ประสบการณ์ด้านการทำวิจัยทางด้านนิติศาสตร์


คนพัฒนางาน งานพัฒนาคน องค์กรพัฒนางานวิจัย

ผู้เขียน  ฐานะหนึ่งในผู้รับผิดชอบโครงการ ได้มีโอกาสจัดโครงการเสวนาเพื่อการวิจัย  ครั้ง  2  เรื่อง “ประสบการณ์การทำวิจัยทางด้านนิติศาสตร์”  ขึ้นในวันพุธที่  30  เมษายน  2551  มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการทำงานวิจัย  ส่งเสริม  สนับสนุนงานวิจัยที่สามารถนำมาใช้พัฒนางานที่รับผิดชอบ  และส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัยที่สามารถนำมาพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของบุคลากร  

โครงการเสวนาเพื่อการวิจัย ได้จัดไปรอบแรก ในวันพุธที่  27  กุมภาพันธ์  2551  ที่ผ่านมา  (http://gotoknow.org/blog/nareejuti/167909)ในเรื่อง  “ประสบการณ์ด้านการทำวิจัยสถาบัน”  สำหรับเจ้าหน้าที่  ในการพัฒนางานวิจัย  ซึ่งนับว่าเจ้าหน้าที่คณะนิติศาสตร์ได้ประโยชน์จากโครงการที่ผ่านมานี้เป็นอย่างมาก  โดยผลการปฏิบัติงานโครงการเสวนาเพื่อการวิจัยครั้งที่  1  ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก  (4.58) ถือได้ว่าสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  และได้มีการนำข้อบกพร่องในครั้งนี้นำมาปรับปรุงการจัดโครงการในครั้งนี้

หน่วยวิจัย  คณะนิติศาสตร์จึงมองเห็นความสำคัญของการทำวิจัยทางด้านนิติศาสตร์  จึงได้จัดให้มีโครงการเสวนาเพื่อการวิจัย  ครั้งที่  2  เรื่อง  ประสบการณ์การทำวิจัยทางด้านนิติศาสตร์  สำหรับอาจารย์และผู้สนใจเข้ารับฟังการเสวนา  โดยเชิญ  ดร.วิชช์  จีระแพทย์  อธิบดีอัยการฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย  สำนักงานอัยการสูงสุด  ซึ่งท่านเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเป็นอย่างมาก  ในการถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำวิจัยทางด้านนิติศาสตร์   ตอนติดต่อไปครั้งแรก  ผ่านทางเลขาฯ  ท่านให้ความช่วยเหลือและตอบตกลงทันทีในการตอบรับเป็นวิทยากร  ผู้เขียนเองก็รู้สึกดีใจที่ท่านได้สละเวลามาในครั้งนี้   

ผลงานวิจัยของท่าน

1.   การให้สัญชาติไทยแก่คนญวนอพยพกับความมั่นคงของประเทศไทย หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 35 ประจำปีการศึกษา พุทธศักราช 2535 – 2536

2.   การแก้ไขปัญหาชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีคนญวนอพยพหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 1 สถาบันพระปกเกล้า  ประจำปีการศึกษา พุทธศักราช 2539

3.   สิทธิมนุษยชน : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายระหว่างประเทศกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

หลักสูตร  ผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) รุ่น  9 วิทยาลัยการยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม พ.ศ. 2549

4.   การแก้ไขปัญหาคนเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยการให้สัญชาติไทย หลักสูตรนักบริหารงานยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 4   สำนักงานอัยการสูงสุด  พ.ศ. 2549

5.   กระบวนการยุติธรรมกับบทบาทการแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชัน เรื่อง “การดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ศึกษาเฉพาะขั้นตอนของพนักงานอัยการ ”  สำนักงานกิจการยุติธรรม  กระทรวงยุติธรรม  พ.ศ. 2549

 

รองคณบดีฝ่ายบริหารกล่าวรายงาน

คณบดีกล่าวเปิดงาน

พิธีกรคนสวย

ท่านได้ให้หลักการทำวิจัย  ไว้ว่า

1.     ประเด็นปัญหา

2.     สมมติฐานในการแก้ไขปัญหา

3.  ศึกษาค้นคว้า เช่น  ศึกษาหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  มีทั้งเชิงเปรียบเทียบ  และเชิงคุณภาพ  ศึกษานิติปรัชญา  ศึกษาหลักรัฐศาสตร์  ศึกษาสังคมศาสตร์  ศึกษาเศรษฐศาสตร์ 

4.     กลายเป็นองค์ความรู้

5.     นำมาสังเคราะห์

6.     ได้ผลพิสูจน์สมมติฐาน

7.     เกิดนวัตกรรมใหม่

 

  

วิทยากรโดย  ดร.วิชช์  จีระแพทย์

ท่านบอกว่าก่อนจะทำอะไรก็ตามหรือคิดจะทำอะไรให้ทำวิจัยและจะทราบว่าต้องเขียนไปแนวทางไหน  เช่น  ก่อนจะร่างกฎหมายก็ต้องมีการวิจัยก่อนเพื่อทราบถึงแนวทาง  ปัญหาต่างๆที่ได้ทราบจากการทำวิจัย  และการทำวิจัยนั้นให้เขียนตามสภาพความเป็นจริงๆ  ไม่ใช่เขียนตามอารมณ์ 

คณบดีกล่าวขอบคุณและปิดโครงการ

มอบของที่ระลึก

ท่านได้พูดคุยและเป็นกันเองกับคณาจารย์

ผู้เขียนเองก็เข้าๆ  ออกจากห้อง  เพราะต้องคอยดูความเรียบร้อยของงาน และงานก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี  ถึงแม้จะมีติดขัดไปบ้าง  แต่ก็มีพี่ๆ สำนักงาน คอยให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำเป็นอย่างดี

หมายเลขบันทึก: 180024เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2008 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2019 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เล่นกีฬามาเหนื่อยๆๆ ดื่มน้ำก่อนครับ

  • ดีจังเลยครับ ที่เอามาให้อ่าน
  • ใครทำงานวิจัยทางนี้จะแนะนำมาให้ดูนะครับ

ขอบคุณคุณประจักษ์มากๆค่ะ ที่เข้ามาเยี่ยมอ่าน

ขอบคุณอาจารย์ขจิตค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท