ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


กฏหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการได้และเสียดินแดน

กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการได้และเสียดินแดน

 

การได้มาซึ่งดินแดนของรัฐ

                วิธีการได้มาซึ่งดินแดนของรัฐในอดีต ที่สำคัญๆมีอยู่ด้วยกัน 5 วิธี ได้แก่ 1. การครอบครอง(Occupation)  2. การครอบครองปกปักษ์ (Prescription) 3. ที่งอก (Accretion) 4. การโอนดินแดน (Cession) 5. การยึดครอง (Conquest)

                วิธีการได้มาซึ่งดินแดนปัจจุบัน อาจมีได้ทั้งที่เป็นรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ เช่น การใช้สิทธิกำหนดใจตนเองประชาชน (Self – determination)  เพียงแต่การได้มาซึ่งดินแดนในรูปแบบเดิมนั้นอาจจะเป็นได้ยากขึ้นในยุคสมัยปัจจุบัน อย่างเช่นการครอบครองดินแดนที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ซึ่งในปัจจุบันเป็นเรื่องที่ยากที่จะมีดินแดนซึ่งไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ในลักษณะที่เป็นสังคมและมีโครงสร้างทางการเมืองของสังคมนั้นๆ

                ทั้งนี้จะได้อธิบายถึงวิธีการได้มาซึ่งดินแดนในลักษณะต่างๆ ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การได้มาซึ่งดินแดนที่เป็นของรัฐอื่นกับการได้มาซึ่งดินแดนที่มิใช่เป็นของรัฐใด

การได้มาซึ่งดินแดนที่มิใช่เป็นของรัฐใด

การได้มาซึ่งดินแดนที่มิใช่ของรัฐเป็นการได้ดินแดนจากการเข้าไปจับจองดินแดนว่างเปล่า ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของหรือเป็นการได้ที่งอกหรือดินแดนในส่วนที่ติดกันในลักษณะเป็นดินแดนต่อเนื่อง โดยอาจจำแนกวิธีการได้ดินแดนที่มิใช่เป็นของรัฐได้ 3 วิธี ดังนี้

1.การครอบครอง (Occupation) หมายถึง การกระทำของรัฐใดรัฐหนึ่งในการเข้ายึดครองเอาดินแดนใดดินแดนหนึ่ง โดยจงใจที่จะได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนนั้นๆ ในลักษณะที่ดินแดนนั้นไม่มีใครเป็นเจ้าของ หรือเจ้าของได้สละดินแดนแล้ว   หรือดินแดนนั้นไม่ได้ปรากฏว่าอยู่ในอธิปไตยแห่งรัฐใดเลย

ทั้งนี้ การครอบครองจะต้องมีองค์ประกอบ 2 ข้อ คือ

1 จะต้องมีการควบคุมดินแดนอย่างมีประสิทธิภาพ หมายถึง  จะต้องควบคุมดินแดนนั้นอย่างเปิดเผยและมีความต่อเนื่องโดยมีเจตนาที่จะมีอำนาจอธิปไตย และมีการกระทำในลักษณะของการใช้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนนั้น

2 จะต้องมีเจตจำนงที่จะใช้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนนั้นด้วย  หมายถึง การครองครองดินแดนของรัฐจะต้องเป็นไปเพื่อมีอำนาจอธิปไตร และใช้อำนาจอธิปไตยนั้นหรือดินแดนที่ครองครอง โดยอาจจะพิจาณาที่การแสดงความเป็นเจ้าของดินแดนนั้นนั่นเอง

                                2. ที่งอก (Accretion)  เมื่อใดก็ตามที่ดินแดนของรัฐเกิดที่งอกขึ้นตามธรรมชาติ รัฐย่อมได้อำนาจอธิปไตยเหนือที่งอกนั้นด้วยโดยทันที  

ในทางปฏิบัติแม้ว่าดินแดนของรัฐจะเกิดความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติโดยตรงอาจมีที่งอกเกิดขึ้นได้ก็ตามแต่ก็มีค่อยมีนัยสำคัญมากนัก เว้นแต่เป็นการเกิดที่งอกตรงบริเวณที่ใช้เป็นจุดควบคุมในการกำหนดเขตแดนหรืออาณาเขตทางทะเลที่อาจมีผลกระทบกับรัฐอื่น ในกรณีเช่นนี้ จะต้องถือว่าเส้นเขตแดนไม่เปลี่ยนไปตามที่งอกที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน  แต่ถ้าการเกิดที่งอกนั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างช้าๆ และรัฐได้เข้าครองครองที่งอกนั้นโดยเปิดเผยอย่างต่อเนื่อง เจตนาเพื่อให้ได้อำนาจอธิปไตยเหนือที่งอกนั้นแล้ว รัฐนั้นก็ย่อมได้ที่งอกนั้นไป

3 ดินแดนต่อเนื่อง (Contiguity) การมีดินแดนต่อเนื่องแม้ว่าโดยหลักแล้วจะไม่ใช่เหตุที่จะทำให้รัฐได้ฐานะผู้ทรงสิทธิทางกฎหมายเหนือดินแดนก็ตาม แต่รัฐก็มักจะยกข้ออ้างในเรื่องดินแดนต่อเนื่องนี้ให้เป็นประโยชน์กับตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นกรณีที่การครองครองอย่างถาวรและมีประสิทธิภาพเหนือดินแดน  บางแห่งอาจจะทำได้ได้หรือทำได้ยาก  เช่น ดินแดนขั้วโลกเหนือ บางรัฐอ้างเหตุผลของความต่อเนื่องของดินแดน  แต่รับอื่นๆ ไม่เห็นด้วยและได้คัดค้านไว้ จึงทำให้การได้สิทธิเหนือดินแดนต่อเนื่องที่เป็นขั้นโลกเหนือไม่เป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ   อย่างไรก็ดีสิทธิเหนือดินแดนต่อเนื่องในส่วนที่เป็นไหล่ทวีปนั้นกลับเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง เพราะไหล่ทวีปของรัฐชายฝั่งนั้นเป็นการได้มาโดยผลแห่งข้อเท็จจริงทางธรรมชาติทางภูมิศาสตร์ของไหล่ทวีป ที่มีลักษะของการทอดยาวไปตามธรรมชาติของพื้นดินชายฝั่ง

                                การได้มาซึ่งดินแดนที่เป็นของรัฐอื่น

                                1. การได้ดินแดนมาโดยข้อตกลง

                                    1.1 การสละดินแดน (Cession)

                                    การสละดินแดนเป็นการโอนดินแดนของตนให้แก่รัฐอื่นด้วยการทำสนธิสัญญาโอนดินแดน ซึ่งอาจจะเกิดจาการซื้อขายดินแดน หรือการยกดินแดนให้โดยไม่มีค่าตอบแทน ดังนั้นสนธิสัญญาจึงเป็นฐานทางกฎหมายในการได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยของผู้รับโอนเหนือดินแดนที่ได้โอนมานั้น

                                    1.2 การรวมดินแดน (Fusion)

                                     การรวมดินแดนโดยข้อตกลงเป็นการรวมดินแดนของรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปโดยสมัครใจยินยอมที่รวมตัวกันเป็นรัฐเดียวกัน  หรืออาจมีการรวมชาติที่เคยเป็นรัฐเดียวกันมาก่อน แต่ต่อมาถูกแบ่งแยกออกจากกันแล้วกลับเข้ามารวมกันใหม่

                                     1.3 การทำสนธิสัญญาปักปันเขตแดน (Boundary Treaties)

                                     เป็นอีกวิธีการหนึ่งในการได้มาและเสียไปซึ่งดินแดนของรัฐโดยความตกลง  ทั้งนี้เนื่องจากเขตแดนของรัฐอาจมีความไม่แน่นอนชัดเจนว่าจะอยู่ที่ใด แม้จะมีเขตแดนตามสภาพภูมิศาสตร์อยู่แล้วก็ตาม ดังนั้น การทำสนธิสัญญาปักปันเขตแดน จึงมีประโยชน์ที่จะทำให้เกิดเขตแดนที่แน่นอนและมั่นคง ลดปัญหาข้อพิพาทที่เกิดจากความไม่ชัดเจนของเขตแดนและมีประโยชน์ต่อความมั่นคงของชาติ  

 

     การปักปันเขตแดนเมื่อฝ่ายหนึ่งได้ดินแดนอีกฝ่ายก็ย่อมต้องเสียดินแดนในส่วนที่ปักปันนั้นไป หรือาจจะได้ส่วนแบ่งไปเท่าๆกัน ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับผลการเจรจาจัดทำสนธิสัญญาและงานปักบันเขตแดนเป็นเมื่อได้ปักปันเขตแดนตามสนธิสัญญาเรียบร้อยแล้ว เส้นเขตแดนนั้นก็จะอยู่ไปตลอดตามหลักเสถียรภาพของเขตแดน ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญและได้รับการยืนยันจากคำพิพากษาของศาลมาโดยตลอด

2. การได้มาซึ่งดินแดนโดยวิธีอื่นที่ไม่ใช่ข้อตกลง

     2.1 การครอบครองโดยปรปักษ์ (Acquisitive Prescription)

                                     การครอบครองปรปักษ์เป็นการครอบครองดินแดนของรัฐอื่นในทำนองเดียวกับการครอบครองปรปักษ์ในทางกฎหมายแพ่ง เพียงแต่การครองครองปรปักษ์ในกฎหมายระหว่างประเทศนั้นไม่มีกำหนดเวลาไว้  เดิมเชื่อกันว่ามีลักษณะการครองครองที่ยามนานจนไม่อาจจะจำได้  แร่อย่างไรก็ดีความเชื่อเช่นนี้ก็ไม่ค่อยมีเหตุผลนักเพราะจะไม่สามารถเริ่มนับระยะเวลาได้เนื่องจากไม่ทราบว่าเริ่มมีการครอบครองดินแดนนั้นเมื่อใดนั่นเอง

                                     การครอบครองปรปักษ์จะต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ

1.       จะต้องเป็นการครองครองโดยสงบ  ต่อเนื่องกัน

2.       จะต้องมีเจตนาเป็นเจ้าของอธิปไตยเหนือนดินแดนนั้น

3.       จะต้องเป็นการครอบครองที่เปิดเผยต่อสาธารณะ

4.     จะต้องเป็นการครอบรองที่คงทนในระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควรที่จะเห็นได้ว่ามีการครองครองปรปักษ์มาอย่างต่อเนื่องคงทน

     2.2 การยึดครองดินแดน (Conquest)

                                     เป็นการเข้าครอบครองด้วยการใช้กำลังทางทหาร ซึ่งในอดีตถือว่าเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมาย  แต่ในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติห้ามมิให้รัฐใช้กำลังในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

                                     2.3 สถานการณ์บางอย่างที่มีผลต่อการได้มาหรือเสียไปซึ่งดินแดน

                                     รัฐอาจได้ดินแดนมาจากสถานการณ์บางอย่างที่เป็นสาเหตุให้รับได้มาหรือเสียดินแดนได้  เช่น การรับรอง  การยอมรับโดยปริยาย  กฎหมายปิดปาก  การเสียสิทธิ  การค้นพบดินแดนใหม่  หรือการได้รับสิทธิตกทอดเหนือดินแดนจากรัฐเจ้าอาณานิคม

 

การเสียไปซึ่งดินแดนของรัฐ

                                การได้มาซึ่งดินแดนของรัฐใดรัฐหนึ่ง หากดินแดนนั้นเป็นของรัฐอื่นอยู่ก่อนแล้ว การที่รัฐหนึ่งได้ดินแดนมาก็หมายถึงว่ารัฐหนึ่งต้องเสียดินแดนไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของการได้มาซึ่งดินแดนว่าจะได้มาโดยวิธีใดนั่นเอง            

               

                                เหตุของการเสียดินแดน

                                อาจสรุปสาเหตุของการเสียดินแดนไปด้วยเหตุสำคัญ 4 ประการ  ดังนี้

1.       โดยการทำสนธิสัญญายกดินแดนให้รัฐอื่น

2.       โดยการครอบครองปรปักษ์

3.       เมื่อมีการแยกดินแดนตั้งรัฐใหม่

4.       โดยการสละการครอบครองดินแดน ซึ่งอาจแสดงออกโดยแจ้งชัดหรือปริยายก็ได้

หมายเลขบันทึก: 180172เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2008 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นเนื้อหาที่สาระมากเลยค่ะ

สามรถนำไปใช้ประโยช์ได้ดีมากเลย

ขอบคุณนะคะ

ที่ท่านได้จัดทำเว็ปนี้ขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท