บทบาทของผู้นำท้องถิ่น


นักการเมืองจำเป็น

      มะนาวหวานอยู่บ้านนอกค่ะ และก็เลยได้สัมผัสกับบรรยากาศการปกครองของผู้นำท้องถิ่นที่เราอาศัย หมู่บ้านที่มะนาวหวานเป็นหมู่บ้านที่ขนาดประมาณ ร้อยกว่าหลังคาเรือนค่ะ และเป็นชุมชนที่ค่อนข้างขาดผู้นำที่มีทักษะในการปกครองพอสมควร(เท่าที่ได้เห็นและสัมผัส) เพราะมะนาวหวาน เปิดรับพิมพ์งานเอกสารที่บ้าน และถ่ายเอกสารด้วยค่ะ มีหลายครั้งที่คุณลุง ที่เป็นสมาชิก อบต. ของชุมชนเราเขาเอาเอกสารที่เกี่ยวกับการทำหนังสือขออนุมัติงบประมาณ มาให้ช่วยคัดกรองภาษาและร่างโครงการต่างๆ เพื่อไปยื่นต่อประธาน อบต.อีกทีน่ะค่ะ

     เลยเกิดข้อกังขาที่ว่า จริงๆแล้วหากเรามีผู้นำที่มีองค์ความรู้มากกว่านี้(มิได้ถือสบประมาทใครนะคะ) ชุมชนเล็กๆนี้ น่าจะมีศักยภาพที่จะดำเนินแผนการปกครองในท้องถิ่นได้อย่างมีระบบขึ้น แต่เท่าที่เห็นและเป็นอยู่ ก็ช่างน่าสงสารชาวบ้านเหมือนกัน ก็ขนาดผู้นำยังไม่ค่อยเป็นงานเลย แล้วจะฝากอนาคตชุมชนและรอการพัฒนาให้ดีกว่าเดิมได้อย่างไรเล่า หากสังคมเรายังขาดมาตรฐานให้คัดสรร เพื่อเลือกผู้นำ(ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้นำระดับท้องถิ่นก็ตามที) มะนาวหวานว่า ประเทศเราก็จะเอื่อยเฉื่อย ไม่ไปไหนแบบนี้อีกนานค่ะ เพราะเท่าที่ทราบ เขาทำงานกันเพื่อหน้าตาและฐานะของตนเองเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ขาดความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งสำนึกในหน้าที่ที่ควรกระทำต่อสังคมของเขามากเลยทีเดียวล่ะค่ะ

เห็นไหมคะว่าหากก้าวแรกของสังคมเป็นไปด้วยความไม่มั่นคง แล้วก้าวต่อไปเราจะมั่นคงได้อย่างไร มะนาวหวานก็เป็นเพียงจุดเล็กๆในสังคม ที่ไม่มีอำนาจ/ยศ/และบารมี ที่จะเสกสรรจรรโลงสังคมให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ เพียงแค่เป็นเสียงสะท้อนในมุมเล็กๆ ที่อยากถ่ายทอดความเห็นบ้าง และปรารถนาเหลือเกินว่าสังคมไทย ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศคงจะมีศักยภาพและวิถีที่จะนำพาให้ประชาชนตาดำๆอีกหลายสิบล้านไปสู่อนาคตที่สดใสอย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้นเท่านั้นเองค่ะ เสียงสะท้อนจากเด็กบ้านนอก คนนึง เพียงเพื่ออยากให้คนตัวโตๆ ได้รับทราบและพิจารณาบทบาทในการสรรหาบุคคลมาทำงานเพื่อท้องถิ่นที่ดีกว่าเดิมน่าจะดีกว่า(ไหมคะ)

หมายเลขบันทึก: 180251เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2008 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • สวัสดีครับ คนชนบท
  • เป็นปกติครับที่เราเห็นภาพอย่างที่น้องกล่าวถึง เป็นความจริง เราช่วยเขาเท่าที่โอกาสจะมีนะครับ  หากแนะนำเขาได้ก็แนะนำนะครับ บางทีการเปิดทัศนะที่กว้างโดยการพูดคุยแลกเปลี่ยนก็มีสาวนช่วยเขาแม้จะเป็นทางอ้อมก็ดีกว่าปล่อยผ่านเลยไปครับ

 

แล้วหากเป็นไปแบบนี้ เรามีทางที่จะกอบกู้ หรือแก้ไขให้ดีกว่าได้ไหมล่ะค่ะ ทำไม...ทำไม..ทำไมเป็นคำถามที่เด็กบ้านนอกคนนี้เจอบ่อยมากค่ะ

ว่าทำไมสังคมไทยช่างไกลความเป็นจริง เพราะที่เห็นเป็นเพียงฉากแสดงไปเสียมากกว่า

อุอุ..หรือว่ามะนาวหวานมีอคติมากเกินไปคะ

เราเริ่มต้นจากสมาชิกที่ดีของชุมชนก่อนได้ครับ อย่างที่น้องช่วยทำอยู่  บางทีผู้บริหารระดับตำบลเขาอาจมีไอเดีย หรือความคิดที่แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเป็นภาษาหรือโครงการที่ดีได้ และเห็นด้วยในประเด็นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรจะมีที่ปรึกษาที่มีความชำนาญในสาขาต่าง ๆ มาช่วยงาน เท่าที่ทราบ นายก อบต.สามารถกำหนดตำแหน่งในการช่วยงานได้ครับ

พี่เอก

แปบเดียว เป็นนักการเมืองเสียแล้ว

มะนาวหวานว่า...

เท่าที่เป็นอยู่จากอดีตและจนถึงปัจจุบัน ก็มิได้เห็นการพัฒนาการในท้องถิ่นมากเท่าไหร่เลยค่ะ

เพราะการแจกแจงอำนาจและการกระจายอำนาจไม่ดีพอ

หรือว่าผู้ที่ได้รับอำนาจมาแล้วแต่ใช้ไม่เป็น...หรือเปล่าคะ

ท่านกูรูการเมืองและรัฐศาสตร์ทั้งหลายช่วยมะนาวหวานคิดด้วยค่ะ

ขอเพิ่มเติมความคิดเห็นครับ  แต่ความคิดเห็นนี้ มิใช่คำตอบสุดท้ายนะครับ  มันเพียงแค่ความเห็นหนึ่งเท่านั้นครับ

  • เรื่องความด้อยความรู้ ความสามารถของ อบต.นั้น เรียกรวมๆว่า "ด้อยศักยภาพ" นี่คือเรื่องใหญ่ของสังคมไทย และเป็นเรื่องใหญ่ที่เป็นเป้าหมายของการพัฒนาของโครงการต่างๆมากมาย รวมทั้งงานที่ผมกำลังทำอยู่ครับ
  • ความด้อยศักยภาพ ก่อให้เกิดอะไรบ้าง คงไม่ต้องกล่าวถึงนะครับ แต่จะเพิ่มศักยภาพได้อย่างไร
  • สิ่งที่ผมทำอยู่คือ การเข้าไปประเมินศักยภาพตามหลักวิชาการว่า เขาด้อยอะไรบ้าง เช่นด้อยเรื่องความรู้ทางกฏหมาย ด้อยเรื่องประสบการณ์การทำงานพัฒนาชุมชน การจัดทำแผนงานแบบมีส่วนร่วม การจัดเวทีประชาคมแบบมี่สวนร่วม  หลักการที่เหมาะสมและถูกต้องในการพัฒนาชุมชน ฯลฯ เมื่อเราทราบละเอียดแล้วก็เอามาจัดทำแผนงาน จัดกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องที่เขาด้อยนั้นๆ ไม่ว่า ฝึกอบรม ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แลกเปลี่ยนกับกรณีดีเด่นต่างๆ ฯลฯ แล้วก็เป็นพี่เลี้ยงให้เขาทำงาน
  • จัดทำการสัมมนาแลกเปลี่ยนภายหลังผ่านกระบวนการเรียนรู้และ ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วว่ามีอะไรดีขึ้น อะไรยังเป็นอุปสรรค ฯลฯ
  • เหล่านี้คือเสี้ยวส่วนของการเพิ่มศักยภาพของเขาครับ
  • สิ่งที่สำคัญคือการเป็นพี่เลี้ยงและหาเวลามาสัมมนาแลกเปลี่ยนกันครับ

คุณ บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา) คะขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ

มะนาวหวานเห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ

แต่ว่ามีอีกประเด็นที่น่าจะเอามาเพิ่มเติม และน่าจะเป็นจุดหลักที่ไม่ควรมองข้ามอีกข้อหนึ่งนะคะ

คือ...การปลูกจิตสำนึกในการทำงานเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง

โดยไม่แฝงความมุ่งหวังในเรื่องผลประโยชน์ต่อตนเองเป็นหลักไงคะ

ถูกใจหลาย "การปลูกจิตสำนึกในการทำงานเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง"  นี่คือส่วนที่สำคัญที่สุดครับ  แต่ยากที่สุด  ยากก็ต้องทำ อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท