอบสิ่งเหล่านั้นแข็ง ๆ ก่อน เป็น Hard culture แล้วค่อยมาดูถึงเรื่องวัฒนธรรมองค์กร ดูถึง structure องค์กร เขาบอกว่าระบบของเรา ไม่ว่าจะเป็นที่ไหน อย่างที่ Emporium ของคุณก็มีระบบ กระทรวงเกษตรก็มีระบบ ระบบสร้างมาตั้งนานแล้ว เป็น Hierarchy บ้าง อะไรบ้าง

และสุดท้าย อันที่สี่นี่ เขาเรียกว่า Engagement

Engagement ในที่นี้ก็คือ มาแรงนะ ก็เหมือนเรา เรารักใคร เราก็จะ ไปหมั้นเขาใช่ไหม การหมั้นกันก็คือสัญญาว่าจะทำงานร่วมกัน อยู่ร่วมกัน Engagement ก็คือตั้งแต่ Engagement ของการมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน ทำงานร่วมกัน และกิจกรรมต่าง ๆ มันจะต้องเชื่อมโยงกัน Engagement จะเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับการที่นำเอา Execution ให้เกิดขึ้นที่ อย่างที่สิงคโปร์ National library ทุกคนไม่ว่าจะเป็น HR department หรือ marketing department หรือเทคโนโลยี หรืออื่น ๆ ก็มีความสัมพันธ์ร่วมกันตลอดเวลา อย่างวันนี้ Engagement มาแรงนะจีรวัฒน์ Employee Engagement ก็เป็น Idea หนึ่ง ซึ่งเพื่อนผมชื่อคุณพจนารถ ซีบังเกิด พูดอันนี้บ่อย ก็เลยอยากฝากหนังสือเล่มนี้ไว้ เป็นหนังสือที่กำลังจะมาแรงนะ ตอนนี้ติดอันดับ 1 ใน 3 ของ Mc-Grawhill แล้วก็จะเป็นหนังสือแนวที่มันคล้าย ๆ เอาแนวของ Michael Potter มาบวกกับแนวของ Jack Welch แล้ว Michael Potter จะเก่งเรื่อง Strategy แต่ว่ามี Strategy โดยไม่มี Execution อย่างคุณจีรวัฒน์เคยจำผมได้ ที่ชอบว่าผมชอบทำอะไร ผมชอบทำให้สำเร็จ Get thing done ในหนังสือเล่มนี้เขาก็สอนว่า ถ้าจะให้มีความสำเร็จก็ต้อง Get thing done ซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ

พิธีกร : ครับ เดี๋ยวเราคงต้องไปต่อในสัปดาห์หน้าครับ อาจารย์

ศ.ดร.จีระ : ครับผม

พิธีกร : ขอบคุณครับ อาจารย์ครับ สุดท้ายฝากประชาสัมพันธ์เล็กน้อย

งานสวดอภิธรรมศพคุณวิเชียร ตัณฑเศรษฐี นะครับ ที่ศาลา 5 วัดธาตุทอง นะครับ มีจนถึงวันพฤหัสนี้

แล้วก็จะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพวันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม เวลา 17.00 น. ที่วัดธาตุทองเช่นกันครับ

ท่านที่สะดวกไปได้ ก็เรียนเชิญตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าวครับ

วันนี้ผมจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐ ต้องขอลาไปก่อนครับ สวัสดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท