ความจริงที่สุด


สิ่งใดๆในโลกย่อมเป็นอนิจจัง

  วันหนึ่งที่มะนาวหวานเดินไปตลาดเพื่อหาซื้อของใส่บาตร และถวายสังฆทาน ด้วยความตั้งใจที่เต็มไปด้วยใจที่อิ่มเอม พร้อมที่จะอนุโมทนาจิตเพื่อรับบุญแต่เช้า มะนาวหวานก็เกิดความสงสัยว่าทำไมพระสงฆ์ท่านจึงรับบิณฑบาตรของจนเต็มแล้วก็เต็มอีกล่ะนะ จนเด็กวัดที่ตามมา ต่างเดินตัวเอียงหิ้วของแทบแขนหลุดเป็นแถว แต่ด้วยความที่มะนาวหวานมองโลกในด้านบวกเสียมากกว่าด้านลบ จึงไม่คิดต่ออีก.... จนมาวันนึงที่มะนาวหวานได้ไปที่วัดแห่งหนึ่งไม่ไกลจากบ้านเท่าไหร่นัก เพราะเด็กสาวรุ่นน้องเธอขอร้องให้ไปเป็นเพื่อน เพื่อไปหาหลวงพ่อ(ตามที่เธออ้าง) บอกว่าหลวงพ่อที่เธอเคารพนับถือ และเมตตาเธอเสมือนลูก ได้โทรศัพท์มาบอกให้เธอไปเอาของที่วัด มะนาวหวานก็ไปเป็นเพื่อนเธอ  เมื่อมาถึงที่วัด มะนาวหวานเองจากที่ไม่คิดติดลบ ก็อดไม่ได้ค่ะที่จะสงสัย(อีกแล้ว) ว่าทำไมของที่ชาวบ้านเขามาถวายย-ทำบุญกันจึงถูกกองเหมือนไม่มีค่าและดูเหมือนหาประโยชน์ได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยเหมือนที่เขาตั้งใจนำมาทำบุญกันเลย เพราะสิ่งที่มะนาวหวานเห็นก็คือ ผลไม้ที่บางลูกก็เน่าครึ่งดีครึ่ง บางลูกก็เหี่ยวแห้งน่าสงสารแทนเด็กวัดแทนที่จะได้ทานของดีๆ สดๆ ใหม่ๆ แต่ท้ายที่สุด ปัญหาย่อมมีข้อเฉลย หลวงพ่อที่ว่า ท่านก็ให้เด็กสาวคนนี้นำกระสอบมาใส่ผลไม้ ที่มีทั้งมะม่วง แตงโม แอปเปิ้ล โกยลงกระสอบทั้งหมดให้เธอไปทานที่บ้าน พร้อมทั้งของในถังสังฆทานอีกเป็นกระสอบ ซึ่งมะนาวหวานก็ได้แต่ยืนมองด้วยใจที่เริ่มอคติอย่างเงียบๆเท่านั้น

     และคำเฉลยที่น่าทึ่งกว่านั้น ก็คือ ของที่หลวงพ่อท่านให้เด็กสาวคนนั้นนำมา เธอก็จับมาโยนกองไว้ในบ้าน เพื่อให้แม่ของเธอใส่ตะกร้าขายให้ชาวบ้านใกล้ๆ ระแวกบ้านของเธอนั่นเอง ก็มีทั้ง น้ำปลาขวดจิ๋ว ผงซักฟอก สบู่ แชมพู ยาสีฟัน จิปาถะ ฯมะนาวหวานเลยได้คำตอบที่ชัดเจนว่า อ๋อ บุญที่เราได้ก้คือ การ สร้างรายได้ให้กับครอบครัวเด็กสาวคนนี้นี่เอง (ถึงแม้บ้านเธอไม่ได้ยากจนเลยสักนิด) แต่ด้วยความที่เรากลัวบาปจะติดตัว จึงได้แต่คิดในแง่บวกต่อไป และคิดว่าสังคมเราก็น่าจะยังมีเหตุการณ์แบบนี้อีกเยอะแน่ๆเลยค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #ทำบุญ#มะนาวหวาน
หมายเลขบันทึก: 180062เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2008 19:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ค่ะอาจารย์

คนรวยแต่เงินน่ะมีเยอะค่ะ

แต่ที่รวยน้ำใจก็ไม่น้อยนะคะ

อาจารย์ก็รวยน้ำใจนี่คะ

ขอบคุณค่ะ

คุณมะนาวหวานครับ อ่านบทความของคุณแล้วเป็นแนวความคิดที่ค่อนข้างตรงกับผมครับ ผมเเห็นว่าการทำบุญด้วยสังฆทานที่เป็นชุดสำเร็จนั้น การจัดสิ่งของในชุดสังฆทานของพ่อค้าแม่ค้า บางสิ่งบางอย่างไม่มีความจำเป็นต่อพระสงฆ์ท่านเลย ผมไปเจอเหตุการณ์เหมือนคุณมะนาวหวานครับ เมื่อหลายปีก่อน ผมช่วยเด็กวัดเก็บเสื่อหลังเสร็จงานบุญ พอเปิดห้องเก็บของก็ตกใจครับ มีชุดสังฆทานเป็นร้อยๆชุดครับ ฝุ่นเกาะเต็มไปหมด ผมถามเจ้าอาวาส ท่าก็บอกว่าสิ่งที่ญาติโยมนำมาถวายนั้น พระไม่สามารถปฎิเสธได้ และท่านยังบอกอีกว่าที่วัดนี่ มีพระแปดรูป เด็กวัดอีกหกคน วันไหนที่เป็นเทศกาล ก็มีคนมาทำบุญล้นหลาม สำรับต่างๆเหลือมากมาย(พระที่วัดฉันท์มื้อเดียว)ให้คนนำกลับบ้านบ้างให้หมู หมา กา ไก่ บ้าง ที่เหลือก็เน่าเสียไปหมด แต่ในบางวันที่ไม่ใช่เทศกาล แทบจะไม่มีอะไรจะฉันท์ ตั้งแต่วันที่ผมได้รับทราบเรื่องจากท่านเจ้าอาวาสวันนั้นแล้ว ผมก็เลยเปลี่ยนมา ทำบุญตักบาตร หรือถวายภัตตาหาร(ถ้าเขียนผิดก็ขออภัยด้วยครับ) ในวันที่ไม่ใช่เทศกาลจนถึงเดี๋ยวนี้ครับ

ขอบคุณ คุณมะนาวหวานที่จุดประกายเรื่องนี้ขึ้นมาครับ

จากใจจริง

รพี กวีข้างถนน

ขอบคุณค่ะสำหรับความเห็น

มะนาวหวานก็เป็นแบบนี้เหมือนกันค่ะ

จะทำบุญในวันที่เขาไม่ค่อยทำกัน

ก็ไม่คิดว่าจะได้อานิสงฆ์น้อยกว่าวันพระหรือเปล่าหรอกค่ะ

แค่ทำแล้วสบายใจก็พอค่ะ

ขอให้บุญรักษาทุกท่านที่มีจิตกุศลค่ะ

  • ธุ พี่แนนค่ะ..

ต้อมเป็นคนไกลวัด (หมายถึงไม่ค่อยได้เข้าวัด) เมื่อตอนโตๆ    แต่ตอนเป็นเด็กก็วิ่งเล่นแถวในวัดนั่นล่ะ    ตอนนั้นคิดว่าวัดเป็นเหมือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  พระสงฆ์น่าเลื่อมใสไปหมดทุกรูป   แต่พอโตขึ้น..คงเพราะได้ยิน-ได้อ่านมาเยอะ  ก็คิดตรงกันข้าม  ก็เลยหันมาปฏิบัติที่ตัวเอง  เริ่มจากคิดดี  พูดดี  ทำดี  ไม่ทำร้ายและเบียดเบียนใคร   ก็เลยทำให้เป็นคนไกลวัดไปด้วยประการฉะนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท