ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


อำนาจของชาติ

อำนาจของชาติ

 

คำว่า พลังอำนาจของชาติ หรือ National Power เริ่มมีการใช้ในทางยุทธศาสตร์ ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 15 โดยนักปรัชญาและนักการทหารชาวอิตาลีชื่อ Niccolo Machiavelli (1469-1527) โดย Machiavelli ได้เสนอแนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับพลังอำนาจของรัฐ ซึ่งต่อมาก็ได้พัฒนามาเป็น องค์ประกอบของพลังอำนาจของชาติ 

ตามแนวคิดของ Machiavelli นั้นองค์ประกอบที่ทำให้รัฐ หรือประเทศมีพลังอำนาจ จะประกอบไปด้วย องค์ประกอบหลัก 3 ประการ คือ การเมือง  สังคม และการทหาร

 

จากองค์ประกอบทั้ง 3 ประการนี้ จะเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่า รัฐ หรือประเทศใดๆ จะมีพลังอำนาจมากเพียงใด ที่จะนำมาซึ่งความได้เปรียบต่อรัฐ หรือประเทศอื่นๆ

ต่อมาแนวความคิดในเรื่องของพลังอำนาจของชาติ ได้ถูกพัฒนาเพิ่มเติม โดย นักการทหารชาวปรัสเซีย ชื่อ Carl von Clausewitz (1780 - 1831)ผู้ซึ่งได้รับสมญานามว่าเป็น ซุนวู แห่งตะวันตก แนวความคิดและทฤษฏีของ Clausewitz เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง และเป็นรากฐานในทฤษฏีการทำสงครามในปัจจุบันอีกด้วย Clausewitz ได้เพิ่มเติมองค์ประกอบของพลังอำนาจของชาติ คือ เศรษฐกิจ แนวความคิดของ Clausewitz ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากแนวความคิดทางด้านการสงครามจาก Napoleon Bonaparte ผู้ที่ได้ชื่อว่าเกรียงไกรในการทำสงครามช่วง ศตวรรษที่ 18 - 19 Clausewitz เองก็ได้ทำการรบกับ Napoleon หลายครั้ง Clausewitz ได้สังเกตุการระดมทรัพยากรของชาติเข้าทำสงครามอย่างมีประสิทธิภาพของ Napoleon ที่ส่งผลให้ Napoleon ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในศตวรรษที่ 19

 

ยุทธศาสตร์ชาตินั้น ได้ใช้ พลังอำนาจของชาติ ไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของชาติ และรักษาผลประโยชน์ของชาติในที่สุด

 

ปัจจัยแห่งอำนาจ คือ สิ่งที่เข้ามารวมกันแล้ว ทำให้รัฐสามารถดำเนินการตามเจตนารมณ์ของรัฐได้ ซึ่งมีอยู่หลายปัจจัย คือ

                                - ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์

                                - ปัจจัยทางด้านประชากร

                                - ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ

                                - ปัจจัยทางด้านการบริหารของรัฐบาล

                                - ปัจจัยทางด้านการทหาร

คำสำคัญ (Tags): #ดำนาจของชาติ
หมายเลขบันทึก: 180174เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2008 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท