ไปดูชาวนาสุพรรณฯ รักษาพันธุ์ข้าว (6)


4.การปักดำ

มีขั้นตอนและวิธีการดำที่แตกต่างจากการดำนาทั่วไปดังนี้

1.เริ่มจากการถอนกล้าก่อนปักดำประมาณ 1 วัน

2.คัดเลือกต้นกล้าที่แข็งแรง ขนาดสม่ำเสมอ รากไม่ขาด ต้นไม่หักหรือบอบช้ำ ใช้ตอกหรือเชือกมัดเป็นกำพอประมาณ ติดป้ายชื่อทุกพันธุ์เพื่อป้องกันการปะปนพันธุ์ในกรณีที่มีข้าวหลายพันธุ์

3.ขึงเชือกจัดแถวระยะปักดำ 25 x 25 เซนติเมตร ปักดำข้าวกล้า 1 ต้นต่อจับเท่านั้น เว้นระยะห่างแปลงแต่ละพันธุ์ประมาณ 1 เมตร

       วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการปักดำด้วยกล้าเพียงต้นเดียวคือสามารถคัดเลือกหาข้าวจากกอที่มีลักษณะดีได้สะดวกยิ่งขึ้น เพราะว่าข้าวแต่ละต้นภายในหนึ่งกอเกิดจากข้าวเพียงเมล็ดเดียวจึงมีลักษณะเหมือนกันทั้งกอ ซึ่งข้าวแต่ละกอจะแสดงศักยภาพในการเจริญเติบโต การแตกกอ ความต้านทานโรค แมลง การให้ผลผลิตที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในแปลงนาแต่ละพันธุ์

 

ภาพที่ 12 การปักดำนาด้วยกล้าต้นเดียว

5. การกำจัดข้าวปน

1.ระยะข้าวแตกกอ ข้าวที่ขึ้นนอกแถวหรือกอที่มีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มจะถูกถอนทิ้งทันที

2.ระยะข้าวออกรวง ข้าวปนมักจะออกรวงก่อนหรือหลัง ถ้าพบข้าวที่มีลักษณะรวง สีเปลือก ขนาดเมล็ดแตกต่างจากกลุ่มต้องถอนทิ้งไป

3.ระยะรวงก้ม หลังข้าวออกรวงประมาณ15-20 วัน ถ้าหากพบข้าวปนต้องรีบกำจัดก่อนการเก็บเกี่ยว

6.การเก็บเกี่ยวพันธุ์ข้าว

ขั้นตอนนี้สำคัญมาก ถ้าหากไม่ใส่ใจในขั้นนี้อาจทำให้พันธุ์ข้าวปะปนกันง่ายมาก จึงต้องมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกกอสำหรับเก็บเกี่ยวไว้ทำพันธุ์ในรุ่นต่อไป

หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกข้าวจากกอเพื่อทำพันธุ์

1.ลักษณะตรงตามพันธุ์

2.การแตกกอ ทรงกอดีการเจริญเติบโตดีเด่นในกลุ่ม

3.ออกรวงพร้อมกันทั้งกอ รวงใหญ่ยาว ระแง้ถี่

4.การติดเมล็ดดี เมล็ดลีบน้อย ให้ผลผลิตสูง

5.ต้านทานโรค แมลงได้ดี

6.อายุการเก็บเกี่ยวที่พอเหมาะกับระบบการผลิต

7.เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูก เช่น พื้นที่ลุ่ม ที่ดอน หรือดินเค็ม เป็นต้น

8.คุณภาพเมล็ดดี ตรงตามความต้องการของตนเองและความต้องการของตลาด

     

ภาพที่ 13 –14 การคัดเลือกข้าว จากกอที่สมบูรณ์

7.การนวดข้าว

หลังการคัดเลือกกอได้แล้ว ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

1.คัดเลือกรวงข้าวที่รวงยาว การติดเมล็ดดี เมล็ดสมบูรณ์ไม่เป็นโรค

2.นวดรวมกันในแต่ละกอ

3.เก็บเมล็ดพันธุ์แยกแต่ละกอ

4.เขียนชื่อพันธุ์ วัน เดือน ปี ที่เก็บเกี่ยว

5.ชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบผลผลิตที่ความชื้นไม่เกิน 14 % หรือตากเมล็ดประมาณ 1-2 แดด

8.การเก็บรักษาพันธุ์

หลังจากที่ได้เมล็ดพันธุ์ ให้เก็บเมล็ดพันธุ์ใส่ถุงผ้า หรือถุงกระดาษ ติดป้ายชื่อ นำไปเก็บไว้ในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ที่อากาศถ่ายเทได้ดี รอช่วงการพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 เดือน เพื่อรอปลูกในรุ่นต่อไป

เอกสารอ้างอิง

เอกสารประกอบการฝึกอบรม. 2550.การทำนาอินทรีย์ มูลนิธิข้าวขวัญ สุพรรณบุรี .40น.

วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ.2550.ข้าว พันธุ์เพื่อสุขภาพบำบัดโรค โภชนาการ.ฉบับที่ 6/2550.

มูลนิธิข้าวขวัญ e-mail: [email protected]  โทรศัพท์/โทรสาร 035 597193

หมายเลขบันทึก: 180160เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2008 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชาวนาไทย หากได้มีโอกาสการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กันบ้างก็น่ะจะเกิดประโยชน์ทั้งการเพิ่มผลผลิต และการรักษาสายพันธ์ข้าว มูลนิธิข้าวขวัญ เป็นกำลังสำคัญอันหนึ่ง เคยมีโอกาสไปนอนที่มูลนิธิ 1 คืน ได้ดูการคัดเลือกสายพันธ์ข้าว ตอนเช้าก็ลุกไปเก็บผักปลอดสารพิษมาทำอาหารกันสด ๆ อิ่มอร่อยและปลอดภัย ไม่ทราบตอนนี้มีเว๊บไซต์ของมูลนิธิไหม เอกราช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท